Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การติดเชื้อรา Aspergillus flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง 6 พันธุ์เมื่อกระทบแล้งในช่วงปลายของการเจริญเติบโต
Aspergillus flavus infection and aflatoxin contamination of six peanut genotypes grown under terminal drought
Autores:  Ratanaporn Koolachart
Teerayoot Girdthai
Sanun Jogloy
Nimitr Vorasoot
Sopone Wongkaew
Aran Patanothai
Data:  2012-08-15
Ano:  2011
Palavras-chave:  Arachis hypogaea L.
Aflatoxin
Drought tolerance
Peanut
Aspergillus flavus
ถั่วลิสง
อะฟลาทอกซิน
การปนเปื้อนเชื้อรา
ผลกระทบแล้ง
การทนแล้ง
ระยะสร้างฝัก
ผลผลิต
พันธุ์
Resumo:  End of season drought at pod filling and maturity stages can severely reduce yield and increase the risk of aflatoxin contamination. Peanut varieties with resistance to drought may reduce Aspergillus flavus infection and aflatoxin contamination. The objectives of this study were to investigate the effects of late season drought during 80 days after planting (DAP) until harvest on A. flavus infection and aflatoxin contamination and to estimate the correlation coefficients between traits related to aflatoxin contamination and the correlation coefficients between traits related to drought resistance (SPAD chlorophyll meter reading (SCMR) and specific leaf area (SLA)) and traits to aflatoxin contamination (A. flavus infection and aflatoxin contamination) of 6 peanut genotypes. The six peanut genotypes were evaluated under field conditions at the agronomy farm of the Department of Plant Science and Agricultural Resources, Khon Kaen University. The varieties were laid out in a randomized complete block design with four replications for two years in 2006/2007 and 2007/2008. A. flavus was inoculated to the crop at 30 days after planting (DAP) and soil moisture content at 1/3 field capacity was imposed to the crop at pod setting stage until harvest. The data were recorded for SCMR, SLA, A. flavus infection percentage and aflatoxin contamination. KKU 60 had the lowest A. flavus infection (14%) and aflatoxin contamination (553 ppb), whereas KKU 72-1 had the highest A. flavus infection (30%) and KKU 1 had the highest aflatoxin contamination (898 ppb). The correlation coefficients between yield and traits related to aflatoxin contamination ( A. flavus infection and aflatoxin contamination) were negative and significant, whereas the correlation coefficient between A. flavus infection and aflatoxin contamination was positive and significant. SCMR was negatively and significantly correlated with A. flavus infection and aflatoxin contamination, whereas SLA was positively and significantly associated with A. flavus infection and aflatoxin contamination. The information is useful for screening of peanut genotypes for drought resistance and reduced aflatoxin contamianation. Keywords: Arachis hypogaea L., drought tolerance, aflatoxin

ช่วงปลายของการเจริญเติบโตของถั่วลิสง เป็นช่วงของการเติมเต็มเมล็ดและการสุกแก่ การกระทบแล้งในช่วงนี้ นอกจากทำให้ผลผลิตลดลงแล้วยังเพิ่มโอกาสการติดเชื้อราที่สร้างสารอะฟลาทอกซินในเมล็ด ซึ่งถั่วลิสงพันธุ์ที่ทนแล้งสามารถลดการติดเชื้อรา Aspergillus flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินได้ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบแล้งในระยะสร้างฝักถึงเก็บเกี่ยวต่อการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในเมล็ดถั่วลิสง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินของถั่วลิสง และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสรีรวิทยาการทนแล้งกับลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง 6 พันธุ์ ทำการทดลองในสภาพไร่ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize complete block design (RCBD) มี 4 ซ้ำ ปลูกทดสอบ 2 ปี ระหว่างปี 2547/2548 และ ปี 2548/2549 ทำการปลูกเชื้อรา A. flavus ทั่วทั้งแปลงทดลอง เมื่อถั่วลิสงอายุ 30 วันหลังปลูก และควบคุมความชื้นดินที่ 1/3 ของความจุสนาม เมื่อ 80 วันหลังปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว บันทึกข้อมูลลักษณะการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ข้อมูลผลผลิตและข้อมูลทางด้านสรีรวิทยา (SPAD chlorophyll meter reading (SCMR) และ Specific leaf area (SLA)) ผลการศึกษาพบว่าถั่วลิสงพันธุ์ที่ต่างกันเมื่อกระทบแล้งในช่วงปลายของการเจริญเติบโตในแต่ละปีมีการติดเชื้อรา A. flavus และ การปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยพบว่าพันธุ์ KKU 60 มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อรา A. flavus และปริมาณการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินต่ำสุด (14% และ 553 ppb ตามลำดับ) ขณะที่พันธุ์ KKU 72-1 มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อรา A. flavus มากที่สุด (30%) และพันธุ์ KKU 1 มีปริมาณการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมากที่สุด (898 ppb) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติในทางลบ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อรา A. flavus กับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบระหว่าง SCMR กับการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง SLA กับการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือก พันธุ์ถั่วลิสงให้ทนแล้งและลดการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน คำสำคัญ: Arachis hypogaea L., ทนแล้ง, อะฟลาทอกซิน
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5109

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2011, V. 39, Suppl. 3, p. 12-22

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2554, ปีที่ 39, ฉบับพิเศษ 3, หน้า 12-22
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional