Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  พระเจ้าร้อยท่า (Heteropanax fragrans) พืชอาหารชนิดใหม่ เพื่อการเพาะเลี้ยงไหมอีรี่ในประเทศไทย
Kesseru (Heteropanax fragrans) as a new food plant for eri silkworm rearing in Thailand
Autores:  Sivilai Sirimungkararat
Weerasak Saksirirat
Duenpen Wongsorn
Chanapat Buamuangphia
Data:  2015-06-12
Ano:  2013
Palavras-chave:  Kesseru
India line
Thai line
Heteropanax fragrans
Cassava
Animal feeding
Rearing
Eri silkworm
Egg yields
Survival percentage
Pupa weight
Shell weight
Hatching egg
พระเจ้าร้อยท่า
สายพันธุ์อินเดีย
สายพันธุ์ไทย
มันสำปะหลัง
การให้อาหาร
ไหมอีรี่
ผลผลิตไข่
เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง
เปอร์เซ็นต์น้ำหนักรัง
เปอร์เซ็นต์ไข่ฟัก
น้ำหนักดักแด้
Resumo:  Comparison of eri silkworm rearing by using different major food plants, different lines of kesseru(Heteropanaxfragrans); Thai and Indian lines, and cassava Rayong 72 was conducted. The results showed that eri silkworm fed with kesseru leaves and cassava leaves has similar life cycles, 57-73 days and 53-73 days, respectively. Using Indian kesseru, larval (1-5 instar) and adult survival rates were 100%. Cocoon yield obtained from feeding with Rayong 72 was significantly higher (P<0.05) than feeding with both 2 lines of kesseru. However, average yields of fresh cocoon, pupa weight, %cocoon shell, total shell weight and fresh cocoon weight/10,000 larvae derived from cassava feeding were 2.2312 g, 1.9029 g, 14.37%, 9.52 g, and 22.31 kg, respectively, and not significantly different than that obtained from Indian kesseru feeding with values, 2.1406 g, 1.8484 g, 13.28%, 8.48 g, and 21.41 kg, respectively. For egg yields, cassava feeding exhibited highest values of eggs/moth and hatching percentage of 274.83 eggs and 85.59% respectively, but not significantly different with Indian kesseru (255.67 eggs and 84.87%).On the other hand, total eggs and total hatching eggs by feeding with Indian kesseru were highest values of 4,090.67 and 3,500.00 eggs, respectively, which not statistical difference with feeding with cassava leaves showing lower values of 3,465.67 and 3,063.50 eggs, respectively. This study suggests that the Indian kesseru is properly to use as one of themajor food plants for eri culture in Thailand, which comparable to cassava food plant (Rayong 72).

การเพาะเลี้ยงไหมอีรี่ด้วยพืชอาหารหลักต่างสายพันธุ์กันระหว่างพระเจ้าร้อยท่า (Kesseru, Heteropanaxfragrans) สายพันธุ์ไทยและสายพันธุ์อินเดียเปรียบเทียบกับมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 พบว่าเมื่อเพาะเลี้ยงด้วยพระเจ้าร้อยท่าสายพันธุ์อินเดียและมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 ไหมอีรี่มีวงจรชีวิตที่ใกล้เคียงกัน คือ 57-73 และ 53-73 วัน ตามลำดับ โดยพระเจ้าร้อยท่าสายพันธุ์อินเดียมีอัตราการอยู่รอด 100% ทั้งในระยะหนอน (วัย 1-5) และระยะหนอน-ตัวเต็มวัย ส่วนน้ำหนักเปลือกรังเฉลี่ยนั้น มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 ให้ค่าสูงกว่าทางสถิติกับพระเจ้าร้อยท่าทั้งสองสายพันธุ์ (P<0.05) แต่ผลผลิตเฉลี่ยที่ได้จากการเลี้ยงด้วยระยอง 72 ทั้งน้ำหนักรังสด น้ำหนักดักแด้ เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง น้ำหนักเปลือกรังรวม และผลผลิตรังสด/หนอนไหม 10,000 ตัวมีค่าเท่ากับ 2.2312 g, 1.9029 g, 14.37%, 9.52 g และ 22.31 kg ตามลำดับ โดยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับการเพาะเลี้ยงด้วยพระเจ้าร้อยท่าสายพันธุ์อินเดีย ซึ่งมีค่าเท่ากับ 2.1406 g, 1.8484 g, 13.28%, 8.48 g และ 21.41 kg ตามลำดับส่วนผลผลิตไข่ไหมอีรี่ พบว่าการเพาะเลี้ยงด้วยใบมันสำปะหลังให้ผลผลิต จำนวนไข่/แม่ และเปอร์เซ็นต์ไข่ฟักสูงที่สุดเท่ากับ 274.83 ฟอง และ 85.59% ตามลำดับ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับการเลี้ยงด้วยพระเจ้าร้อยท่าสายพันธุ์อินเดียที่มีค่าเท่ากับ 255.67 ฟอง และ 84.87% ตามลำดับ ส่วนจำนวนไข่และจำนวนไข่ฟักทั้งหมดนั้น พบว่าการเพาะเลี้ยงด้วยพระเจ้าร้อยท่าสายพันธุ์อินเดียให้ค่าสูงที่สุดเท่ากับ 4,090.67 และ 3,500.00 ฟอง ตามลำดับ โดยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับค่าที่รองลงมาซึ่งเพาะเลี้ยงด้วยมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 (3,465.67 และ 3,063.50 ฟอง ตามลำดับ) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าร้อยท่าสายพันธุ์อินเดียมีความเหมาะสมเพื่อการนำมาใช้เป็นพืชอาหารหลักชนิดหนึ่งในการเพาะเลี้ยงไหมอีรี่ในประเทศไทยซึ่งเทียบเท่ากับการเพาะเลี้ยงด้วยใบมันสำปะหลัง (ระยอง 72)
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5818

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2013, V. 41, Suppl. 1, p. 177-184

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2556, ปีที่ 41, ฉบับพิเศษ 1, หน้า 177-184
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional