Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การศึกษาลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความต้านทานการหักล้มของข้าว
Study on morpho-physiological traits associated with lodging resistance in Rice
Autores:  Pharichart Khongsuwan
Anuchart Kotchasatit
Chana Srisompal
Wirongrat Pimsan
Data:  2013-11-19
Ano:  2013
Palavras-chave:  Lodging
Lodging resistance
Pushing resistance
Morpho-physiological
Plant height
Rainfed lowland rice
การหักล้ม
ความต้านทานการหักล้ม
แรงต้านทานการหักล้ม
ลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยา
ความสูงของพืช
ข้าวนาน้ำฝน
Resumo:  Lodging causes yield reduction of rainfed lowland rice, particularly for the two popular varieties; KDML105 and RD6. Improving lodging resistance varieties has been in slow progress due to lack of understanding of morpho-physiological characters related to lodging resistance and also employing inappropriate protocol to evaluate lodging resistant among breeding lines. Experiments in wet season 2012 at UBN-RRC, NRM-RRC and UDN-RRC, were carried out to study plant characters in association with lodging resistance. Rice lines used for the study were breeding lines derived from the cross between IR68586/Leuang Hawm/KDML105, a group of short plant height lines together with a group of high yielding lines. Four standard check cultivars, i.e. Niaw Ubon 2, Ayutthaya 1, Khao Dawk Mali 105 and RD6 were included. Plant characters being evaluated were stem width (both with- or without leaf sheath), diameter of the 4th internode, length of the upper part (1st – 3rd internodes) and length of the lower part (4th – 5th internodes), stem fresh weight, root weight and plant height. A digital force gauge was used to determine lodging resistance among test lines. Lodging score, degree of bending of rice plants, breaking strength and lodging index were observed. Results showed that significant difference existed in grain yield, heading date, plant height, panicle per hill, diameter of the 4th internode, length of the upper part (1st – 3rd internodes), length of the lower part (4th – 5th internodes) and root weight. Lodging resistance, visual score of lodging, degree of bending, breaking strength and lodging index were differed significantly among lines. Results indicated that grain yield, plant height, diameter of the 4th internode, length of the lower part (4th – 5th internodes), root weight, pushing resistance, visual score of lodging, bending moment, breaking strength and lodging index were associated with lodging resistance. The optimal combination of plant height, diameter of the 4th internode, length of the lower part (4th – 5th internodes) and root weight is an important key to improve lodging resistance in rice.

การหักล้มของต้นข้าวส่งผลให้ผลผลิตข้าวในสภาพนาน้ำฝนโดยเฉพาะในพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และกข6 ได้รับความเสียหาย การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนให้ทนต่อการหักล้มได้ดำเนินการภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องด้วยความเข้าใจเรื่องลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยา และค่าประเมินความต้านทานการหักล้มที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นดัชนีในการคัดเลือกลักษณะความต้านทานการหักล้มยังมีค่อนข้างจำกัด ดำเนินการทดลอง ในฤดูนาปี พ.ศ.2555 ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา และศูนย์วิจัยข้าวอุดรธานี โดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยา เพื่อใช้เป็นดัชนีในการคัดเลือกลักษณะความต้านทานการหักล้ม ใช้กลุ่มสายพันธุ์ข้าวต่างๆ คือ สายพันธุ์ข้าวจากคู่ผสม IR68586//เหลืองหอม/KDML105 สายพันธุ์ข้าวต้นเตี้ย และสายพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตสูง พร้อมด้วยพันธุ์เปรียบเทียบมาตรฐาน (checks) คือ เหนียวอุบล 2 อยุธยา 1 ขาวดอกมะลิ 105 และ กข6 ได้ทำการประเมินลักษณะทางสัณฐานและสรีรวิทยา ได้แก่ ขนาดของลำต้นปล้องที่ 4 ทั้งที่มีกาบใบและไม่มีกาบใบ เส้นผ่านศูนย์กลางของปล้องที่ 4 ความยาวของลำต้นส่วนบน (ปล้องที่ 1-3) ความยาวของลำต้นส่วนล่าง (ปล้องที่ 4-5) น้ำหนักสดลำต้น น้ำหนักราก และความสูง ทำการประเมินค่าความต้านทานการหักล้ม ได้แก่ ค่าแรงต้านทานการหักล้ม ค่าประเมินการหักล้มด้วยสายตา ค่าโมเมนต์การเอียงของลำต้น ค่า Breaking strength และค่าดัชนีการหักล้ม ผลการศึกษา พบว่า ผลผลิต วันออกดอก ความสูง จำนวนรวงต่อกอ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปล้องที่ 4 ความยาวของลำต้นส่วนบน (ปล้องที่ 1-3) ความยาวของลำต้นส่วนล่าง (ปล้องที่ 4-5) ขนาดของลำต้นที่มีกาบใบ และน้ำหนักราก มีความแตกต่างทางสถิติ และมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมของลักษณะดังกล่าว จากการค่าประเมินความต้านทานการหักล้ม พบว่า ค่าแรงต้านทานการหักล้ม ค่าประเมินการหักล้มด้วยสายตา ค่าโมเมนต์การเอียงของลำต้น ค่า Breaking strength และค่าดัชนีการหักล้ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ จากการประเมินค่า Heritability พบว่า มี 10 ลักษณะ ที่มีความสัมพันธ์กับความต้านทานการหักล้มของข้าว ได้แก่ ผลผลิต ความสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางปล้องที่ 4 ความยาวของลำต้นส่วนล่าง (ปล้องที่ 4-5) น้ำหนักราก ค่าแรงต้านทานการหักล้ม ค่าประเมินการหักล้มด้วยสายตา ค่าโมเมนต์การเอียงของลำต้น ค่า Breaking strength และค่าดัชนีการหักล้ม ความสัมพันธ์ ระหว่างลักษณะความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นส่วนล่าง ความยาวของลำต้นส่วนล่าง และน้ำหนักราก ที่เหมาะสมมีผลอย่างมากต่อการส่งผลให้เกิดความต้านทานในการหักล้ม
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  Proceedings of the 30th Rice and Temperate Cereal Crops Annual Conference 2013, Bangkok (Thailand), p. 91-105

ISBN 978-974-403-928-6

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5412

เอกสารการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2556, กรุงเทพฯ, หน้า 91-105
Formato:  326 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional