Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ประสิทธิภาพสารเคมีป้องกันกำจัดโรคขอบใบแห้ง: ไอโซเลทแพร่และอุตรดิตถ์
Efficiency of bactericide to control bacterial leaf blight: Phrae and Uttaradit isolates
Autores:  Piyawan Yaidee
Pannipa Yajai
Niphaphun Kaewpradub
Data:  2014-10-06
Ano:  2013
Palavras-chave:  Bacterial leaf blight
Bactericide
Chemical control
Isolates
Phrae province
Uttaradit province
ข้าว
โรคขอบใบแห้ง
การเกิดโรค
เชื้อสาเหตุ
ไอโซเลท
สารเคมีป้องกันกำจัดโรคแบคทีเรีย
ประสิทธิภาพสารเคมี
นาชลประทาน
จ.แพร่
จ.อุตรดิตถ์
Resumo:  Survey of bacterial leaf blight disease (BLB) on irrigated rice cropping in Phrae and Uttaradit provinces was conducted during January 2011 – December 2012, BLB was appeared in Mueang, Song, Nong Muang Khai, Sung Men, Den Chai and Long districts in Phrae province; Mueang, Tron and Phichai districts in Uttaradit province. Caused by susceptible rice cultivars and continuous cropping in combination with suitable conditions, induced the pathogen to infect. In addition, the farmers used improper chemical control resulted as the incidence increased. To study on efficiency of bactericide to control BLB in the proper area, pure bacterium isolations were studied at six isolates of Phrae and twenty-six isolates of Uttaradit. Paper disc diffusion method was used in the laboratory test. It showed that bactericide reduced growth of the causal agent shown by clear zone were copper oxychloride, streptomycin sulfate, streptomycin sulfate + oxytetracycline and thiram respectively. But bacbicure and isoprothiolane were not able to inhibited growth of causal pathogen in the laboratory test. The following nursery level assessment is conducting, and field assessment of the promising bactericide may be needed.

จากการสำรวจโรคขอบใบแห้งในแปลงนาชลประทานของเกษตรกรพื้นที่เขตจังหวัดแพร่และอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนมกราคม 2554 – ธันวาคม 2555 พบว่า พื้นที่ปลูกข้าวจังหวัดแพร่พบการเกิดโรคขอบใบแห้งในเขตอำเภอเมือง สอง หนองม่วงไข่ สูงเม่น เด่นชัย และลอง จังหวัดอุตรดิตถ์พบการเกิดโรคในเขตอำเภอเมือง ตรอน และพิชัย สาเหตุจากพื้นที่ดังกล่าวปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอและมีการทำนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อสภาพอากาศเหมาะสม จึงทำให้เชื้อสาเหตุเข้าทำลายข้าวได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบว่าเกษตรกรมีการใช้สารเคมีเพื่อควบคุมโรคไม่ถูกต้อง ส่งผลให้มีการแพร่ระบาดของโรคขอบใบแห้งรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เพื่อหาสารเคมีป้องกันกำจัดโรคที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ จึงนำตัวอย่างโรคมาแยกเชื้อบริสุทธิ์ได้เชื้อสาเหตุโรคขอบใบแห้งไอโซเลทแพร่ จำนวน 6 ไอโซเลท และเชื้อสาเหตุไอโซเลทอุตรดิตถ์ จำนวน 26 ไอโซเลท นำเชื้อดังกล่าวทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีป้องกันกำจัดโรคที่มีวางจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดแพร่และอุตรดิตถ์ในสภาพห้องปฏิบัติการโดยวิธี paper disc diffusion method พบว่า สารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ให้โซนใส (clear zone) มากที่สุด รองลงมาคือ สเตรปโตมัยซินซัลเฟต สเตรปโตมัยซินซัลเฟตผสมออกซีเตรทตราไซคลิน ไฮโดรคลอไรด์ และไทแรม ตามลำดับ ส่วนแบคบิเคียวและไอโซโปรไธโอเลน ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อไอโซเลทแพร่และอุตรดิตถ์ในสภาพห้องปฏิบัติการได้ ส่วนการทดลองในระดับโรงเรือนอยู่ระหว่างการดำเนินการ และเสนอให้ทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีจนถึงระดับแปลงนาด้วย
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research symposium 2013: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chiang Mai (Thailand), p. 152-172

ISBN 978-974-403-940-8

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5610

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2556, เชียงใหม่, หน้า 152-172
Formato:  312 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional