Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  อิทธิพลของช่วงเวลาปลูกต่อผลผลิตและคุณภาพข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่น
Effect of planting date on yield and grain quality of promissing irrigated rice
Autores:  Wannakorn Intarasatit
Sa-ang Chairin
Suradet Palawisut
Data:  2016-02-26
Ano:  2015
Palavras-chave:  Effect of planting date
Yield
Physical quality
Milling quality
Promissing line
อิทธิพลของช่วงเวลาปลูก
ผลผลิต
คุณภาพข้าวทางกายภาพ
คุณภาพการสี
สายพันธุ์ดีเด่น
Resumo:  Climate change has an impact on rice yield and quality. Heat highly affects rice during flowering stage, as during the stage rice is extremely sensitive to temperature environment. It has been reported that, different rice variety was affected by temperature differently. For Asian country, the highest temperature during the day in summer was about 35 to 41oC or higher resulting in heat intolerance in rice that causes the high percentage of unfilled grain. Heat is also the major cause of cracked-grain leading to the higher number of broken milled rice after milling. The temperature which is higher than 35oC can cause a severe problem in rice plant development in either vegetative phase or reproductive phase that can be determined by the lower number of panicle and seed per panicle. For low temperature, cold can cause a problem while the plant is at the panicle formation and anthesis stage. The critical temperature causing sterility in cold tolerant rice variety is 15-17oC, while it is 17-19oC for cold sensitive variety. It can be said that the critical temperature leads to sterility during anthesis in rice is 15-20oC. It is reported that at 8.5 to 10 days prior flowering time was the critical duration where rice can be highly sensitive to the cold. The main aim of this research was to search for both a suitable period for rice planting and the critical period which the planting should be avoided in order to gain a high quality rice product in irrigated rice cultivation system. We performed the RCB experiment with triplication by planting rice in every 10 days for the whole cultivated season. The broadcasting method was for planting PSL05101-93-1-3-2 elite (promissing) line by using the seed ratio of 1.5 kg/ rai for 4x6 m area with 12-6-6 fertilizer (N-P2O5-K2O). We harvested the rice products in the area of 2x5 m after 30 days of flowering. The harvested rice were then threshed, sun-dried, and cleaned, before rice grain at 14% RH were weighted and analyzed of their milling quality including other physical quality. The results showed that the elite line which was planted in every other 10 days from 30th June 2013 to 4th August 2014 had significantly different physical properties and other characteristics by Pearson’s correlation analysis at P < 0.05. It is noted that rice yield and the lowest temperature at 45 and 55 days after planting or during the early stage of panicle formation were ultimately correlated. Moreover, the lowest temperature at 75% of flowering and 15 days before flowering was significantly related to rice yield. Correspondingly, there was significantly correlation between the percentage of head rice and broken rice and the temperature at 10 days before harvesting.

ผลกระทบจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ส่งผลต่อผลผลิตและคุณภาพข้าว โดยอากาศร้อนมีผลกระทบต่อข้าวในช่วงออกดอก เพราะข้าวในระยะกำลังออกดอกเป็นช่วงที่มีความไวต่ออุณหภูมิสูงมากที่สุด แต่ข้าวต่างพันธุ์กันมีการตอบสนองต่ออุณหภูมิสูงแตกต่างกัน สำหรับประเทศในเขตร้อนของทวีปเอเซีย จะมีอุณหภูมิสูงสุดในช่วงเวลากลางวันในฤดูร้อน ตั้งแต่ 35-41 oC หรือสูงกว่านี้ ส่งผลให้พันธุ์ข้าวที่ไม่ทนต่อสภาพอากาศร้อน มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดที่ผสมไม่ติดสูง มีเมล็ดลีบมาก นอกจากนี้อากาศร้อนยังมีผลต่อข้าวในระยะเมล็ดสุกแก่ ทำให้เกิดการแตกร้าวภายในเมล็ดขึ้น เมื่อนำข้าวไปนวดหรือขัดสีจะเกิดการแตกหัก คุณภาพการสีลดลง ผลกระทบของอุณหภูมิสูงมากกว่า 35 ๐C จะมีผลต่อระยะการเจริญเติบโตของข้าวทั้งการเจริญทางลำต้นและการเจริญทางการสืบพันธุ์ มีผลทำให้จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง และมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบมากขึ้นด้วย สำหรับอากาศเย็นมีผลกระทบต่อข้าวอย่างยิ่งในระยะข้าวสร้างรวงอ่อนและช่วงผสมเกสร (anthesis) อุณหภูมิวิกฤติที่ทำให้ข้าวเป็นหมันสำหรับพันธุ์ข้าวทนทานต่ออากาศหนาวเย็น (highly cold-tolerant varieties) คือ 15-17 oC และสำหรับพันธุ์ข้าวไม่ทนทานต่ออากาศหนาวเย็น (cold-sensitive varieties) คือ 17-19 oC ดังนั้น อุณหภูมิในช่วง 15-20 oC จึงเป็นอุณหภูมิวิกฤติที่ทำให้ข้าวเป็นหมัน(sterility) ในช่วงข้าวผสมเกสร ช่วงเวลาวิกฤติของข้าวเมื่อกระทบอุณหภูมิต่ำผิดปกติแล้วจะเป็นหมันสูง ประเมินว่าน่าจะเป็นที่ 8.5-10 วันก่อนออกดอก การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม และช่วงเวลาปลูกที่ควรหลีกเลี่ยงที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นสำหรับเป็นข้อมูลประกอบพันธุ์ข้าวและแนะนำเกษตรกรต่อไป วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ กรรมวิธี คือ ช่วงเวลาปลูกข้าวทุก 10 วันตลอดปี ข้าวที่ปลูก คือ ข้าวสายพันธุ์ดี PSL05101-93-1-3-2 ปลูกข้าวด้วยวิธีหว่านน้ำตม อัตราเมล็ดพันธุ์ 15 กก./ไร่ ในพื้นที่แปลงย่อยขนาด 4x6 เมตร ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 12-6-6 กก.N-P2O5-K2O /ไร่ โดยแบ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเป็น 4 ครั้งเท่าๆ กัน (3 กก.N/ไร่) ที่ระยะ 20 และ 40 วันหลังหว่านข้าว ระยะกำเนิดช่อดอก (PI) และ 10 หลัง PI ส่วนปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมใส่ทั้งหมดพร้อมกับปุ๋ยไนโตรเจนครั้งแรก มีการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวต่างๆ อย่างเหมาะสมตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว วัดความสูง เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในพื้นที่ขนาด 2 x 5 ม. หลังข้าวออกดอก 30 วันหรือระยะพลับพลึง นวด ตาก ทำความสะอาด ชั่งน้ำหนักผลผลิต ที่ความชื้น 14% และแบ่งเมล็ดไปวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและคุณภาพการสี ในห้องปฏิบัติการ พบว่า ข้าวสายพันธุ์ดีเด่น PSL05101-93-1-3-2 ที่ปลูกทุก 10 วัน ตั้งแต่ 30 มิถุนายน 2556 – 4 สิงหาคม 2557 ผลผลิต จำนวนรวงต่อตารางเมตร จำนวนเมล็ดต่อรวง เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ ความสูงของต้นข้าว ความยาว ความกว้าง ความหนา ของข้าวเปลือกและข้าวกล้อง รูปร่างของเมล็ดข้าวกล้อง ค่าท้องไข่ น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด น้ำหนักข้าวเปลือกต่อถังที่ความชื้น 14% เปอร์เซ็นต์แกลบ เปอร์เซ็นต์รำ เปอร์เซ็นต์ข้าวหัก และเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Pearson’s correlation analysis พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างปริมาณผลผลิตกับอุณหภูมิต่ำสุดระยะสร้างรวงอ่อน (45 และ55 วันหลังหว่านข้าว) พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างปริมาณผลผลิตกับอุณหภูมิต่ำสุดก่อนออกดอก 75% 15 วัน และพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวกับความแตกต่างของอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ย 10 วันก่อนเก็บเกี่ยว ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P<0.05) อย่างไรก็ตามการทดลองเรื่องอิทธิพลของช่วงเวลาปลูกต่อผลผลิตและคุณภาพข้าวนาชลประทานสายพันธุดีเด่น ข้อมูลที่ได้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ควรมีการศึกษาการตอบสนองของพันธุ์ข้าวต่ออุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำในรายละเอียดเพิ่มเติม
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of The 8th rice research conference 2015: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chiang Rai (Thailand), p. 106-150

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5934

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2558, เชียงราย หน้า 106-150
Formato:  298 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional