Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การประเมินความสัมพันธ์และประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตต่อผลผลิตข้าวในเขตจังหวัดพิษณุโลกโดยแบบจำลองทางการเกษตร
Assessing the relationships and efficiency of input factors for rice production in Phitsanulok province by agricultural modeling
Autores:  Wanwisa Pansak
Wipa Homhaul
Data:  2014-09-30
Ano:  2013
Palavras-chave:  WaNuLCAS model
Rice production
Production factors
ข้าว
ผลผลิต
ปัจจัยการผลิต
แบบจำลองทางการเกษตร
จ.พิษณุโลก
Resumo:  Rice is a major food crop and cash crop in Thailand. In 2011, average rice production in Thailand was about 460 kg per rai, which is considered as low productivity comparing with other countries (Rice Department, 2554). The reasons relate to various factors affecting production such as soil condition, weather condition, irrigation, and farmer managements in each area. The objective of this study is to investigate the deep relationships between quantitative inputs and rice production by an agricultural model (WaNuLCAS model) as a tool for analysis of their relationships. In this study, 9 districts of Phitsanulok province are considered. The areas of study are divided into external and internal irrigation. Within this research, we have created database of the rice genetics, climate data, and management data between paddy cultivation. It was further used to test the accuracy of the model. Then the growth rates and rice yield were simulated under the conditions of farmer managements, fertilizer application and changing weather. A result of WaNuLCAS model showed that the model can accurately reproduce the yield of experimental result. Therefore, WaNuLCAS model can be used as a decision support tool and ways to improve the production plan accordingly to promotion program for the cultivation of rice cultivation for other farmers in Thailand.

ข้าวเป็นพืชอาหารหลัก และพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปี 2554 ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ยของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 460 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งถือว่าผลผลิตต่อไร่อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ (กรมการข้าว, 2554) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ ในการผลิต เช่น สภาพดิน อากาศ ชลประทาน การจัดการของเกษตรกร ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาในระดับลึกลงไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการผลิตเชิงปริมาณแต่ละตัวต่อผลผลิตข้าว โดยใช้แบบจำลองทางการเกษตร (WaNuLCAS model) เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยทำการศึกษาในจังหวัดพิษณุโลกทั้ง 9 อำเภอ แบ่งออกเป็นนอกเขตและในเขตชลประทาน ในกระบวนการวิจัยได้ทำการสร้างฐานข้อมูลดิน ฐานข้อมูลพันธุกรรมข้าว ข้อมูลภูมิอากาศ และแฟ้มข้อมูลด้านการจัดการระหว่างการปลูกข้าว ใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อทดสอบความแม่นยำของแบบจำลอง จากนั้นทำการจำลองการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวบนเงื่อนไข วิธีการปลูก การใส่ปุ๋ย การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นต้น ผลจากแบบจำลอง WaNuLCAS แสดงให้เห็นว่าแบบจำลองสามารถทำนายผลผลิตข้าวจากแปลงทดลองจริงได้ค่อนข้างแม่นยำ และสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ และเป็นแนวทางในการปรับปรุงแผนการผลิตให้เหมาะสมต่อการส่งเสริมการปลูกข้าวในพื้นอื่นๆ ของเกษตรกรในประเทศไทยต่อไป
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research symposium 2013: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chiang Mai (Thailand), p. 206-214

ISBN 978-974-403-940-8

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5602

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2556, เชียงใหม่, หน้า 206-214
Formato:  312 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional