Registro completo |
Provedor de dados: |
Thai Agricultural
|
País: |
Thailand
|
Título: |
การใช้แผ่นเทียบสีใบข้าวจัดการปุ๋ยไนโตรเจนในข้าวสุพรรณบุรี 1 ปลูกแบบหว่านน้ำตม
Using leaf colour chart for N fertilizer management in broadcast wet-seeded, SPR1
|
Autores: |
Surapol Chatuporn
Amornrat Intrman
Walaiporn Sanvong
Nittaya Ruensuk
|
Data: |
2012-07-26
|
Ano: |
2008
|
Palavras-chave: |
Leaf color chart (LCC)
Nitrogen management
SPR1
Broadcast wet-seeded rice
Cost production
Yield
ข้าว
การจัดการธาตุไนโตรเจน
พันธุ์สุพรรณบุรี 1
นาหว่านน้ำตม
ต้นทุนการผลิต
ผลผลิต
แผ่นเทียบสีใบข้าว
นาเกษตรกร
การใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยไนโตรเจน
|
Resumo: |
Two methods of nitrogen management of broadcast wet-seeded rice in SPR1 with Leaf Color Chart (LCC) had been demonstrated compared with farmer fertilizer's practice in 6 farmer fields in Suphan Buri province during dry and wet season, 2003. The results showed that LCC produced yield of 605 and 616 kg/rai whereas farmers’ practice produced only 594 kg/rai and also consumed 28-48% less N fertilizer and gained more yield per nitrogen unit than those of farmers’ practice. Moreover, LCC took only 3.80 baht/kg of total fertilizer input cost and gained 602-614 baht of net benefit whereas the farmers’ practice needed 4.20 baht/kg and gave only 363.50 baht net benefit. Thus, nitrogen management with LCC reduces a lot of input cost and imported urea fertilizer.
ทำการทดสอบประสิทธิภาพของแผ่นเทียบสีใบเพื่อจัดการปุ๋ยไนโตรเจนในข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ในนาเกษตรกร จ.สุพรรณบุรี ทั้งฤดูนาปรังและนาปี 2546 2 กรรมวิธีทดสอบ เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร พบว่า กรรมวิธีการใช้แผ่นเทียบสีใบข้าวในการตัดสินใจใช้ปุ๋ยไนโตรเจนให้ผลตรงตามความต้องการปุ๋ยจริงของต้นข้าวซึ่งสอดคล้องกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้ง 2 กรรมวิธี จึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและมีแนวโน้มให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยสูงกว่าเกษตรกร โดยกรรมวิธีทดสอบที่ 1 และ 2 ได้ผลผลิตข้าว 605 และ 616 กก./ไร่ ขณะที่แปลงของเกษตรกรได้ ผลผลิต 594 กก./ไร่ และลดปริมาณปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้ได้ร้อยละ 28-48 เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร และประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงกว่า สำหรับต้นทุนการผลิต และรายได้ เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนผันแปรใกล้เคียงกัน แต่มีรายจ่ายเป็นค่าปุ๋ยเคมีสูงกว่ากรรมวิธีทดสอบ กล่าวคือ ต้นทุนการผลิตในกรรมวิธีทดสอบข้าวทั้ง 2 กรรมวิธี คือ 3.80 บาท/ข้าวเปลือก 1 กก. คิดเป็นรายได้สุทธิ 602 - 614 บาท/ไร่ ส่วนของเกษตรกรมีต้นทุนการผลิต 4.20 บาท/ข้าวเปลือก 1 กก. คิดเป็นรายได้สุทธิเพียง 363.50 บาท/ไร่ ดังนั้น การใช้แผ่นเทียบสีจัดการปุ๋ยไนโตรเจน จะทำให้เกษตรกรทำนาเขตชลประทาน สามารถลดการใช้ปุ๋ยยูเรียในการผลิตข้าวได้มากทั้งปริมาณและมูลค่า
|
Tipo: |
Collection
|
Idioma: |
Thailandês
|
Identificador: |
ISSN 1906-0246
http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5098
Thai Rice Research Journal (Thailand), ISSN 1906-0246, Jan-Apr 2008, V. 2, No. 1 , p. 35-46
วารสารวิชาการข้าว, ISSN 1906-0246, ม.ค.-เม.ย. 2551, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, หน้า 35-46
|
Formato: |
96 p.
|
Direitos: |
ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาติให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
|