Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  พลวัตอนินทรีย์ไนโตรเจนระหว่างการปลูกข้าวไร่-พืชตระกูลถั่วและความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนปลูกอ้อย
The dynamics of soil inorganic nitrogen during upland rice-legumes planting and soil fertility before succeeding sugarcane planting
Autores:  Wanwipa Kaewpradit
Namfon Thawaro
Poramate Banterng
Data:  2015-06-11
Ano:  2013
Palavras-chave:  Soybean
Sun hemp
Upland rice
Legumes
Preceding crop
Crop residue incorporation
Soil inorganic nitrogen
Soil chemical properties
Soil fertility
Sugarcane planting
ถั่วเหลือง
ปอเทือง
ข้าวไร่
การไถกลบเศษซากพืช
ปริมาณอนินทรีย์ไนโตรเจน
คุณสมบัติทางเคมีและกายภาคของดิน
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
พื้นที่ปลูก
การปลูกอ้อย
Resumo:  The objective of this experiment was to study the effect of preceding legume-upland rice planting on soil fertility before succeeding sugarcane planting. The experimental design was Randomized Complete Block Design (RCBD) with four replications. The treatments were: (1) Control (2) Upland rice (rice planting without chemical fertilizer) (3) Upland rice + F (rice planting with chemical fertilizer) (4) Soybean (5) Sun hemp. Soil data were collected at 0-15 cm soil depth for chemical analysis before experiment. At 1, 2, 4, 8 and 16 weeks after planting, soil were sampled for soil mineral N analysis by Flow Injection Analyzer (FIA). Soil samples were collected at the preceding crop harvest were analyzed for chemical properties which showed that soil mineral N of all treatments were higher than that of soil collected before the experiment. In particular, upland rice + F and Soybean treatments have the highest mineral N at 2 weeks after planting and second fertilizer application. Moreover, the upland rice + F and Soybean treatments had the highest organic matter content but not significantly different from control treatment and upland rice + F treatment. In addition, the upland rice + F treatment had the highest available P content but not significantly different from the soybean treatment. Finally, the difference of preceding crop in planting should be investigated more on the effect of crop residue incorporation on growth and yield for succeeding sugarcane.

วัตถุประสงค์ของการทดลองเพื่อศึกษาอิทธิพลการปลูกพืชตระกูลถั่วและข้าวไร่ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนการปลูกอ้อยตาม วางแผนงานทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design; RCBD) 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธีทดลอง (1) control (กรรมวิธีควบคุม) (2) upland rice (กรรมวิธีข้าวไร่) ปลูกข้าวไร่โดยไม่ให้ปุ๋ยเคมี (3) upland rice + F (กรรมวิธีข้าวไร่+ปุ๋ยเคมี) ปลูกข้าวไร่โดยให้ปุ๋ยเคมี (4) soybean (กรรมวิธีถั่วเหลือง) (5) sun hemp (กรรมวิธีปอเทือง) ทำการเก็บตัวอย่างดินก่อนการปลูกพืชนำที่ระดับความลึก 0-15 ซม. เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดิน เก็บข้อมูลดินระหว่างปลูกพืชนำ ที่อายุ 1, 2, 4, 8, 12 และ 16 สัปดาห์ เพื่อวิเคราะห์อนินทรีย์ไนโตรเจน (mineral N) โดยใช้เครื่อง Flow Injection Analyzer (FIA) และเก็บข้อมูลดินที่ระยะเก็บเกี่ยวพืชนำ เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดิน พบว่าทุกๆ กรรมวิธีมีค่าอนินทรีย์ไนโตรเจนในดินสูงกว่าดินก่อนการทดลอง โดยเฉพาะในกรรมวิธีข้าวไร่+ปุ๋ย และกรรมวิธีถั่วเหลืองซึ่งมีค่าอนินทรีย์ไนโตรเจนในดินสูงสุดที่ 2 สัปดาห์หลังปลูกพืชนำ และภายหลังการใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งที่สอง ข้อมูลดินหลังเก็บเกี่ยวพืชนำพบว่า การปลูกข้าวไร่ซึ่งได้รับปุ๋ยเคมีส่งผลให้ดินมีอินทรียวัตถุและฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์หลังเก็บเกี่ยวพืชนำไม่แตกต่างจากการปลูกถั่วเหลือง อย่างไรก็ตามแนวทางการปลูกพืชนำที่แตกต่างกัน ควรศึกษาถึงอิทธิพลของการไถกลบเศษซากของพืชนำที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยที่ปลูกตามด้วย
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5812

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2013, V. 41, Suppl. 1, p. 232-236

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2556, ปีที่ 41, ฉบับพิเศษ 1, หน้า 232-236
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional