Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกรเชิงบูรณาการ จังหวัดปทุมธานี
Development of farmer’s participatory modeling for rice seed production in Pathum Thani province
Autores:  Surapol Chatuporn
Pranom Mongkolbunjong
Aunchalee Prasertsak
Kannika Phrompanjai
Chawalit Handee
Patchara Tongarunyig
Anuruk Taparuk
Bunjerd Srisaad
Data:  2014-03-04
Ano:  2013
Palavras-chave:  Seed
Seed production
RD31
Seed quality
ข้าว
การผลิตเมล็ดพันธุ์
พันธุ์ กข31
คุณภาพเมล็ดพันธุ์
เกษตรกร
การรับรองคุณภาพ
มาตรฐานเมล็ดพันธุ์
Resumo:  Severe shortage of high quality seed was a serious issue which had to be solved presently. Study on development of Farmer’s participatory modeling for rice seed production in Pathum Thani province was conducted during October 2012 – March 2013 using RD31 rice variety. The study aimed at developing rice seed production model for distributing high quality seed to local farmers and seed traders. The local rice production data had been collected. The activities of farmer’s participatory in seed production developing model, network on seed production system, seed processing, high quality seed distribution had been created. Rice seed production technologies were recommended and seed yields were certified. The results showed that seeds produced by farmer’s participating in this study met certified seed standard. Production cost of seed yield was 8 Baht/kg while the farmers sold their products at 21 Baht/kg. Therefore, they received the benefit of 13 Baht/kg. In conclusion, Farmer’s participatory modeling for managing rice seed system led farmers to achieve high quality seed and suitable for commercial seeds.

การขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี เป็นปัญหาสำคัญที่ภาครัฐต้องรีบเร่งแก้ไข การวิจัยพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกรเชิงบูรณาการ จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี กระจายสู่เกษตรกรในพื้นที่และผู้ประกอบการค้าเมล็ดพันธุ์ ดำเนินการวิจัยร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ที่ตำบลระแหง จังหวัดปทุมธานี กิจกรรมประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลการผลิตข้าวก่อนการทดลอง คัดเลือกกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ประชุมกลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม สร้างเครือข่ายกระบวนการผลิต การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ และการกระจายเมล็ดพันธุ์ดีในระดับเกษตรกร เกษตรกรเริ่มต้นจำนวน 4 ราย ทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นคือ ใช้เมล็ดพันธุ์ตั้งต้นจากกรมการข้าว ปลูกโดยวิธีปักดำ การดูแลรักษาตามคำแนะนำของกรมการข้าว ตัดข้าวปน 4 ระยะ มีระบบตรวจและรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์ตามมาตรฐาน GAP : Seed ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนมีนาคม 2556 โดยปลูกข้าวพันธุ์ กข31 ผลการศึกษาพบว่า ผลผลิตข้าวจากแปลงพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกรเชิงบูรณาการ ผ่านมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์จำหน่าย ทั้ง 4 ราย เกษตรกรสามารถจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ดีได้ทั้งหมด สำหรับราคาเมล็ดพันธุ์หลังปรับปรุงสภาพแล้ว จำหน่ายได้ 21 บาทต่อกิโลกรัม โดยเกษตรกรมีต้นทุนการผลิต 8 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นเกษตรกรมีกำไรเฉลี่ย 13 บาทต่อกิโลกรัม สรุปได้ว่า เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวสามารถนำรูปแบบนี้ไปใช้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้ได้คุณภาพดีเพื่อเก็บไว้ใช้เป็นพันธุ์ในฤดูต่อไปหรือจำหน่ายเชิงพาณิชย์
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISBN 978-974-403-928-6

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5542

Proceedings of the 30th Rice and Temperate Cereal Crops Annual Conference 2013, Bangkok (Thailand), p. 304-305

เอกสารการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2556, กรุงเทพฯ, หน้า 304-305
Formato:  326 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional