Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ค่ากลูโคสที่ถูกย่อยเร็วและค่ากลูโคสที่ถูกย่อยช้าในข้าว และความสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางเคมีของแป้ง
Rapidly available glucose and slowly available glucose in rice and correlation with chemical property of starch
Autores:  Angsutorn Wasusun
Sunanta Wongpiyachon
Kunya Cheaupun
Watcharee Sukviwat
Pranee Maneenin
Suphannika Pakkethati
Data:  2016-02-26
Ano:  2015
Palavras-chave:  Carbohydrates
Rapidly available glucose
Slowly available glucose
Pre-germinated brown rice
Brown rice
Milled rice คาร์โบไฮเดรต ค่ากลูโคสที่ถูกย่อยเร็ว ค่ากลูโคสที่ถูกย่อยช้า ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ข้าวสาร
Resumo:  Rapidly available glucose (RAG) and slowly available glucose (SAG) have been used for classify quality of dietary carbohydrates which effect glucose absorption in astrointestinal tract.RAG and SAG has also normally used for primary study of the glycemic index (GI) which is study by measuring human blood glucose level. RAG indicates the glucose released from the food after 20 min from digestion process which likely to be absorbed in the Duodenum and influence blood glucose and insulin levels. Meanwhile, SAG indicates the glucose released after a further 100 min which likely to be absorbed in the Jejunum and Lleum. In this study, the suitable methodologies of RAG and SAG were studied and Identification of RAG, SAG in 43 varieties of milled rice, brown rice and pre-germinated brown rice were carried out. The effect of cultivated areas was also investigated. Each rice varieties were classified to high-, intermediated-, low-amylose content rice and glutinous rice. This study found that RAG of low-amylose content rice varieties and glutinous rice varieties are higher than high- and intermediated-amylose content rice varieties. On the other hand, the result of SAG showed that low-amylose content rice was very similar to intermediated-amylose content rice. Comparison of average RAG and SAG in milled rice, brown rice and pre-germinated brown rice indicted that milled rice has highest RAG which higher than brown rice and pre - germinated brown rice 12.01 % and 12.55 % respectively. In addition, this study also found inverse variation between RAG and amylose content but not found the correlation between SAG and amylose content.

ค่ากลูโคสที่ถูกย่อยเร็ว (RAG) และค่ากลูโคสที่ถูกย่อยช้า (SAG) เป็นค่าบ่งชี้คุณภาพของ คาร์โบไฮเดรตที่มีผลต่อการดูดซึมน้ำตาลที่ได้จากกระบวนการย่อยในร่างกาย ที่สามารถวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ค่าดังกล่าวนิยมใช้ศึกษาคุณภาพคาร์โบไฮเดรตเบื้องต้นก่อนการศึกษาค่าดัชนีน้ำตาล ( GI) ที่ต้องศึกษาในมนุษย์ โดยค่า RAG แสดงปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่แตกตัวจากการย่อยโดยเอนไซม์ ในช่วงเวลา20 นาทีแรก ซึ่งน้ำตาลกลูโคสส่วนนี้จะถูกดูดซึมในล าไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและปริมาณอินซูลินมากที่สุด ส่วนค่า SAG แสดงปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่แตกตัวจากการย่อยโดยเอนไซม์ ในช่วงเวลาต่อเนื่องอีก 100 นาที ซึ่งน้ำตาลกลูโคสส่วนนี้จะถูกดูดซึมในล าไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) และส่วนปลาย (Lleum) การศึกษาครั้งนี้ ได้ศึกษาวิธีที่เหมาะสมในการหาค่า RAG และ SAG ในข้าว และใช้ ตัวอย่างข้าวในรูปข้าวสาร ข้าวกล้อง และข้าวกล้องงอก จำนวน 43 พันธุ์ แบ่งตามกลุ่มอะมิโลสสูง อะมิโลสปานกลาง และอะมิโลสต่ำ พร้อมทั้งศึกษาผลของแหล่งปลูกต่อค่า RAG และ SAG ด้วย จากการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบ ในกลุ่มอะมิโลส ข้าวที่มีปริมาณอะมิโลสต่ำ ข้าวเหนียว จะมีค่า RAG สูงกว่า ข้าวอะมิโลสปานกลางและสูง ส่วนค่า SAG พบว่า ข้าวอะมิโลสปานกลางและมีอะมิโลสต่ำ มีค่าใกล้เคียงกัน การเปรียบเทียบระหว่าง ข้าวสาร ข้าวกล้อง และข้าวกล้องงอก พบว่าค่า RAG ในข้าวสารมีค่ามากที่สุด ข้าวกล้องและข้าวกล้องงอกมี ค่า RAG น้อยกว่าข้าวสารร้อยละ 12.01 และ 12.55 ตามล าดับ และu3592 จากการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า ปริมาณ อะมิโลสแปรผกผันกับค่า RAG แต่ไม่มีแนวโน้มความสัมพันธ์ค่า SAG
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2014: Rice research center groups in central, western and eastern region], Suphan Buri (Thailand), p. 195-204

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5876

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าว กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลางและตะวันตก และกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออก ประจำปี 2557, สุพรรณบุรี หน้า 195-204
Formato:  234 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional