Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การศึกษาความหลากหลายของพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตในดินบนพื้นที่ดินเค็มที่มีการปลูกไม้ยืนต้นหลากชนิด: รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
Diversity of floras and soil fauna on the improved salt affected soil in lowland area by trees plantation: [Final research report]
Autores:  Sam-ang Homchurn
Bubpha Topark-ngarm
Chuleemas Boonthai Iwai
Data:  2013-07-25
Ano:  2011
Palavras-chave:  Diversity of floras
Diversity of soil fauna
Salt affected soil
Lowland area
Trees plantation
พืชพรรณ
สิ่งมีชีวิตในดิน
การปลูกไม้ยืนต้น
พื้นที่ดินเค็ม
ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา
สังคมพืช
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
Resumo:  Study on vegetations and soil organisms on salt-affected area planted with multi-species trees was conducted in Ek-Kasatsoonthorn reservoir area at Bann Somsanook, Borabue District, Mahasarakam Province from October 2009 to September 2010. Before tree planting, the land used this area as a grazing area. In this study, the area was divided into four zones (sub area) by the differences in community vegetation growths which were depended on flooding level and salinity. It was found that on the strong salinity area some halophytic plants were presented while other plant species were found in low density. Also, there were many bared spot with no plant scattering located in the area. But after trees were planted, the number of plant species was increased from 49 to 69 species and the bird species was increased from 24 to 72 species as well as the number of soil fauna species was increased from 15 to 39 species. Biodiversity of soil invertebrates were increasing in every study zones. Soil respiration after tree plantation was higher than before tree plantation. Soil biodiversity, microbial activity and decomposition rate were higher as well after tree plantation. After 4 years of various tree species plantation, it was found that the amount of soil organic matter, total soil nitrogen and soil CEC were increased in all zones which indicated that the fertility of soil was increased. Meanwhile soil EC and exchangeable Na were decreased. It was all so found the decreasing of underground water table. The groundwater table was lower in the dry season than in the raining season and in the high sloping area than in the low sloping area.

การศึกษาพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตในดินบนพื้นที่ดินเค็มที่มีการปลูกไม้ยืนต้นหลากชนิดได้ทำการศึกษาบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำเอกกษัตริย์สุนทร หมู่บ้านสมสนุก ตำบลบรบือ จังหวัดมหาสารคามตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 ถึงกันยายน 2553พบว่า ก่อนปลูกไม้ยืนต้นชุมชนใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ถูกแบ่งออกได้เป็น 4 ขอบเขตการศึกษาโดยดูจากการปกคลุมของสังคมพืช ซึ่งการกระจายของสังคมพืชขึ้นอยู่กับปัจจัยกายภาพคือระดับการท่วมของน้ำและความเค็ม จากการศึกษาพบว่า ในด้านพืชพรรณโซนที่มีความเค็มมากจะพบพืชชอบเค็ม(Halophytes)ขึ้น ความหนาแน่นของพืชทั่วๆไปน้อยและพบพื้นที่ว่างเปล่าที่ไม่มีพืชขึ้นเป็นบริเวณกว้างกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ หลังการปลูกไม้ยืนต้นพบว่า พืชพรรณมีจำนวนชนิดเพิ่มขึ้นจากเดิม 49 ชนิด เป็น 69 ชนิด และปริมาณการปกคลุมหรือความหนาแน่นจะเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมมากจนเกือบไม่มีพื้นที่ว่างเปล่า สำหรับความหลากชนิดของนกพบทั้งสิ้นจากเดิม 24 ชนิดเพิ่มเป็น 72 ชนิด ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในดินมีเพิ่มมากขึ้นในทุกโซน เช่นเดียวกับกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินในรูปของการหายใจของจุลินทรีย์ดินที่เพิ่มขึ้นหลังการปลูกไม้ยืนต้นหลากชนิด ความหลากหลายของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในดิน จาก 15 ชนิดเป็น 39 ชนิด และสิ่งมีชีวิตในดินที่พบมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศดินและคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินโดยเฉพาะความเค็มของดินมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในดิน สำหรับคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน พบว่า หลังจากมีการปลูกไม้ยืนต้น 4 ปี ค่าปริมาณอินทรียวัตถุ,ค่าปริมาณไนโตรเจนในดิน,ค่าความสามารถความดูดซับประจุบวกมีค่าสูงขึ้นแสดงว่าความอุดมสมบูรณ์ในดินเพิ่มขึ้น โดยมีค่าอินทรียวัตถุเฉลี่ย 1.0 % (ก่อนปลูกไม้ยืนต้นมีค่า 0.42 %) ค่าความสามารถในการดูดซับประจุบวกมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเท่ากับ 6.4 c mol(+)/kg(ก่อนปลูกไม้ยืนต้นมีค่า 2.63 c mol(+)/kg) ค่าการนำกระแสไฟฟ้าลดลงโดยมีค่าเฉลี่ย 0.03 dS/m (ก่อนปลูกไม้ยืนต้นมีค่า 6.23 dS/m)แต่ปริมาณธาตุอาหารหลัก (N,P,K) จัดอยู่ในระดับต่ำยกเว้นปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น(จาก 0.01% เป็น 0.14%)ระดับน้ำใต้ดินเพิ่มและลดลงตามฤดูกาล โดยในฤดูแล้งระดับน้ำใต้ดินจะลึกกว่าในฤดูฝนและเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความลาดชัน โดยพบว่าระดับน้ำใต้ดินจะลึกเพิ่มขึ้นในบริเวณพื้นที่ความลาดชันสูง สรุปดินมีค่าการนำไฟฟ้าและค่าปริมาณโซเดียมที่แลกเปลี่ยนได้ลดลงและพบระดับน้ำใต้ดินลดลง
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5360
Formato:  52 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional