Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  106
País:  Thailand
Título:  รอยเท้าคาร์บอนจากระบบการปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศไทย: การวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวในประเทศไทย
Carbon footprint and mitigation emission in major rice production system in Thailand: Methane emission from rice field
Autores:  Benjamas Rossopa
Chitnucha Buddhaboon
Kingkaew Kunket
Waraporn Wongboon
Apiwat Hantanapong
Samran Inthaleang
Noppadol Prayoonsuk
Data:  2013-12-04
Ano:  2013
Palavras-chave:  Rice
Production
Greenhouse effect
Emission
Carbon footprint
Global warming
ข้าว
ระบบการปลูกข้าว
ก๊าซเรือนกระจก
การปลดปล่อยก๊าซ
รอยเท้าคาร์บอน
สภาวะโลกร้อน
ก๊าซมีเทน
นาข้าว
ประเทศไทย
Resumo:  Measurement of methane emission from rice production systems is a methodology for data collection of Carbon Footprint from rice production system. Four major rice production systems were defined for methane emission measurement in 2012, including upland rice, rainfed rice, irrigated rice with Good Agricultural Practices (GAP) and irrigated rice with alternative wet and dry (AWD). Gas samples were taken one week interval and analyzed with Gas Chromatograph; GC-8A as soon as possible after collection. Results found that upland rice could absorb CH4 at the rate of 0.028 kg methane ha-1season-1 whereas rainfed rice production system in Northeast Thailand emitted CH4 at the rate of 85.26 kg rai-1season-1 under transplanting and 51.64 kg rai-1 season-1 under broadcasting method. Gas samples from six irrigated rice varieties under continuous flooding emitted CH4 at the rate of 43.42 kg rai-1season-1 while irrigated rice with GAP and irrigated rice with AWD emitted CH4 at the rate of 6.31 kg rai-1season-1 and 8.42 kg rai-1 season-1, respectively. The CH4 emission rate from Prachinburi Rice Research Center’s experimental plot with farmer practices for irrigated rice production indicated that to produce one kg of irrigated rice, greenhouse gases would be emitted at the rate of 5.79 kg CO2 eq. However, this preliminary result of four major rice productions needs more data collection either from field experiment or farmer interview before making a final conclusion.

การวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากระบบนาข้าวที่สำคัญของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของการเก็บข้อมูลเพื่อประกอบการวิจัยรอยเท้าคาร์บอนจากระบบการผลิตข้าว ในปี พ.ศ.2555 ดำเนินการวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากการปลูกใน 4 นิเวศ ได้แก่ ข้าวไร่ นาน้ำฝน นาชลประทาน ที่มีการจัดการแบบเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) และนาชลประทาน ที่มีการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง วัดโดยใช้กล่องดักก๊าซทุกสัปดาห์ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว แล้วนำตัวอย่างก๊าซมาวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ตัวอย่างก๊าซ ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า ระบบการปลูกข้าวไร่ของประเทศไทยเป็นแหล่งดูดซับก๊าซมีเทนได้ในอัตรา 0.176 กิโลกรัมมีเทนต่อไร่ต่อฤดู ในพื้นที่นาน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการการปลดปล่อยก๊าซมีเทน ในอัตรา 85.26 กิโลกรัมมีเทนต่อไร่ต่อฤดู โดยวิธีปลูกแบบปักดำ และในอัตรา 51.64 กิโลกรัมมีเทนต่อไร่ต่อฤดู สำหรับวิธีหว่านข้าวงอก ข้าวนาชลประทาน ภายใต้การจัดการน้ำให้ขังตลอดเวลา อัตราการปลดปล่อยก๊าซมีเทนเฉลี่ยของข้าวทั้ง 6 พันธุ์ คือ 43.42 กิโลกรัมมีเทนต่อไร่ต่อฤดู พื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทานที่มีการจัดการแบบเกษตรดีที่เหมาะสม และนาชลประทานที่มีการจัดการน้ำ มีการการปลดปล่อยก๊าซมีเทน 6.31 และ 8.42 กิโลกรัมมีเทนต่อไร่ต่อฤดู ตามลำดับ จากการวิเคราะห์รอยเท้าคาร์บอน โดยใช้ค่าการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากแปลงทดลองของศูนย์วิจัยข้าวปราจีนบุรีและแบบสัมภาษณ์ของเกษตรกร พบว่า ตลอดกระบวนการผลิตข้าวเปลือก 1 กิโลกรัม มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 5.79 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อย่างไรก็ตามการวัดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวเป็นเพียงผลการทดลองเบื้องต้นเท่านั้น การวิเคราะห์รอยเท้าคาร์บอน ทั้ง 4 ระบบผลิตข้าว จำเป็นต้องมีทั้งข้อมูลจากแปลงทดลองและสัมภาษณ์เกษตรกรเพิ่มเติม เพื่อความถูกต้องในการประเมินและใช้ประโยชน์ต่อไป
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  Proceedings of the 30th Rice and Temperate Cereal Crops Annual Conference 2013, Bangkok (Thailand), p. 134-144

ISBN 978-974-403-928-6

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5445

เอกสารการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2556, กรุงเทพฯ, หน้า 134-144
Formato:  326 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional