Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การพัฒนาพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู: จากธนาคารเชื้อพันธุ์สู่นาเกษตรกร
Kiaw-ngu glutinous rice: From a genebank to farmers’ fields
Autores:  Payapbhubes Markkool
Data:  2014-06-09
Ano:  2012
Palavras-chave:  Glutinous rice
Genebank
Farmers
Land varieties
Klaw-ngu glutinous rice
ข้าวเหนียว
ธนาคารเชื้อพันธุ์ข้าว
ชาวนา
พ้นธุ์พื้นเมือง
พันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู
Resumo:  ข้าวเหนียวที่ใช้ในการประกอบอาหารประเภทของหวานที่มีคุณภาพดีที่สุด คือข้าวเหนียวเขี้ยวงู ซึ่งในระบบการค้าปัจจุบัน โรงสีใช้ข้าวพันธุ์กข6 มาดัดแปลง โดยเพิ่มจำนวนครั้งของการขัดสีและขัดมัน ทำให้เมล็ดข้าวสารมีขนาดเล็ก เรียวยาว สวยงาม ส่งขายให้กับผู้ประกอบการทั้งหมด ซึ่งกระบวนการดังกล่าว ทำให้ได้ปริมาณข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวลดลง แต่มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จึงส่งผลให้ข้าวสารของข้าวเหนียวเขี้ยวงูมีราคาแพง การใช้แนวทางโดยการพัฒนาพันธุ์ที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม โดยผ่านขั้นตอนของการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ที่มีคุณภาพดีและเป็นที่ยอมรับ จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งซึ่งจะทำให้เกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสี ผู้ประกอบการค้า และผู้บริโภค มีทางเลือกที่เป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้น และตามที่กรมการข้าวได้มีการรวบรวมพันธุกรรมข้าวไว้ทั่วประเทศ ตั้งแต่ในอดีต ข้าวเหนียวเขี้ยวงูซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ส่วนหนึ่งได้ถูกรวบรวมและเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ ภายในบริเวณศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี 2548 ศูนย์วิจัยข้าวเชียงรายจึงได้ขอตัวอย่างเชื้อพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงูดังกล่าวทั้งหมดมาปลูกคัดเลือก ศึกษา และพัฒนาจนถึงปี 2554 รวมระยะเวลา 6 ปี จนได้สายพันธุ์ GS.No. 8974 ที่มีลักษณะดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร โดยข้าวเหนียวเขี้ยวงูสายพันธุ์นี้ ให้ผลผลิตเฉลี่ยในศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย 468 กิโลกรัมต่อไร่ในนาเกษตรกรจังหวัดเชียงรายเฉลี่ย 470 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์กข6 ผลผลิตเฉลี่ยต่ำกว่าประมาณร้อยละ 25-30 ปี 2553 มีเกษตรกรนำไปปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่พบว่าได้ผลผลิตเฉลี่ย 526 กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำกว่าพันธุ์กข6 ร้อยละ 13 แต่มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่ำกว่าไร่ละ 535 บาท เมื่อนำไปแปรรูปเป็นของหวาน คือ ข้าวเหนียวมูน ให้ผู้บริโภคในจังหวัดเชียงรายประเมินความชอบพบว่าผู้บริโภคชอบมากกว่าพันธุ์ก6ร้อยละ 15.7 นอกจากนี้ ลักษณะเด่นของข้าวเหนียวเขี้ยวงูสายพันธุ์นี้ยังพบว่ามีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในรูปของวิตามินอีทั้ง 3 isomers สูงกว่าพันธุ์ กข6 โดยเฉพาะแอลฟา โทโคฟีรอล ซึ่งเป็นวิตามินอีที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในร่างกายสูงกว่าพันธุ์ กข6 ร้อยละ 39.2 และมีใยอาหารสูงกว่า ร้อยละ 10.6 เป็นต้น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู สายพันธุ์ GS.No. 8974 มีลักษณะประจำพันธุ์ คือ เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง ออกดอกประมาณวันที่ 30 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน กอตั้ง ต้นแข็ง คอรวงยาว ระแง้ห่าง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางก้นจุด ขนาดเมล็ดเล็ก เรียวยาว ข้าวกล้องสีขาว สัดส่วนระหว่างความยาวต่อความกว้าง 3.90 มีความต้านทานต่อโรคไหม้ และค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง ต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาวในเขตภาคเหนือตอนบน เมื่อนึ่งสุกแล้ว มีสีขาว นุ่ม เหนียวติดกัน แต่ไม่เละ มีความเลื่อมมันค่อนข้างมากและมีกลิ่นหอม
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5584

[Proceeding of rice research symposium 2012: Rice research center groups in upper and lower northern region], Phitsanulok (Thailand), p. 257-277

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2555, พิษณุโลก, หน้า 257-277
Formato:  298 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional