Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการถ่ายยีนเข้าสู่ปาล์มน้ำมัน
Factors effecting on gene transfer in oil palm (Elaeis guineensis Jacq.)
Autores:  Potjamarn Suraninpong
Supawadee Tawaro
Sompong Te-chato
Data:  2012-09-26
Ano:  2011
Palavras-chave:  Agrobacterium tumefaciens
Oil palm
Gene transfer
Embryogenic callus
Antibiotic
ปาล์มน้ำมัน
การถ่ายยีน
สารปฏิชีวนะ
เอ็มบริโอเจนิคแคลลัส
ระดับความเข้มข้น
แถบดีเอ็นเอ
ใบอ่อน
Resumo:  Oil palm is a highly producing oil plant. The most cultivation area is in the southern part of Thailand. Expended area of oil palm in the others part needs suitable variety. Thus, the object of this study was to improvement of oil palm via gene transfer technique. Embryogenic callus inducing from young leaves of high yield oil palm were cultured on various kinds and concentrations of antibiotics for screening of suitable concentration using for gene transformation. The result showed that hygromycin, kanamycin and phosphinotricin at 20, 200 and 5 mg/l, respectively, were suitable for transformed selection. Cefotaxime concentration at 200 mg/l was suitable for killing of agrobacterium. The study of inoculation time, co-culture time and co-culture conditions had done for examination of transient expression of gus gene after transformation for 3 days. It was found that embryogenic callus inoculated with Agrobacterium tumefaciens EHA 105 pCAMBIA 1301 for 6 h and co-cultured on solid medium for 48 h promoted efficiency of gene transfer, 50% with 8 blue spots/explant. Thus, this condition is the most suitable to use for gene transfer in oil palm. Nevertheless, embryogenic callus that could grow on mediumsupplemented with hygromycin for 4 weeks, after checking of the gus and hpt gene using PCR technique showed no band on the gel. Key words: oil palm, Agrobacterium tumefaciens, gene transfer, embryogenic callus, antibiotic

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันสูง พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย การขยายพื้นที่ปลูกไปในภาคต่างๆ จำเป็นต้องหาพันธุ์ที่เหมาะสม ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันด้วยเทคนิคการถ่ายยีน โดยนำเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสปาล์มน้ำมันที่ชักนำจากใบอ่อนของต้นที่ให้ผลผลิตสูง มาเลี้ยงบนอาหารเติมสารปฏิชีวนะชนิดและความเข้มข้นต่างๆ เพื่อหาความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการถ่ายยีน ผลการศึกษาพบว่า ไฮโกรมัยชิน คานามัยซิน และ ฟอสฟิโนทริซิน ความเข้มข้น 20 200 และ 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ เหมาะสมที่จะนำใช้คัดเลือกเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสที่ได้รับการถ่ายยีน และซีโฟทาซีม ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิตร เหมาะสมที่จะนำมาใช้กำจัดเชื้ออะโกรแบคทีเรีย ส่วนการศึกษาระยะเวลาการบ่มเอ็มบริโอเจนิคแคลลัสร่วมกับเชื้อ ระยะเวลาและวิธีการเลี้ยงร่วมกับเชื้อเพื่อตรวจหาการแสดงออกอย่างชั่วคราวของยีน gus หลังการถ่ายยีนเป็นเวลา 3 วัน พบว่า เอ็มบริโอเจนิคแคลลัสบ่มร่วมกับเชื้อ Agrobacterium tumefaciens EHA 105 pCAMBIA 1301 เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เลี้ยงร่วมบนอาหารเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ส่งเสริมประสิทธิภาพการถ่ายยีนได้ 50 เปอร์เซ็นต์ พบจุดสีน้ำเงิน 8 จุดต่อชิ้นส่วน ดังนั้นสภาวะนี้ จึงเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการถ่ายยีนเข้าสู่เอ็มบริโอเจนิคแคลลัสปาล์มน้ำมันมากที่สุด อย่างไรก็ตามเมื่อนำเอ็มโอเจนิค แคลลัสที่สามารถเจริญเติบโตบนอาหารที่มีไฮโกรมัยชินเป็นเวลา 4 สัปดาห์ มาตรวจสอบการมีอยู่ของยีน gus และ ยีน hpt ด้วยเทคนิค PCR ไม่พบแถบดีเอ็นเอของยีนทั้งสองบนแผ่นเจล คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน, Agrobacterium tumefaciens, การถ่ายยีน, เอ็มบริโอเจนิคแคลลัส, สารปฏิชีวนะ
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5166

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2011, V. 39, Suppl. 2, p. 72-79

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2554, ปีที่ 39, ฉบับพิเศษ 2, หน้า 72-79
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional