Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  106
País:  Thailand
Título:  การประเมินพันธุกรรมและกราฟพันธุกรรมของการให้ผลผลิตไข่ในไก่พื้นเมืองไทย (ประดู่หางดำ) โดยใช้โมเดลวันทดสอบรีเกรซชั่นสุ่ม
Genetic evaluation and genetic curve for egg production in Thai native chickens (Pradu Hang Dam) using a random regression test-day model
Autores:  Wuttigrai Boonkum
Monchai Duangjinda
Banyat Laopaiboon
Thevin Vongpralub
Data:  2012-09-25
Ano:  2012
Palavras-chave:  Egg production
Genetic evaluation
Thai native chicken
Random regression test-day model
Pradu Hang Dam
ไก่
พันธุ์พื้นเมืองไทย
พันธุ์ประดู่หางดำ
พันธุกรรม
โมเดลวันทดสอบรีเกรซชั่นสุ่ม
ผลผลิตไข่
กราฟพันธุกรรม
Resumo:  Objective of this research was to investigate an appropriate random regression test-day model from various egg production functions for genetic evaluation and genetic curve construction for egg production in the first generation (G1) of Thai native chickens (Pradu Hang Dam). Data included 1,669 monthly egg production records of 203 Thai native chickens between September, 2007 and June, 2009. Data were obtained from the Research and Development Network Center for Animal Breeding (Native Chicken), Faculty of Agriculture, Khon Kaen University. An average (+SD) of yearly egg production was 140+36 eggs and average (+SD) age at first egg was 187+22 days. Considering to -2logL, AIC, and MSE, random regression test-day model with egg function of Koops and Grossman (RRTDM(KD)) had the best fit for genetic evaluation and genetic curve for egg production in this population. The estimated monthly heritability ranged from 0.220 to 0.289, and highest heritability found in month 2 and 3 of egg production periods. Genetic correlations among monthly egg production were higher than 0.880. Genetic curves for egg production were different in both cocks and hens. Therefore, selection plan for individual genetic potential can be efficiently performed.

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อหาโมเดลวันทดสอบรีเกรซชั่นสุ่มและฟังก์ชันการให้ผลผลิตไข่ที่เหมาะสมสำหรับนำไปประเมินพันธุกรรมและสร้างกราฟพันธุกรรมของลักษณะการให้ผลผลิตไข่ในไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำชั่วรุ่นที่ 1 การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลปริมาณผลผลิตไข่สะสมรายเดือนจำนวน 1,669 บันทึก จากไก่ทั้งหมด 203 ตัว ของศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเก็บบันทึกในช่วงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2550 ถึงเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2552 โดยพบว่าปริมาณผลผลิตไข่เฉลี่ยตลอดปีมีค่าเท่ากับ 140+36 ฟอง และอายุแม่ไก่เมื่อให้ไข่ฟองแรกเฉลี่ยเท่ากับ 187+22 วัน การพิจารณาค่าสถิติซึ่งวิเคราะห์ได้จากตัวสถิติ -2logL, AIC, และ MSE ชี้ให้เห็นว่าการใช้โมเดลวันทดสอบรีเกรซชั่นสุ่มร่วมกับฟังก์ชันการให้ผลผลิตไข่ของ Koops and Grossman (RRTDM(KD)) เหมาะสมที่สุดในการประเมินพันธุกรรมและสร้างกราฟพันธุกรรมของลักษณะผลผลิตไข่สำหรับประชากรไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ประดู่หางดำฝูงนี้ ค่าประมาณอัตราพันธุกรรมรายเดือนมีค่าอยู่ในช่วง 0.220 ถึง 0.289 โดยในเดือนที่สองและเดือนที่สามของการให้ผลผลิตไข่มีค่าอัตราพันธุกรรมสูงสุดเท่ากับ 0.289 ในขณะที่ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างเดือนที่เก็บผลผลิตไข่มีค่ามากกว่า 0.880 ในทุกๆเดือนตลอดปี กราฟพันธุกรรมการให้ผลผลิตไข่ในไก่พื้นเมืองแต่ละตัวทั้งพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มีความแตกต่างกัน ซึ่งช่วยให้การวางแผนการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ตามความสามารถทางพันธุกรรมทำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5162

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2012, V. 40, No. 1, p. 68-78

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2555, ปีที่ 40, ฉบับที่ 1, หน้า 68-78
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional