Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย
Factors affecting the quality of Thai Hom Mali rice
Autores:  Ronnachai Changsri
Grissana Sudtasarn
Pharichart Khongsuwan
Patcharaporn Rakchum
Duangjai Suriyaarunroj
Thani Chuenban
Waraporn Wongboon
Data:  2016-02-26
Ano:  2015
Palavras-chave:  Thai Hom Mali Rice
KDML 105
RD15
Water deficit and 2AP in rice
Plant nutrition and 2AP in rice
Postharvest technology
Hom mali growing off-season
ข้าวหอมมะลิไทย
ขาวดอกมะลิ 105
กข15
การขาดน้ำและปริมาณ2AP ในข้าว
ธาตุอาหารพืชและปริมาณ2AP ในข้าว
เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ข้าวหอมมะลินอกฤดู
Resumo:  Study on factors affecting Thai Hom Mali rice quality aims to investigate causal factors contributing to rice qualities such as production process, post-harvesting process and storage.This research was carried out in rice growing areas of northeast and upper north of Thailand during 2011-2014. The 5 major projects included in this research were: I) Survey on quality variation of Hom Mali rice II) Effects of water deficit on 2-acetyl-1-pyrroline content, grain yield and grain quality of Khao Dawk Mali 105 (KDML105) and RD15 III) Effects of plantnutrients, sulphur, calcium, manganese and magnesium on 2-acetyl-1-pyrroline content, grain yield and grain quality of KDML105 IV) Postharvest technologies affecting Khao Dawk Mali 105 grain qualities V) Yields and qualities of KDML105 and RD15 rice varieties growing off-season. Result of research project I from surveying of Hom Mali Rice quality in northeast and upper north of Thailand showed that most of samples from different seed source which were farmer field, miller and exporter had both physical and chemical qualities at the same level as Thai Hom Mali Rice standard.While 2AP content of rice sampling from 2 regoins varied from source to source at different provinces. From data processing of soil analysis as related to 2AP content in rice grain indicated that variable which showed positive effect on 2AP were Zn, OM and P while negative effect were Cu, Fe and pH.Result of research project II showed that water deficit in 25 cm soil level at 7 days after flowering resulted in highest 2AP in rice grain of KDML105 and RD15 in both experimental screenhouse and field conditions. At 14 days after flowering, water deficit in 25 cm soil level had lowest effect on yield and yield component as well as 2AP content. While, water deficit at 7 days before flowering and at flowering stage were not only resulted in 2AP reduction but also yield and yield component constraint such as filled grain per panicle of KDML105 and RD15. Aside from this, under loamy sand soil water deficit occurred sooner than clay soil and rice grown in this soil had higher 2AP as well. But water deficit at any growing stage had no effect on physical nor chemical qualities of both varieties.Result of research project III showed that rice grown in nutrient solutionwith adding of Mn, S, Ca and Na had higher 2AP.And rice grown in different soil series which contain different level of each nutrient therefore resulted in different 2AP content. In Roi-Et soil series, application of different nutrients had no effect on rice yield.However, additoin of Mn, S, Mg and Ca lender increasing of 2AP in rice grain.While rice grown in loamy sand soil under rainfed lowland condition, we found that application of 1.5 kg sulfur /rai plus chemical fertilizer 6-6-4 kg N-P2O5-K2O gave higher 2AP than 3 kg sulfer/rai. But the highest yield was obtained when applied chemical fertilizer at 6-6-4 kg N-P2O5-K2O /rai plus sulfer and/or gypsum.Result of research project IV showed that grain moisture content and drying temperature during seed drying process affected grain quality, aroma and viscosity properties of starch during storage. Harvesting at 30 and 35 days after flowering and sun drying and hot air drying at 60๐C methods resulted in better milling quality compared with other treatments. Harvesting at 35 days after flowering and hot air drying at 60๐C gave highest grain whiteness.Harvesting at 35 days after flowering and sun drying method gave high 2AP content. In contrast, harvesting at 25 days after flowering and hot air drying at 50๐C gave lowest 2AP content.After 5 months storage, grain quality and aroma of milled rice were reduced and after 12 months storage grain quality and viscosity properties of starch were very low.Result of research project V showed that rice yield from survey and evaluation of KDML105 rice growing off-season in each farmer’s fields were very different due to farmer’s different knowledge level.Quality of Hom Mali rice growing off-season has relationship with production management, but was not different from rice yield grown in-season. Growing with different seed rate from 15-35 kg/rai gave not different rice yield. Fertilizer rate which gave highest yield was 9-6-6 N-P2O5-K2O kg/rai and appropriate growing date was December.

ชุดโครงการวิจัย การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย ทั้งในกระบวนการผลิต หลังการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษา ดำเนินการในพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน ใน พ.ศ. 2554-2557 ประกอบด้วย 5 โครงการวิจัย ได้แก่ 1) การสำรวจความแปรปรวนของคุณภาพข้าวหอมมะลิ 2) ผลของการขาดน้ำต่อปริมาณการเกิดสารหอม 2-Acetyl-1-Pyrroline การให้ผลผลิต และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 3) อิทธิพลของธาตุอาหารพืช ซัลเฟอร์ แคลเซียม แมงกานีส และแมกนีเซียม ต่อปริมาณสารหอม 2-Acetyl-1-Pyrroline ผลผลิตและ คุณภาพเมล็ดของข้าวขาวดอกมะลิ 105 4) เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ 5) ผลผลิตและคุณภาพข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ที่ปลูกนอกฤดู โครงการวิจัยที่ 1 จากการสำรวจคุณภาพข้าวหอมมะลิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน พบว่า ตัวอย่างจากทุกแหล่งผลิตทั้งแหล่งเมล็ดพันธุ์ แปลงเกษตรกร โรงสี และผู้ส่งออก เกือบ ทั้งหมดมีคุณภาพทางกายภาพและเคมีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของข้าวหอมมะลิไทย ปริมาณสารหอม 2AP ในตัวอย่างจากทั้ง 2 ภาคแตกต่างกันตามแหล่งผลิตในจังหวัดต่างๆ จากผลค่าวิเคราะห์ดินเปรียบเทียบกับปริมาณ 2AP พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลในเชิงบวกกับค่า 2AP ได้แก่ Zn, OM และ P ส่วนตัวแปรหลักที่ส่งผลในเชิงลบ ได้แก่ Cu, Fe และ pH โครงการวิจัยที่ 2 พบว่า ที่ระดับดิน 25 เซนติเมตร การขาดน้ำหลังออกดอก 7 วัน ทำให้ปริมาณสารหอม 2AP ในเมล็ดข้าวพันธุ์ข้าวดอกมะลิ 105 และ กข15 สูงที่สุด ทั้งในสภาพเรือนทดลองและแปลงปลูก และที่ระดับดิน 25 เซนติเมตร การขาดน้ำในระยะหลังออกดอก 14 วัน มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต รวมทั้งปริมาณสารหอม 2AP ในขณะที่หากขาดน้ำในระยะก่อนออกดอก 7 วัน และในระยะออกดอก นอกจากปริมาณสารหอม 2AP จะต่ำแล้วยังส่งผลกระทบต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ทั้งจำนวนเมล็ดต่อรวง ผลผลิตเมล็ด และการเกิดเมล็ดลีบ นอกจากนี้สภาพดินร่วนปนทรายทำให้สภาพการขาดน้ำเกิดขึ้นเร็วกว่าดินเหนียว และพบปริมาณสารหอม 2AP สูงกว่าด้วย แต่การขาดน้ำไม่ว่าระยะใดไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพทางกายภาพและเคมีของข้าวหอมมะลิทั้งสองพันธุ์ โครงการวิจัยที่ 3 พบว่า การใส่ธาตุแมงกานีส ซัลเฟอร์ และ โซเดียม ในการปลูกข้าวในสารละลายมีแนวโน้มทำให้สารหอม 2AP ในเมล็ดข้าวสูงขึ้น การทดสอบในดินชุดต่างๆ พบว่า ในแต่ละชุดดินมีปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกันทำให้เมล็ดข้าวมีปริมาณสารหอม 2AP ในระดับแตกต่างกัน ในดินชุดร้อยเอ็ด การใส่ธาตุอาหารต่างๆ ไม่ทำให้ผลผลิตแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การเพิ่มธาตุอาหาร แมงกานีส ซัลเฟอร์ แมกนีเซียม และแคลเซียม ทำให้เมล็ดข้าวมีปริมาณสารหอม 2AP เพิ่มขึ้น ขณะที่การทดสอบในแปลงนาที่เป็นดินร่วนปนทรายสภาพนาน้ำฝน พบว่า การใส่ซัลเฟอร์ อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 6-6-4 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ทำให้ปริมาณสารหอม 2AP มากกว่าซัลเฟอร์อัตรา 3 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ผลผลิตข้าวสูงสุดในกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ย 6-6-4 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ ร่วมกับซัลเฟอร์ หรือยิบซั่ม โครงการวิจัยที่ 4 พบว่า ความชื้นของเมล็ดในระยะเก็บเกี่ยว และอุณหภูมิในการลดความชื้นเมล็ดมีผลต่อคุณภาพเมล็ด ความหอม และคุณสมบัติความหนืดของแป้งระหว่างการเก็บรักษา โดยระยะเก็บเกี่ยว 30 และ 35 วันหลังออกดอก ลดความชื้นโดยการตากแดด และอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ให้คุณภาพการสีสูงกว่ากรรมวิธีอื่น ระยะเก็บเกี่ยว 35 วันหลังออกดอก ลดความชื้นโดยอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ให้ค่าความขาวสูงสุด ระยะเก็บเกี่ยว 35 วันหลังออกดอก ลดความชื้นโดยการตากแดด ให้ปริมาณสารหอม 2AP สูงสุด ส่วนระยะเก็บเกี่ยว 25 วันหลังออกดอก ลดความชื้นโดยอบที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ให้ปริมาณสารหอม 2AP ต่ำสุด คุณภาพและความหอมของข้าวสารหลังการเก็บรักษาเริ่มลดลงหลังการเก็บรักษาในเดือนที่ 5 คุณภาพของข้าวสารและคุณสมบัติความหนืดของแป้งลดลงต่ำสุด เมื่อเก็บรักษานาน 12 เดือน โครงการวิจัยที่ 5 พบว่า ผลผลิตข้าวหอมมะลินอกฤดูที่สำรวจและประเมินจากแปลงเกษตรกรแต่ละรายมีความแตกต่างกันมากเนื่องจากมีความรู้ความชำนาญในการผลิตไม่เท่ากัน คุณภาพข้าวหอมมะลิที่ปลูกนอกฤดูมีความสัมพันธ์กับการจัดการในการผลิตแต่ไม่แตกต่างจากคุณภาพของผลผลิตในฤดูนาปี การปลูกโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ต่างกันตั้งแต่ 15-35 กิโลกรัมต่อไร่ไม่ทำให้ผลผลิตแตกต่างกัน อัตราปุ๋ยที่ทำให้ได้ผลผลิตสูงสุดคือ 9-6-6 กิโลกรัมต่อไร่ วันปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือภายในเดือนธันวาคม
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research symposium 2015: Rice research center groups in north-eastern region], Ubon Ratchathani (Thailand), p. 191-237

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5920

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าวและธัญญพืชเมืองหนาว ประจำปี 2558, กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุบลราชธานี หน้า 191-237
Formato:  290 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional