Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การผลิตยางพาราในจังหวัดนครพนม ประเทศไทย และแขวงคำม่วน สปป. ลาว: การเปรียบเทียบพฤติกรรมการผลิตของผู้ปลูกรายย่อย
Para rubber production in Nakhon Phanom province, Thailand and Khammouane province, Lao PDR.: Comparison of production behavior by smallholder
Autores:  Kanlaya Mikhama
Yos Borisutdhi
Data:  2014-06-09
Ano:  2013
Palavras-chave:  Para rubber plantation
Rubber tree extension
Rubber plantation aid
Rubber marketing
Natural rubber
การปลูกยางพารา
การส่งเสริมยางพารา
การสงเคราะห์การทำสวนยาง
การตลาดยางพารา
ยางธรรมชาติ
พฤติกรรมการผลิต
จ.นครพนม
แขวงคำม่วน
Resumo:  Currently, there are great interests in rubber tree planting by farmer in the Northeastern Thailand and the neighboring countries, due to its high return. As a result, there is a question of what are the differences of the rubber production behavioral aspect between the smallholder in the Northeast Thailand and the neighboring countries. Nakhon Phanom province, Thailand and Khammouane province, Lao PDR were chosen as study site. Secondary data, individual and group interviews, and field surveys were used as data collection in during 2010. It was illustrated that both locals had both similar and different production behavior by smallholder. Agronomic practices in term of weeding, fertilizing application, tapping system, and processing of rubber latex are similar. However, the differences were noted in extension by government program, farmer group association, land and holding preparation, and labor management. Rubber production behavioral aspects by smallholder in Nakhon Phanom province were better than Khammouane province in term of extension by government program and farmer group association. It can be suggested that rubber production in the particular area of Khammouane province should be having extension responsible sector and corporation form farmer should be taken into account. In Nakhon Phanom province rather than improving productivity or solving farmer problem strengthening learning of farmer is the key to improve quality of life and quality of rubber.

ยางพาราเป็นพืชที่เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศเพื่อนบ้านกำลังให้ความสนใจในการปลูก เนื่องจากเกษตรกรเห็นว่าสามารถให้ผลตอบแทนสูง จึงเกิดคำถามว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศเพื่อนบ้านมีพฤติกรรมการปลูกยางพารารายย่อยแตกต่างกันอย่างไร โดยเลือกจังหวัดนครพนม ประเทศไทย และแขวงคำม่วน สปป. ลาว เป็นพื้นที่ศึกษา โดยการศึกษาใช้วิธีการการรวบรวมข้อมูลมือสอง สัมภาษณ์บุคคล สัมภาษณ์กลุ่ม และออกสำรวจพื้นที่ศึกษาในปี 2553 ผลการศึกษาค้นพบว่า พฤติกรรมการผลิตยางพาราของผู้ปลูกยางพารารายย่อยในจังหวัดนครพนมและแขวงคำม่วนมีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน โดยส่วนที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ การกำจัดวัชพืช การใช้ปุ๋ย ระบบการกรีด และการแปรรูปยางดิบ ส่วนประเด็นที่แตกต่างกัน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมจากภาครัฐ การรวมกลุ่มของเกษตรกร การเตรียมพื้นที่ปลูก การเตรียมหลุมปลูก และการใช้แรงงาน การผลิตยางพารารายย่อยของเกษตรกรในจังหวัดนครพนมถือได้ว่ามีพฤติกรรมการผลิตที่ดีกว่าในแขวงคำม่วนในหลายประเด็น อาทิ ด้านการส่งเสริมโดยรัฐ และการรวมกลุ่มของเกษตรกร เป็นต้น ดังนั้นการส่งเสริมการผลิตยางพาราในแขวงคำม่วนควรมีหน่วยงานหรือมีผู้รับผิดชอบในการส่งเสริมโดยเฉพาะและการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกร สำหรับจังหวัดนครพนมนอกจากส่งเสริมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหรือแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรแล้ว ควรมีการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกรเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุณภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรด้วย
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5580

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2013, V. 41, Suppl. 1, p. 691-698

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2556, ปีที่ 41, ฉบับพิเศษ 1, หน้า 691-698
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional