Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการระบาดของโรคข้าว จังหวัดเชียงรายและพะเยา
Effects of climate change on rice diseases in Chiangrai and Phayao provinces
Autores:  Nootjarin Jungkhun
Piyapa Srikhom
Konsiri Srinil
Taraporn Yuneyong
Kanteera Kanta
Data:  2015-05-14
Ano:  2014
Palavras-chave:  Climate change
Temperature
Relative humidity
Rainfall
Rice disease
Epidemic
Global warming
Rice pathogen
Rice
Rice production
Phitsanulok 2 variety
Sanpatong 1 variety
Plant diseases survey
Pathogens
Chiangrai province
Phayao province
ข้าว
พันธุ์พิษณุโลก 2
พันธุ์สันป่าตอง 1
การผลิตข้าว
การสำรวจโรคพืช
โรคข้าว
เชื้อสาเหตุของโรค
การระบาดของโรค
ภาวะโลกร้อน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อุณหภูมิ
ความชื้นสัมพัทธ์
ปริมาณน้ำฝน
การประเมินความเสียหาย
จ.เชียงราย
จ.พะเยา
Resumo:  Main objective of this study was to evaluate the relationship between climate changes and rice disease s epidemics in Chiangrai and Phayao provinces. The study was conducted at Chiangrai Rice Research Center during the year 2011-2013 by monthly broadcasting two popular rice varieties in the area; Phitsanulok 2 and Sanpatong 1. The experiment was carried out in Split plot in RCB Design with 3 replicates having month as main plot and variety as sub-plot. Disease incidence and severity were evaluated at 3 growth stages i.e. 20, 50 and 90 days after sowing. Concurrently, Disease incidence and severity were recorded for rice diseases in the farmers’ fields of Chiangrai and Phayao provinces having infected at 10 rai and above. Disease data showed that both rice varieties, had an increasing variety of diseases and level of severity every year. The highest severity of rice blast disease occurred at seedling stage of both rice varieties with the favorable weather conditions being the average temperature between 25.22 to 26.82 °C, average relative humidity between 79.52 to 82.92% and average rainfall between 55.5 to 501.5 mm. For brown spot disease, the severity was highest at tillering stage with favorable weather conditions being, the average temperature between 22.06 to 25.23 °C, average relative humidity between 78.28 to 81.13 % and average rainfall between 7.3 to 79.5 mm. At grain filling stage, bacterial leaf blight severity was highest with favorable climatic conditions being the average temperature between 25.72 to 28.41 °C, average relative humidity between 62.27 to 81.61 % and rainfall amount varied from 2.2 to 24.2 mm. Results from farmers’ fields surveying in Chiangrai and Phayao during the year 2011-2013 showed that the yearly increasing level of severity of rice diseases rating from the highest one being rice blast followed by bacterial leaf blight, bakanae disease, brown spot, and narrow brown spot diseases similar to that recorded in the experimental plots. Comparing each year Chiangrai weather data from 2011-2013 and the 30 years long-term data of 3 climatic factors i.e temperature, relative humidity and rainfall, it was noticed that the average maximum temperature had increased by 3.09 °C. In contrast, the average minimum temperature was reduced by 2.32 °C. The average relative humidity and rainfall were increased by 1.29 % and 38.98 mm., respectively. These data indicated that the range between the maximum and minimum temperature during 2011-1013 was broader than the long-term data while the relative humidity and rainfall were higher than the long-term ones. Despite of the change In these weather conditions, rice blast and bacterial leaf blight remained significant as major diseases. However, a variety and severity of minor diseases had increased over the years. Results suggested the potential having more diverse rice disease occurrence and severity in the future. Part of the reasons was possibly due to the good adaptation to climate changes of the causal agents. Thus, the study awaited to be carried out on pathogen diversity, rice blast and bacterial leaf blight in particular, would further clarify the results in this study.

การศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการระบาดของโรคข้าวในช่วงปี 2554 – 2556 จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา ดำเนินการโดยการปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 และพันธุ์สันป่าตอง 1 ที่เกษตรกรนิยมปลูกในพื้นที่ ในแปลงนาทดลองศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ทุกเดือนตลอดทั้งปี โดยวิธีหว่านน้ำตม วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB มี 3 ซ้ำ เดือนปลูกเป็น main plot และพันธุ์ข้าวเป็น sub-plot พร้อมทั้งสำรวจแปลงเกษตรกรที่พบการระบาดของโรคข้าวตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป โดยประเมินการเกิดโรค (incidence) และความรุนแรงของโรค (severity) เพื่อหาแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝน กับการระบาดของโรคข้าว จากการศึกษาพบการระบาดของโรคข้าวในทั้งสองพันธุ์ โดยความหลากหลายของโรคและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ระยะกล้าพบการระบาดของโรคไหม้มากที่สุดในช่วงอุณหภูมิเฉลี่ย 25.22 – 26.82 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 79.52 – 82.92 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนรวม 55.5 – 501.5 มิลลิเมตร ระยะแตกกอพบการระบาดของโรคใบจุดสีน้ำตาลมากที่สุด มีอุณหภูมิเฉลี่ย 22.06 – 25.22 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 78.28 – 81.13 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนรวม 7.3 – 79.5 มิลลิเมตร ระยะก่อนเก็บเกี่ยวพบการระบาดของโรคขอบใบแห้งมากที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ย 25.72 – 28.41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 62.27 – 81.61 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนรวม 2.2 – 242.0 มิลลิเมตร และจากการสำรวจโรคข้าวจากแปลงนาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา ปี 2554 - 2556 พบการระบาดของโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคถอดฝักดาบ โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคใบขีดสีน้ำตาลเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน สอดคล้องกับแปลงนาทดลองที่ศึกษา เมื่อตรวจสอบข้อมูลสภาพภูมิอากาศจากสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเชียงรายระหว่างปี 2554 – 2556 เปรียบเทียบกับข้อมูลอุตุนิยมวิทยา 30 ปีย้อนหลัง พบว่า อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3.09 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยลดลง 2.32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงขึ้น 1.29 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงขึ้น 38.98 มิลลิเมตร จะเห็นได้ว่า อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ปริมาณน้ำฝนรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลง นั่นคือ ช่วงอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ยกว้างขึ้น ส่วนความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณน้ำฝนสูงขึ้น ในลักษณะเช่นนี้ โรคข้าวที่สำคัญเช่นโรคไหม้และขอบใบแห้งยังคงมีความสำคัญเช่นเดิม แต่มีการระบาดของโรคที่มีความสำคัญเป็นอันดับรอง ซึ่งมีความหลากหลายและรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการปรับตัวให้เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีในสภาพฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปของเชื้อสาเหตุโรคข้าว ฉะนั้นในอนาคตจึงอาจพบโรคข้าวที่หลากหลายและรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจำแนกความหลากหลายของเชื้อสาเหตุโรคข้าวในการทำให้เกิดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่สำคัญเช่นโรคไหม้และขอบใบแห้ง ในอีกส่วนหนึ่งของงานวิจัยนี้ที่อยู่ระหว่างรอดำเนินการ จะสามารถให้คำอธิบายเพิ่มเติมได้ชัดเจนขึ้นสำหรับผลงานวิจัยนี้
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2014: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chainat (Thailand), p. 104-119

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5695

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2557, ชัยนาท, หน้า 104-119
Formato:  434 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional