Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การลดระดับความรุนแรงของโรคขอบใบแห้งของข้าวโดยวิธีผสมผสาน
Reducing the severity of bacterial leaf blight disease by integrated pest management
Autores:  Duangkamon Boonchuay
Anakkapon Boonchuay
Duangporn Vithoonjit
Sanae Kotcharat
Data:  2014-10-20
Ano:  2012
Palavras-chave:  Bacterial leaf blight disease
Outbreak
Disease severity
Integrated disease management
ข้าว
โรคขอบใบแห้ง
การระบาดของโรค
ความรุนแรงของโรค
การจัดการโรควิธีผสมผสาน
พันธุ์พิษณุโลก 2
พันธุ์ชัยนาท 1
สารแบคบิเคียว
ผลผลิต
องค์ประกอบผลผลิต
Resumo:  Bacterial leaf blight disease (BB) caused by Xanthomonas oryzae pv. oryzae. (ex Ishiyama). In 2007 was a severe outbreak in Phitsanulok 2 and ChaiNat 1 variety in the central region and lower north region of Thailand. The farmers’yield has been damaged. Integrated disease management (IDM) by applied the tillage combined with bactericide to reduce the disease severity in paddy field, that cultivated non-resistant variety to BB. To maintain yield meet potential of rice varieties or reduce damage to a minimum. In dry season 2010, research in paddy field of ChaiNat Rice Research Center by broadcasting ChaiNat 1 variety. Results showed that, applied the rate of seed and fertilizer according to the advice of Rice Department (RD) combined with sprayed bacbicure 25% WP (Canoron®) 30g/20 liter water, could reduce the disease severity at 14-35 days after inoculated (DAI) Xoo. 4-6%, 41 DAI 14-15%. In wet season 2010, applied RD practice combined with sprayed bacbicure could reduce the disease severity at 14 35 and 41 DAI Xoo. 1.5-4%, 12-16% and 6- 10% respectively. Bacbicure could reduce the disease severity in the flag leaf and first leaf below the flag leaf. If this leaf area were much destroyed would affect the photosynthesis, the percentage of filled grains decreased, lightweight seeds and low yield. Applied RD’s practice combined with sprayed bacbicure to increase the number of panicle/m2 and the percentage of filled grain better than all treatments. Disease severity increase when using high urea and broadcast rice seed overcrowded. In wet season 2011, research in farmer’s field, Sukhothai Phitsanulok and Uttaradit province by broadcasting Phitsanulok 2 variety. IDM by applied the rate of seed and fertilizer according to the advice of RD, divide using the urea combined with survey the disease regularly (at least once a week) and sprayed bacbicure when found the disease early, could reduce the disease severity in flowering stage 10–28%. In severe epidemics area percentage of filled grain better than farmer’s practice

โรคขอบใบแห้ง สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (ex Ishiyama) ในปี 2550 พบการระบาดอย่างรุนแรง ในข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 และชัยนาท 1 เขตภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง ทำให้ผลผลิตข้าวของเกษตรกรได้รับความเสียหาย การจัดการโรควิธีผสมผสาน โดยการใช้วิธีเขตกรรมร่วมกับสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เพื่อลดระดับความรุนแรงของโรคในสภาพแปลงนาที่ปลูกข้าวพันธุ์ไม่ต้านทานต่อโรค ให้สามารถรักษาระดับผลผลิตได้ตามศักยภาพของพันธุ์ หรือเกิดความสูญเสียน้อยที่สุด ฤดูนาปรัง 2553 ทดลองในแปลงนาศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ปลูกข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 วิธีหว่านน้ำตม พบว่าการใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยตามกรรมวิธีกรมการข้าวแนะนำร่วมกับพ่นสารแบคบิเคียว (bacbicure 25% WP;Canoron®) อัตรา30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สามารถลดระดับความรุนแรงของโรคหลังปลูกเชื้อ 14-35 วัน 4-6%หลังปลูกเชื้อ 41 วัน 14-15% ในฤดูนาปี 2553 พบว่าการใช้กรรมวิธีกรมการข้าวร่วมกับพ่นสารแบคบิเคียวสามารถลดระดับความรุนแรงของโรคหลังปลูกเชื้อ 14 35 และ 41 วันหลังปลูกเชื้อ 1.5-4%, 12-16% และ6-10% ตามลำดับสารแบคบิเคียวสามารถลดระดับความรุนแรงของโรคในใบธงและใบที่ 1 ถัดจากใบธงได้ หากพื้นที่ใบดังกล่าวถูกทำลายมากจะมีผลต่อการสังเคราะห์แสง เปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดลดลง น้ำหนักเมล็ดเบาและผลผลิตต่ำ การใช้กรรมวิธีกรมการข้าวร่วมกับพ่นสารแบคบิเคียว ให้จำนวนรวงต่อตารางเมตร และเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดดีกว่าทุกกรรมวิธี การใช้ปุ๋ยยูเรียในอัตราสูง และหว่านข้าวแน่น ทำให้เกิดโรครุนแรงฤดูนาปี 2554 ทดลองในแปลงนาเกษตรกร จ.สุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 วิธีหว่านน้ำตม การจัดการโรควิธีผสมผสาน โดยการใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยตามกรรมวิธีกรมการข้าว การแบ่งใส่ปุ๋ยยูเรีย ร่วมกับการสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) และพ่นสารแบคบิเคียว เมื่อพบโรคในระยะเริ่มแรก สามารถลดระดับความรุนแรงของโรคในระยะออกรวงได้ 10–28% บริเวณที่มีการระบาดของโรครุนแรง การติดเมล็ดดีกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 1.57–23.37%
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research symposium 2012: Rice research center groups in upper and lower northern region], Phitsanulok (Thailand), p. 97-113

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5613

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2555, พิษณุโลก, หน้า 97-113
Formato:  298 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional