Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยเพอลิเมอร์ร่วมกับ Rhodamine-B ต่อการเรืองแสงและคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม
Seed coating by polymer with rhodamine-B on fluorescence and quality of hybrid tomato seed
Autores:  Chanoknet Chaiwicha
Boonmee Siri
Data:  2015-05-20
Ano:  2014
Palavras-chave:  Tomato seeds
Seed coating
Polymer
Rhodamine
Fluorescent compounds
Anti-counterfeiting technology
Seed technology
Seed quality
Label seeds
Germination percentage
Seed vigour
เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ
การเคลือบเมล็ดพันธุ์
สารพอลิเมอร์
สารเรืองแสง
การปลอมปนเมล็ดพันธุ์
เทคโนโลยีทางเมล็ดพันธุ์
คุณภาพเมล็ดพันธุ์
เอกลักษณ์เมล็ดพันธุ์
อัตราการงอกของเมล็ดพันธุ์
ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์
Resumo:  The objective of this experiment was to create identical seed by coating with fluorescent compounds. The experiment was conducted at Seed Technology Section of Seed Processing Plant, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University. The coating formulations were prepared using 1.5 % Hydroxypropyl Methylcellulose (HPMC) of fluorescent Rhodamine-B at the rates of 0.2, 0.4, 0.6, and 0.8 gram.The tomato seeds were coated by Centri Seed Coater (Model SKK 10). Coated seeds were subsequently divided into two parts. The first part; was used to detect fluorescence performance by hand-UV (Model UVGL-58; λ=365 nm.). The second part was used to evaluate the seed quality after coating and after accelerated aging with 100% relative humidity at 42oC for 74hours. It was found that, the coated seeds with Rhodamin-B had orange fluorescence light form the hand-UV (Model UVGL-58; λ=365 nm.), coating seed with fluorescent Rhodamine-B not affect germination percentage and speed of germination tested under laboratory and greenhouse conditions. Tomato seed coating with fluorescent dye can be used to label seeds as an anti-counterfeiting technology

การสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้กับเมล็ดพันธุ์ด้วยการเคลือบสารพอลิเมอร์ร่วมกับสารเรืองแสง เป็นแนวทางหนึ่งในการป้องกันการปลอมปนเมล็ดพันธุ์ ทำการทดลองที่ ณ ห้องปฏิบัติการ เทคโนโลยีทางเมล็ดพันธุ์ โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เตรียมสูตรสารเคลือบเมล็ดพันธุ์โดยใช้ Hydroxypropyl Methylcellulose (HPMC) ทีมีความเข้มข้น 1.5 เปอร์เซ็นต์เป็นพอลิเมอร์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamine-B ในอัตรา 0.2,0.4,0.6 และ 0.8กรัม จากนั้นจึงนำมาเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศพันธุ์ SPP013 ด้วยเครื่องเคลือบชนิดจานหมุน ModelSKK 10หลังการเคลือบเมล็ดนำมาลดความชื้นด้วยเครื่องลดความชื้นชนิดลมแห้งใช้อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียสจนเมล็ดพันธุ์มีความชื้น 7.0 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นแบ่งเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกนำไปตรวจการเรืองแสงด้วยเครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลตแบบพกพา Model SPECTRA-300 ที่ความยาวคลื่น 365นาโนเมตร เมล็ดส่วนที่สองน ำไปตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์หลังจากการเคลือบและหลังจากการเร่งอายุที่อุณหภูมิ 42 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 100 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 72 ชั่วโมง จากการทดลองพบว่าเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบมีการเรืองแสงเป็นสีแดงอมส้มเมื่อได้รับแสงจากเครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลต ผลการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศหลังการเคลือบพบว่า การเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศด้วย Rhodamine-B ในอัตราที่แตกต่างกันไม่ทำให้ความงอกและความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ เมื่อตรวจสอบในสภาพห้องปฏิบัติการและในสภาพห้องเรือนทดลองแตกต่างกันทางสถิติ จากการทดลองนี้จึงสรุปได้ว่าการใช้ Rhodamine-B มาเคลือบเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศสามารถสร้างการเรืองแสงที่เป็นเอกลักษณ์ของเมล็ดพันธุ์ได้ และสามารถเป็นแนวทางการป้องกันการปลอมปนเมล็ดพันธุ์ได้
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5722

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2014, V. 42, Suppl. 1, p. 124-129

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2557, ปีที่ 42, ฉบับพิเศษ 1, หน้า 124-129
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional