Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  106
País:  Thailand
Título:  ความสัมพันธ์ระหว่างระยะการเจริญเติบโตของข้าวกับการเปลี่ยนแปลงประชากร หอยเชอรี่ในนาข้าวจังหวัดเชียงราย
Population dynamic of golden apple snails related in rice planting phase at Chiang Rai Provinces
Autores:  Urassaya Boonpramuk
Kornsiri Srinil
Yuttana Wongsrida
Wantana Sriratanasak
Data:  2016-02-26
Ano:  2015
Palavras-chave:  Golden apple snail
Population dynamics
Irrigated rice
Rainfed rice
Chiang Rai province
หอยเชอรี่
การเปลี่ยนแปลงประชากร
ข้าวนาชลประทาน
ข้าวนาน้ำฝน
จังหวัดเชียงราย
Resumo:  Population dynamic of golden apple snails related in rice planting phase at Chiang Rai provinces was conducted at irrigated rice field and rainfed rice field in Pan District from January 2012 – November 2014. The objective of this research is to determine the dynamics of golden apple snail population, which snails (applied removal sampling method) were randomly sampled consecutively by Quadrat sampling (1x1 m) at two-week interval. The results showed that the highest snails - density at irrigated rice field was in after harvesting phase but at rainfed rice field the highest density was in booting stage. Snail density showed slightly correlated with water level in rainfed rice field (rs = 0.517, P = 0.011, n = 23) but there was no correlation observed at irrigated rice field. The snail population depended on rice cultivation phases, field flooding and water regime in the paddy field, farmer practices, domestic ducks predation and molluscicide application. The domestic ducks appears to be a good biological control agent for golden apple snail because of ducks decreased the snail’s population 52.69 – 81.48%.

ความสัมพันธ์ระหว่างระยะการเจริญเติบโตของข้าวกับการเปลี่ยนแปลงประชากรหอยเชอรี่ (Pomacea sp.) ดำเนินการในพื้นที่นาชลประทาน และนาน้ำฝน อำเภอพาน ช่วงเดือน มกราคม 2555- พฤศจิกายน 2557 เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงประชากรหอยเชอรี่ตลอดระยะการเจริญเติบโตของข้าวในนาชลประทานและนาน้ำฝน สุ่มนับประชากรหอยเชอรี่ โดยใช้วิธีสุ่มจับสัตว์บางส่วนออก และสุ่มนับจำนวนหอยเชอรี่ และกลุ่มไข่ ในกรอบพีวีซี ขนาด 1x1 เมตร จำนวน 20 จุด สุ่มนับทุกๆ 2 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ในนาข้าวชลประทาน ฤดูปลูกที่ 1-3 พบประชากรหอยเชอรี่สูงสุด ช่วงระยะหลังการเก็บเกี่ยว ฤดูปลูกที่ 4 และ 5 พบประชากรหอยเชอรี่สูงสุดช่วงก่อนปักดำข้าว และระยะกล้า ตามลำดับ ในนาน้ำฝน ทั้ง 3 ฤดูปลูก พบประชากรหอยเชอรี่สูงสุด ช่วงระยะข้าวตั้งท้อง โดยเป็นประชากรหอยที่จำศีลอยู่ในนาจากฤดูปลูกก่อนหน้า และจากแหล่งกักเก็บน้ำบริเวณใกล้แปลงนา ระดับน้ำในแปลงนาน้ำฝนมีความสัมพันธ์ ในระดับปานกลางกับความหนาแน่นของหอยเชอรี่ แต่ในพื้นที่นาชลประทานพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงประชากรหอยเชอรี่ ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของข้าว การผันน้ำเข้านา การปล่อยเป็ดไล่ทุ่ง การใช้สารเคมีกำจัดหอย ของเกษตรกร และการปฏิบัติของเกษตรกรในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวและช่วงเตรียมแปลง สำหรับการปล่อยเป็ดไล่ทุ่งลงในแปลงนาในช่วงหลังการเก็บเกี่ยว หรือช่วงเตรียมแปลงนา มีบทบาท สำคัญในการลด ประชากรหอยเชอรี่ก่อนปลูกข้าวฤดูถัดไป โดยทำให้ปริมาณประชากรหอยเชอรี่ลดลงจากช่วงก่อนหน้า ร้อยละ 52.69 – 81.48
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of The 8th rice research conference 2015: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chiang Rai (Thailand), p. 220-230

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5890

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2558, เชียงราย หน้า 220-230
Formato:  298 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional