Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ข้าวหอมที่สูง "บือเนอมู"
Aromatic highland rice "Buer Ner Moo"
Autores:  Satid Pinmanee
Data:  2012-01-31
Ano:  2011
Palavras-chave:  Beu Ner Moo
Rice terrace
Pure line selection
Rice yield
Aromatic rice
ข้าวหอม
พันธุ์บือเนอมู
การปรับปรุงพันธุ์ให้บริสุทธิ์
ผลผลิต
ปกาเกอะญอ
การทำนาขั้นบันได
แหล่งผลิต
ประเพณี
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
Resumo:  “Buer Ner Moo” a rain phase aromatic Highland rice variety, was planted on rice terrace that a hilltribe who called themselves Pwakin-nyaw (Kariang) was the owner. The rice name was Pwakin-nyaw’s language that means “Aromatic rice” same as its physical characteristic. Buer Ner Moo was a land race rice variety, which have been bred by Pwakinnyaw farmer selection. It was kept from generation to next generation until now. Therefore, it still closely related to Pwakin-nyaw’s community. If it was developed to pure variety and to Geographical Indications (GI), that was the way to increase its value. Thereby, the purifiers Buer Ner Moo rice by breeding method was a part of Development of Aromatic Highland Rice Variety (Buer Ner Moo) for Food Security project that was funded by the crown property bureau. The project aimed to purifiers Buer Ner Moo rice variety and prepares to support Buer Ner Moo rice produced on rice terrace under the highland environment of northern Thailand as a Geographical Indications in the future. There were three steps that were done, collecting Buer Ner Moo rice varieties and relationship data about Buer Ner Moo to source, to community, to tradition and to culture form difference place in Chiang Mai, developing Buer Ner Moo to pure variety, and making data base by comparing Buer Ner Moo yield to others. The result showed that the 48 Buer Ner Moo seed samples were collected from 4 districts of Chiang Mai, Mae Eye, Chiang Dao, Chai Pra Kan, and Mae Jam. The relationship between every Pwakin-nyaw farmer’s rice variety and production source, community, tradition, culture, were found that most of them were used as a part of offerings in many ceremonies, for example, thank for paddy field’s ghost, field’s ghost celebration, worship the god of land, offering new rice to god, offering new rice to seniority, yearly frightened and eating new rice ceremony. However, Buer Ner Moo deeply related to Pwakin-nyaw family that because Buer Ner Moo was planted and bred since ancestor times. The developing Buer Ner Moo to pure variety by line selection showed 10 groups of Buer Ner Moo which were physically separated. Following Buer Ner Moo physical character described by Pwakin-nyaw farmer, slender grain and aroma, 10 groups of Buer Ner Moo could be selected only 3 groups to plant and compare their yields to other varieties, PTT 1, KDML 105, Buer Tor Mae, Buer Chor Mee and new Buer Ner Moo collections. The new collections were collected at 2 sub provinces, Mae Jam and Chai Pra Kan. The comparison found that the 3 selected groups gave average yield, 246-409 kg/rai, which were less than PTT1 average yield (686 kg/rai) but more than KDML105 average yield (173 kg/rai). The next step of developing Buer Ner Moo variety to Geographical Indications in the future, after purifier, it will be extent it to Pwakin-nyaw’s rice terrace in Chiang Mai. However the strongly extension needs the accepting of Pwakin-nyaw farmers, the supporting of government, and the other funding to make Buer Ner Moo to Geographical Indications.

พันธุ์ข้าว “บือเนอมู” เป็นพันธุ์ข้าวเจ้านาปีพันธุ์หนึ่งของเกษตรกรชาวไทยภูเขากลุ่มชาติพันธุ์ปกา เกอะญอ (กะเหรี่ยง) ปลูกในสภาพนาขั้นบันได ชื่อของข้าวพันธุ์นี้เรียกตามภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ซึ่งบอกถึงลักษณะที่ปรากฎคือ “ข้าวที่มีกลิ่นหอม” เป็นพันธุ์ท้องถิ่นได้มาจากการคัดเลือกพันธุ์มาตั้งแต่บรรพบุรุษในอดีตและเก็บรักษาไว้เป็นพันธุ์ปลูกจนถึงปัจจุบัน จึงคงความสัมพันธ์กับชุมชนปกาเกอะญออย่างแน่นแฟ้น หากได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้บริสุทธิ์และพัฒนาให้เป็นสินค้าเฉพาะถิ่นหรือสินค้าที่มีเอกลักษณ์ที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าข้าว ดังนั้นการปรับปรุงพันธุ์ให้บริสุทธิ์จึงเป็นงานส่วนหนึ่งของโครงการการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมที่สูง (บือเนอมู) เพื่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนชาวไทยภูเขาโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการทำงานวิจัยจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมที่สูงบือเนอมูให้เป็นพันธุ์บริสุทธิ์สำหรับการผลิตข้าวในสภาพแวดล้อมนาขั้นบันไดบริเวณพื้นที่สูงของภาคเหนือตอนบน เป็นการเตรียมการสำหรับพัฒนาเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในอนาคต โดยมีขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์คือ รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมที่สูงบือเนอมูจากแหล่งต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลเพื่อหาความเชื่อมโยงของพันธุ์ข้าวหอมที่สูงบือเนอมูกับแหล่งผลิต ชุมชนวัฒนธรรมและ ประเพณี แล้วนำมาพัฒนาพันธุ์ให้บริสุทธิ์ และสร้างฐานข้อมูลด้านผลผลิตโดยปลูกเปรียบเทียบผลผลิตข้าวในแปลงทดลอง ผลการดำเนินงานมีดังนี้ การรวบรวมพันธุ์ข้าวบือเนอมูจากเกษตรกรเผ่าปกาเกอะญอในนาขั้นบันไดจำนวน 48 ตัวอย่าง จาก 4 อำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อำเภอแม่อาย อำเภอเชียงดาว อำเภอไชยปราการ และ อำเภอแม่แจ่ม พบว่าข้าวทุกพันธุ์ของเกษตรกรเผ่าปกาเกอะญอทุกแห่งมี ความเชื่อมโยงกับแหล่งผลิต ชุมชน วัฒนธรรมและประเพณีเหมือนกันคือ เป็นเครื่องเซ่นไหว้ในพีธีการต่างๆ ได้แก่ เลี้ยงผีนา ไหว้เจ้าที่ ถวายข้าวใหม่ เอาข้าวใหม่ให้ผู้อาวุโสกินก่อน ผูกข้อมือประจำปี และกินข้าวใหม่ แต่พันธุ์ข้าวหอมที่สูงบือเนอมูมีความเชื่อมโยงมากกว่าอย่างลึกซึ้งกับครอบครัวที่ปลูกข้าวหอมที่สูงบือเนอมู เพราะพันธุ์ข้าวบือเนอมูเป็นพันธุ์ที่ปลูกและเก็บรักษาพันธุ์มาตั้งแต่สมัยของบรรพบุรุษ การพัฒนาพันธุ์ให้บริสุทธิ์โดยการปลูกเป็นแถวและคัดเลือกแถวข้าวที่มีความสม่ำเสมอของลักษณะสัณฐานวิทยาไว้ พบว่าสามารถแบ่งกลุ่มออกได้เป็น 10 กลุ่มตามลักษณะสัณฐานวิทยา และเมื่อนำแต่ละกลุ่มมาพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะของพันธุ์ ข้าวบือเนอมูตามคำบอกเล่าคือ รูปร่างเมล็ดยาวและมีความหอม สามารถคัดเหลือเพียง 3 กลุ่ม จากนั้นนำข้าวที่คัดไว้ทั้ง 3 กลุ่มไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตกับพันธุ์ปทุมธานี 1, ขาวดอกมะลิ 105, บือทอแม, บือชอมี และพันธุ์ข้าวบือเนอมูที่ได้มาใหม่จากอำเภอแม่แจ่มและอำเภอไชยปราการ พบว่าพันธุ์ข้าวบือเนอมูที่คัดเลือกไว้ทั้ง3 กลุ่ม มีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 246–409 กก./ไร่ ซึ่งให้ผลผลิตต่ำกว่าข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 (เฉลี่ย 686 กก./ไร่) แต่สูงกว่าผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 (173 กก./ไร่) สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานที่ควรทำต่อไปในการพัฒนาข้าวบือเนอมูเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในอนาคต หลังจากการพัฒนาพันธุ์ให้บริสุทธิ์แล้วคือ การนำพันธุ์ข้าวพันธุ์บริสุทธิ์ไปขยายผลในแปลงนาขั้นบันไดของเกษตรกรเผ่าปกาเกอะญอในจังหวัดเชียงใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม การขยายผลดังกล่าวไปสู่เกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอจะต้องได้รับความร่วมมือของเกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอ หน่วยงานต่างๆ และแหล่งทุนที่จะช่วยสนับสนุนการขยายผลให้ก้าวไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังของเกษตรกรชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอเพื่อสร้างข้าวพันธุ์ “บือเนอมู” เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ต่อไปในอนาคต
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research symposium 2011: Rice research center groups in upper and lower northern region], Phrae (Thailand), p. 357-368

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/123456789/3102

รายงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2554: สัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง, แพร่, หน้า 357-368
Formato:  387 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional