Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การจัดการปุ๋ยสำหรับการปลูกล่าช้าภายใต้สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงในนาน้ำฝน
Development of production and fertilizer management for late transplanting under climate changing
Autores:  Patcharaporn Rakchum
Sumret Suntara
Angkana Kantajan
Kunlaya Boonsanga
Data:  2014-12-04
Ano:  2014
Palavras-chave:  Rice production
Delayed transplanting
Climate Changes
Rice varieties
Cultivations
Water managements
Photoperiod sensitive
Rainfed rice
Late transplanting
Fertilizer management
การจัดการผลิตข้าว
การปักดำล่าช้า
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
พันธุ์ข้าว
การเขตกรรม
การจัดการน้ำ
ข้าวไวต่อช่วงแสง
ข้าวนาน้ำฝน
การจัดการปุ๋ย
Resumo:  High variation occurs due to climate changes includes low rainfall and uncertain distribution pattern. This affects rice production system. Farmers currently adjust their production system in order to minimize risks of crop losses. This study aims to develop the most suitable cultural practices and chemical fertilizer application for delayed transplanting crop. The adjusted production system to deal with the climate change includes a choice of varieties, cultural practices, water management, and nutrient management. The results from the farmers' interview at the beginning of the project indicated that most farmers faced the problem related to insufficient amount of water for the whole cropping season, late rainfall, dry spell or even drought problem. The experiment was designed based on this information and was carried out in Sakon Nakorn Rice Research Centre in 2012. The cultivar RD6 was seeded on June 15, 2012 and transplanted in July. Application of chemical fertilizer of 4.5-6-6 (N-P2O5-K2O, kg. per rai) at 20 days after transplanting as a basal fertilizer and 4.5-0-0 (N-P2O5-K2O, kg. per rai) at panicle initiation stage as a top dressing fertilizer gave the highest yield of 598 kg./rai, which is significantly different from other treatments. The effect of delayed transplanting was tested in 2013 by comparing 3 treatments; late transplanting (seeding in July and transplanting in August), late broadcasting (Sowing in August) and farmer's practice (Transplanting in July). The results indicated that farmers' practice gave higher yield than late transplanting since late transplanting had been damaged by blast disease. Broadcasting gave the lowest production cost, as well as gave the lowest yields. The findings from this study can offer an option for farmers to adapt their production technique in order to cope with the climate change.

ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตข้าว จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดกับผลผลิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการผลิตและปุ๋ยเคมีในข้าวนาน้ำฝนที่ปักดำล่าช้า เพื่อปรับเปลี่ยนระบบการผลิตด้านเทคโนโลยีการผลิต การใช้พันธุ์ข้าว การเขตกรรม การจัดการน้ำ และการใช้ปุ๋ย ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้น ผลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรในปีแรก ส่วนใหญ่มีปัญหาการขาดน้ำ ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอตลอดฤดูกาลปลูกข้าว ฝนตกล่าช้ากว่าปกติ จากเหตุผลดังกล่าว จึงนำมาใช้วางแผนการทดลองในปี พ.ศ.2555 พบว่า การปลูกข้าวพันธุ์ กข6 ตกกล้าวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2555 ใส่ปุ๋ยรองพื้น อัตรา 4.5-6-6 (N-P2O5-K2O กิโลกรัมต่อไร่) หลังปักดำ 20 วัน ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า อัตรา 4.5-0-0 (N-P2O5-K2O กิโลกรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอก ให้ผลผลิตข้าวสูงสุด 598 กิโลกรัมต่อไร่ แตกต่างจากกรรมวิธีอื่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ การทดลองในปี พ.ศ.2556 ได้ทำการทดสอบการปลูกข้าวแบบปักดำล่าช้า หว่านล่าช้า เปรียบเทียบกับการปักดำตามวิธีของเกษตรกร (เดือนกรกฎาคม) โดยตกกล้า วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556 และหว่านวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2556 ใส่ปุ๋ยรองพื้นอัตรา 4.5-6-6 (N-P2O5-K2O กิโลกรัมต่อไร่) หลังปักดำ และหลังงอก 20 วัน และใส่ปุ๋ยแต่งหน้าอัตรา 4.5-0-0 (N-P2O5-K2O กิโลกรัมต่อไร่) ที่ระยะกำเนิดช่อดอก พบว่าการปักดำเดือนกรกฎาคมให้ผลผลิตมากกว่าปักดำเดือนสิงหาคม เนื่องจากการปักดำล่าช้าจะได้รับผลกระทบจากโรคไหม้ ทำให้ผลผลิตลดลง ส่วนวิธีหว่าน ต้นทุนต่ำสุด แต่ให้ผลผลิตน้อยที่สุด จากการศึกษา การปักดำล่าช้าไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดในการปรับตัวของเกษตรกรหากเกิดสภาวะการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice and temperate cereal crops conference 2014: Rice research center groups in north-eastern region], Surin (Thailand), p. 213-227

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5634

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2557: กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สุรินทร์, หน้า 213-227
Formato:  299 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional