Registro completo |
Provedor de dados: |
106
|
País: |
Thailand
|
Título: |
ชีววิทยาและประสิทธิภาพของด้วงเต่า (Stethorus spp.) ตัวห้ำ 3 ชนิดต่อการทำลายไข่ของไรแมงมุม
Biology and predation efficacy of three coccinellid beetles species (Stethorus spp.) on spider mite eggs
|
Autores: |
Sirilak Lankaew
Nutcharee Siri
|
Data: |
2013-04-01
|
Ano: |
2012
|
Palavras-chave: |
Predatory beetle
Mulberry red mite
African red mite
Two spot spider mite
ด้วงตัวห้ำ
ไรแดงหม่อน
ไรแดงแอฟริกัน
ไรสองจุด
ประสิทธิภาพ
ไรศัตรูพืช
การควบคุึมศัตรูพืช
|
Resumo: |
Dominant predator of Tetranychus sp. were Stethorus siphonulus Kapur and Stethorus pauperculus (Weise) while Stethorus indira Kapur was dominant predator of Eutetranychus africanus Tucker. The Stethorus spp. 3 species had characteristic different in egg to pupa stages but similary at adult stages. S. siphonulus had the largest size, followed by S. indira and S. pauperculus. The development period from egg to adult stage of S. pauperculus, S. siphonulus and S. indira was 16.35 days, 12.60 days, and 14.75 days, respectively. Preference test of the predatory beetles on egg of three spider mite species showed that S. siphonulus destroy eggs of Mulberry red mite, Tetranychus truncatus Ehara, S. pauperculus destroy eggs of Two spot spider mite, Tetranychus urticae Koch and S. indira destroy eggs of African red mite, E. africanus more than other species. Efficacy test on predation of S.siphonulus and S.pauperculus on eggs of T. truncatus and S.indira on egg E. africanus, showed that larvae of three predators were able to consume 85.89, 62.61 and 81.71 eggs per day. Adult of S.siphonulus and S.pauperculus were able to consume 149.80, 102.90 and 146.85 eggs per day, respectively.
ไรแมงมุม Tetranychus sp. มีศัตรูธรรมชาติที่สำคัญคือด้วงตัวห้ำ Stethorus siphonulus Kapur และ Stethorus pauperculus (Weise) ส่วนไรแดงแอฟริกัน Eutetranychus africanus Tucker มีศัตรูธรรมชาติที่สำคัญคือด้วงตัวห้ำ S. indira Kapur ด้วงตัวห้ำทั้ง 3 ชนิดมีลักษณะทางชีววิทยาที่แตกต่างกันในระยะไข่ถึงระยะดักแด้ ส่วนระยะตัวเต็มวัยมีลักษณะใกล้เคียงกัน โดย S. siphonulus มีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ S. indira และ S. pauperculus ด้วงตัวห้ำ S. pauperculus, S. siphonulus และ S. indira มีพัฒนาการจากระยะไข่ถึงตัวเต็มวัย 16.35 วัน, 12.60 วัน และ 14.75 วัน ตามลำดับ การทดสอบการเลือกทำลายไข่ไรแมงมุม 3 ชนิด พบว่าด้วงเต่า S. siphonulus เลือกทำลายไข่ไรแดงหม่อน Tetranychus truncatus Ehara มากที่สุด ส่วน S. pauperculus เลือกทำลายไข่ไรสองจุด Tetranychus urticae Koch มากที่สุด และ S. indira เลือกทำลายไข่ไรแดงแอฟริกัน E. africanus มากที่สุด จากการทดสอบประสิทธิภาพของด้วงตัวห้ำ S. siphonulus และ S. pauperculus ต่อการทำลายไข่ไรแดงหม่อน T. truncatus และ S.indira ต่อการทำลายไข่ไรแดงแอฟริกัน E. africanus พบว่าด้วงตัวห้ำระยะตัวหนอนสามารถทำลายไข่ไรแมงมุมได้ 85.89, 62.61 และ 81.71 ฟองต่อวันและระยะตัวเต็มวัยสามารถทำลายไข่ไรแมงมุมได้ 149.80, 102.90 และ146.85 ฟองต่อวัน ตามลำดับ
|
Tipo: |
Collection
|
Idioma: |
Thailandês
|
Identificador: |
ISSN 0125-0485
http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5319
Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, Oct-Dec 2012, V. 40, No. 4, p. 313-320
แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, ต.ค.-ธ.ค. 2555, ปีที่ 40, ฉบับที่ 4, หน้า 313-320
|
Direitos: |
ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
|
|