Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การลดความรุนแรงของโรคไหม้ของข้าวโดยการปลูกแบบหลายสายพันธุ์ในภาคเหนือตอนล่าง
Minimization of rice blast severity by means of multilines in the lower north
Autores:  Acharaporn Na Lampang Noenplab
Data:  2012-02-28
Ano:  2011
Palavras-chave:  Rice blast
Multilines
ฺBlast resistance
ข้าว
โรคไหม้
การปลูกแบบหลายสายพันธุ์
การคัดเลือกพันธุ์
ความต้านทานต่อโรค
อาการไหม้
การลดความรุนแรงของโรค
Resumo:  This study was carried out at Phitsanulok Rice Research Center during 2008-2010 aiming for minimizing rice blast severity by growing 2 rice lines differed in blast resistance to broaden rice genetics. In 2008, resistance screening was performed on 2 sets of blast resistant rice lines derived from KDML105 having different donors of resistance developed by Ubon Ratchathani Rice Research Center. Ten selected blast isolates were inoculated one at a time onto 21 day-old seedlings at 50,000 spores/ml and kept at 25 oC in the controlled room for 7 days before assessment. Since selection criteria were based on resistance to half of the tested isolates and an ideal pair should have similar maturity, therefore, none of the lines have been selected. In 2009, the third set consisted of 15 improved resistant rice lines derived from KDML105 having Jao Hawm Nin and DHL-279 as resistance donors, was tested in the controlled room using the same procedures as in 2008. Three lines designated UBN03005-6-3-26-10-49-10, UBN03004-3-16-20-20-40-14 and UBN03004-3-16-20-11-100-4 were chosen and tested further in the greenhouse for comparison between pair and single line growing having KDML105 and RD15 as susceptible checks. The experimental design was CRD having 7 treatments with 4 replicates. Seeds of pair treatments were mixed and pre-germinated at 1:1 w/w before transplanting at 2 plants/hill. Single line treatments were also used 2 plants/hill. Blast inoculation was performed at tillering and flowering stages. Overall, negligible symptom was observed at tillering while 0-5.6% neck blast severity was recorded at harvest. The best treatment was growing UBN03005-6-3-26-10-49-10 together with UBN03004-3-16-20-11-100-4 since it showed neither leaf nor neck blast compared to 5.6 and 1.7% neck blast severity in KDML105 and RD15, respectively. Repeated experiment was carried out in 2010 and results had shown the same trend as in 2009 when growing UBN03005-6-3-26-10-49-10 together with UBN03004-3-16-20-11-100-4 had the lowest neck blast severity being 6.5% compared to 18.4% and 13.8% recorded in KDML105 and RD15. Results have shown a great potential for minimization of rice blast severity through the mixed growing of 2 sister lines having similar agronomic characters but different resistance to rice blast.

งานวิจัยนี้ดำเนินการในศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ระหว่างปี 2551-2553 เพื่อศึกษาการลดความรุนแรงของโรคไหม้ของข้าว โดยใช้หลักการปลูกข้าว 2 สายพันธุ์ร่วมกันเพื่อขยายฐานความต้านทาน ของพันธุ์ข้าว ในปี 2551 ได้ทดสอบพันธุ์ข้าวจำนวน 2 ชุด ที่พัฒนามาจากข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้วยการผสมกลับโดยมีพันธุ์พ่อที่ให้ความต้านทานต่อโรคไหม้ต่างกัน ทำการทดสอบโดยปลูกเชื้อสาเหตุโรคไหม้ที่มาจากต่างกลุ่มกันในภาคเหนือตอนล่างลงบนต้นข้าวอายุ 21 วัน ครั้งละ 1 ไอโซเลท รวม 10 ไอโซเลท ที่ความเข้มข้น 50,000 สปอร์ต่อมิลลิลิตร เก็บไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิที่ 25º ซ ตรวจผลหลังปลูกเชื้อสาเหตุ 7 วัน เมื่อได้พันธุ์ที่เหมาะสมแล้วนำไปทดสอบต่อในเรือนทดลองโดยการปลูกเชื้อสาเหตุเช่นกัน หลักเกณฑ์การคัดเลือกพันธุ์ข้าว คือ มีความต้านทานมากกว่าครึ่งหนึ่งของเชื้อสาเหตุโรคไหม้ที่ทดสอบ และคู่ที่เหมาะสมในการปลูกร่วมกันควรมีอายุใกล้เคียงกัน พบว่าไม่สามารถเลือกคู่พันธุ์ที่เหมาะสมจากข้าวทั้งสองชุดได้ ในปี 2552 ทำการทดสอบข้าวชุดที่สาม ซึ่งเป็นข้าวที่พัฒนา จากลูกผสมกลับข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยมีข้าวเจ้าหอมนิลและ DHL-279 เป็นพันธุ์พ่อที่ให้ความต้านทานต่อโรคไหม้ จำนวน 15 สายพันธุ์ ใช้วิธีการและขั้นตอนเช่นเดียวกับปี 2551 ผลการทดสอบจากห้องควบคุมอุณหภูมิ คัดเลือกได้ 3 สายพันธุ์ คือ UBN03005-6-3-26-10-49-10 UBN03004-3-16-20-20-40-14 และ UBN03004-3-16-20-11-100-4 เมื่อนำมาทดสอบในเรือนทดลองโดยการปลูกเป็นคู่ ได้ 2 คู่ เปรียบเทียบกับเมื่อปลูกแบบสายพันธุ์เดียว มีข้าวขาวดอกมะลิ 105 และกข15 เป็นพันธุ์มาตรฐาน ไม่ต้านทานโรคเปรียบเทียบ วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 7 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ กรรมวิธีที่ปลูกเป็นคู่ นำเมล็ดมาคลุกกันแล้วเพาะในอัตรา 1:1 โดยน้ำหนัก ปักดำในเรือนทดลอง จำนวน 2 ต้นต่อกอ กรรมวิธีที่ปลูกแบบสายพันธุ์เดียวปักดำ 2 ต้น/กอเช่นกัน ปลูกเชื้อสาเหตุโรคไหม้ในระยะแตกกอและออกรวง การทดลองนี้พบโรคไหม้บนใบเล็กน้อย ส่วนอาการไหม้คอรวงอยู่ระหว่าง 0-5.6% การปลูกข้าวสายพันธุ์ UBN03005-6-3-26-10-49-10 ร่วมกับ UBN03004-3-16-20-11-100-4 ไม่พบอาการของโรคไหม้คอรวง ในขณะที่พบ 5.6% ในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ 1.7% ในกข15 เมื่อทดสอบซ้ำในเรือนทดลองในปี 2553 พบว่าผลเป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยพบอาการไหม้คอรวง 6.1-18.4% และการปลูกสายพันธุ์ UBN03005-6-3 -26-10-49-10 ร่วมกับ UBN03004-3-16-20-11-100-4 พบอาการไหม้คอรวงเพียง 6.5% เมื่อเปรียบเทียบกับ 18.4% ที่พบในข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ 13.8% ในกข15 ผลที่ได้จะเป็นแนวทางเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ได้ sister lines ที่มีความเหมือนหรือใกล้เคียงกันในลักษณะทางการเกษตร แต่มีความแตกต่างเฉพาะความต้านทานต่อโรคไหม้
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of 2nd rice annual conference year 2011: Rice and national farmers' day], Bangkok (Thailand), p. 267-281

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/123456789/3115

การประชุมวิชาการข้าว เนื่องในโอกาสวันข้าวและชาวนาแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ปี 2554, กรุงเทพฯ, หน้า 267-281
Formato:  375 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional