Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การยืดอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์หลักในสภาพควบคุมอากาศและความชื้น
Extending storability of foundation seed in hermatic condition (Cocoon)
Autores:  Sudjai Matiyapukde
Nawaratana Wangkum
Data:  2014-09-30
Ano:  2013
Palavras-chave:  Foundation seed
Seed storage
Hermatic condition
Cocoon
ข้าว
พันธุ์พิษณุโลก 2
เมล็ดพันธุ์หลัก
การเก็บรักษา
เปอร์เซ็นต์ความงอก
การเสื่อมคุณภาพ
สภาพควบคุมอากาศ
สภาพความชื้น
Resumo:  เมล็ดพันธุ์หลักที่ผลิตโดยศูนย์วิจัยข้าวของกรมการข้าวในแต่ละฤดูกาลผลิต บางครั้งประสบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ภายหลังการเก็บรักษา เช่น การเสื่อมความงอก เป็นต้น การยืดอายุการเก็บรักษาเพื่อให้เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวยังคงมีคุณภาพที่ดี จึงมีความจำเป็นต้องศึกษา ประโยชน์ของงานวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ภายในศูนย์วิจัยแล้ว นอกจากนั้น ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการสำรองเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น การเกิดภัยพิบัติต่างๆ และสามารถนำไปปรับใช้ให้กับกลุ่มเกษตรกรได้ในอนาคต โดยทำการศึกษาที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ตั้งแต่เดือน มีนาคม 2555 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2556 วางแผนการทดลองแบบ Split plot design ใน 2 กรรมวิธี จำนวน 4 ซ้ำ ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 การเก็บรักษาในสภาพควบคุมอากาศและความชื้นในระดับการค้า (Cocoon) และ กรรมวิธีที่ 2 การเก็บรักษาในสภาพปกติที่ไม่มีการควบคุมอากาศและความชื้น (Control) ใช้ข้าวพันธุ์หลักพันธุ์พิษณุโลก 2 วิธีการคือ หลังจากทำความสะอาดและลดความชื้นในเมล็ดจนต่ำกว่า 12 เปอร์เซ็นต์แล้ว ใส่กระสอบป่าน กรรมวิธีละ 3,600 กิโลกรัม บรรจุในกรรมวิธีข้างต้น เก็บรักษาระยะเวลา 12 เดือน ทุกๆ เดือน สุ่มตัวอย่าง บันทึกการเปลี่ยนแปลงของปริมาณก๊าซออกซิเจน ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ การทำลายของแมลง และความงอก พบว่า ปริมาณเปอร์เซ็นต์ออกซิเจน ซึ่งวัดเฉพาะในกรรมวิธีที่ 1 ใน 5 เดือนแรกมีค่าเปลี่ยนแปลงคือลดลงอย่างเห็นได้ชัด เดือนที่ 6-9 มีค่าต่ำ ไม่เปลี่ยนแปลงและค่อนข้างคงที่ แต่หลังจากนั้น Cocoon มีการรั่ว ปริมาณออกซิเจนจึงไม่สามารถสรุปได้ สำหรับเปอร์เซ็นต์ความชื้น ทั้ง 2 กรรมวิธีมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกัน คือใน 2-3 เดือนแรกลดลงค่อนข้างชัดเจน หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยมีแนวโน้มลดลง แต่ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา เปอร์เซ็นต์ความชื้นเฉลี่ยของกรรมวิธีที่ 2 สูงกว่ากรรมวิธีที่ 1 เล็กน้อย ไม่พบการทำลายของแมลงในกรรมวิธีที่ 1 แต่ในกรรมวิธีที่ 2 พบตั้งแต่ระยะแรกของการเก็บรักษาโดยมีการทำลายเล็กน้อยใน 4 เดือนแรก หลังจากนั้นจะเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา ซึ่งสูงสุดในเดือนที่ 9 เมื่อนำเมล็ดไปทดสอบความงอก พบว่ากรรมวิธีที่ 1 ทั้ง 12 เดือนเปอร์เซ็นต์ความงอกยังคงสูงกว่าร้อยละ 80 คืออยู่ระหว่าง 83-97 แต่ในกรรมวิธีที่ 2 การเก็บรักษาใน 8 เดือนแรก ความงอกอยู่ระหว่าง 82-98 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังจากนั้นเปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงจนต่ำกว่ามาตรฐาน
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research symposium 2013: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chiang Mai (Thailand), p. 227-241

ISBN 978-974-403-940-8

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5603

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2556, เชียงใหม่, หน้า 227-241
Formato:  312 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional