Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ผลการเสริมกัวร์มิลล์เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของเป็ดเนื้อ
Effect of guar meal supplementation as a protein source in diets on growth performance and carcass quality of ducks
Autores:  Tanapat Suranakul
Nualchan Petnui
Rachan Buaban
Data:  2012-08-16
Ano:  2011
Palavras-chave:  Duck
Guar meal (GM)
Performance
Carcass quality
เป็ดเนื้อบาบารี่
ถั่วกัวร์มิลล์
กากถั่วเหลือง
สมรรถนะการผลิต
คุณภาพซาก
การเจริญเติบโต
อาหารทดแทนโปรตีน
Resumo:  Objectives of this experiments were to determine the effect of guar meal (GM 35 CP%) supplementation as a protein source to replace with soybean meal (SBM) in duck diets on performance and carcass quality. One hundred and sixty, 1 day old Barbary ducks were randomly allotted to 5 treatments with 4 replications (8 birds per replication) according to a Completely Randomized Design (CRD). The experiment was divided into 3 periods as follows: nursery period (1-28 days of age), growing period (29-56 days of age) and finishing period (56-84 days of age), respectively. Dietary treatments were formulated using GM at 0, 5, 10, 15 and 20%. Diets and water were provided ad libitum throughout 84 days. The results showed that feeding ducks with diet containing GM more than at 10% caused in decreased weight gain, average daily gain (ADG), average daily feed intake (ADFI), feed conversion ratio (FCR) and protein efficient ratio (PER) (P<0.01) compared to control diets. At the end of feeding trials (84 days), 64 ducks (2 Males and 2 Females per replication) were randomly selected and slaughtered to determine for carcass quality and characteristics. The results revealed that warm carcass percentage, breast meat, wing, thigh, heart, liver, gizzard, spleen, abdominal fat and carcass grade (P>0.05) were no significant differences among dietary treatments. Key words : guar meal (GM), duck, performance and carcass quality

การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเสริมถั่วกัวร์มิลล์ (โปรตีน 35%) เป็นแหล่งโปรตีนเสริมทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารเป็ดเนื้อต่อสมรรถนะการผลิตและคุณภาพซาก วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยใช้เป็ดเนื้อพันธุ์บาบารี่อายุ 1 วัน จำนวน 160 ตัว จัดอาหารทดลองเป็นปัจจัยการทดลอง 5 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ซ้ำๆ ละ 8 ตัวต่อหน่วยการทดลอง การทดลองมี 3 ระยะ คือ ระยะเป็ดเล็ก อายุ 1-28 วัน ระยะเป็ดรุ่น อายุ 29-56 วัน และระยะเป็ดขุน อายุ 57-84 วัน อาหารทดลองเสริมกัวร์มิลล์ในสูตรอาหาร 0, 5, 10, 15 และ 20% ตามลำดับ ให้อาหารและน้ำตลอดการทดลอง 84 วัน ผลการทดลองพบว่า เป็ดเนื้อบาบารี่ที่ได้รับการเสริมกัวร์มิลล์มากกว่า 10% ในอาหารทำให้สมรรถนะการผลิต คือ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น, อัตราการเจริญเติบโต, ปริมาณอาหารที่กิน, อัตราการเปลี่ยนอาหาร และสัดส่วนประสิทธิภาพการใช้โปรตีนลดลง (P<0.01) ลดลงตามระดับกัวร์มิลล์ที่เพิ่มขึ้นในอาหาร (P<0.01) ทำให้ต้นทุนต่อการเพิ่มน้ำหนัก 1 กิโลกรัมเพิ่มสูงขึ้น (P<0.01) เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการสุ่มคัดเลือกเป็ดที่อายุ 84 วัน จำนวน 64 ตัว (เพศผู้ 2 ตัว และเพศเมีย 2 ตัว) เพื่อตรวจสอบคุณภาพซากและลักษณะซาก พบว่า เปอร์เซ็นต์ซาก เปอร์เซ็นต์ของเนื้ออก ปีก น่องกับสะโพก หัวใจ ตับ กึ๋น ไขมันช่องท้อง และคะแนนเกรดซากไม่แตกต่างกัน (P>0.05) คำสำคัญ : กัวร์มิลล์, เป็ดเนื้อ, สมรรถนะการผลิตและคุณภาพซาก
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5110

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2011, V. 39, Suppl. 1, p. 1-5

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2554, ปีที่ 39, ฉบับพิเศษ 1, หน้า 1-5
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional