Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การประเมินความต้องการธาตุอาหารหลักของข้าวนาขั้นบันไดโดยวิธี Omission plot technique
Evaluation of rice major nutrient requirement on rice terrace: Omission plot technique
Autores:  Apiwat Hantanapong
Satid Pinmanee
Data:  2015-04-30
Ano:  2014
Palavras-chave:  Rice terrace
Rice nutrients
Plant requirements
Major nutrients
Nutrient management
Upland rice fields
Omission plot technique
Soil fertility
Crop production
ข้าวไร่
นาขั้นบันได
ธาตุอาหารพืช
ธาตุอาหารหลัก
ความต้องการธาตุอาหาร
การจัดการธาตุอาหาร
การผลิตพืช
การใส่ปุ๋ย
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การเพิ่มผลผลิต
Resumo:  Converting Upland Rice Fields to Rice Terraces in slope area is one of an alternative rice planting system for sustainable rice cultivation on the mountainous area in the upper northern of Thailand. It can produce double yield compared with those of upland rice. However, soil fertility should be considered when first converted. Therefore, rice nutrient management by Omission Plot Technique has been studied. Results in wet season 2554 found that yield from applying phosphorus in combination with potassium chemical fertilizer (+PK or -N) was not significantly different from applying nitrogen, phosphorus and potassium combination (+NPK) and as same as non phosphorus (+NK or -P) or non potassium application (+NP or -K) in which always showed significantly lower rice yield than applying nitrogen in combination with phosphorus and potassium chemical fertilizer (+NPK) but more than those of no fertilizer treatment (-NPK). In wet season 2555, nitrogen and potassium had an effect on yield of terraces rice because the yield from applying nitrogen and potassium (+NK or -P) was not significantly different from applying nitrogen, phosphorus and potassium combination (+NPK). In wet season 2556, macro nutrient had an effect on yield of terraces rice because the yield from applying nitrogen, phosphorus and potassium combination (+NPK) applying non nitrogen chemical fertilizer (+PK or -N) non phosphorus (+NK or -P) or non potassium application (+NP or -K) was significantly more than those of no fertilizer treatment (-NPK) While in wet season 2554 2555 and 2556 pot condition found that phosphorus had an effect on rice yield as non phosphorus (+NK or -P) decreased rice yield as same as no fertilizer applied (-NPK). However, this study should be test nutrient management by Omission Plot Technique in field for guarantee and promoting knowledge to farmer.

การปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่เป็นนาขั้นบันไดในพื้นที่ลาดชัน เป็นหนึ่งในระบบการปลูกข้าวที่ใช้เป็นทางเลือกเพื่อสร้างความยั่งยืนบนพื้นที่ภูเขาสูงของภาคเหนือตอนบน เพราะสามารถสร้างผลผลิตข้าวมากกว่าการปลูกข้าวไร่ระบบเดิม ไม่น้อยกว่า 1 เท่า แต่การปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่เป็นนาขั้นบันไดมักพบปัญหาเรื่องการความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากการขุดปรับเป็นนาใหม่ จึงดำเนินการทดลองเรื่อง การจัดการธาตุอาหาร โดยวิธี Omission Plot Technique พบว่า ในฤดูนาปี 2554 การใส่ปุ๋ยธาตุอาหารฟอสฟอรัสร่วมกับโพแทสเซียม (+PK หรือ -N) ทำให้ผลผลิตข้าวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (+NPK) สอดคล้องกับการไม่ใส่ปุ๋ยธาตุอาหารฟอสฟอรัส (+NK หรือ -P) หรือโพแทสเซียม (+NP หรือ -K) ในแปลงนาขั้นบันได มีผลให้ผลผลิตข้าวน้อยกว่าการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (+NPK)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มากกว่าการไม่ใส่ธาตุอาหาร และในฤดูนาปี 2555 นั้น ธาตุอาหารไนโตรเจนและโพแทสเซียมมีผลต่อผลผลิตข้าวนาขั้นบันได เนื่องจากการใส่ธาตุอาหารไนโตรเจน และโพแทสเซียม (+NK หรือ -P) ทำให้ผลผลิตข้าวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (+NPK) สำหรับในฤดูนาปี 2556 นั้น การใส่ธาตุอาหารหลักมีผลต่อผลผลิตข้าวนาขั้นบันได เนื่องจากการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (+NPK) การไม่ใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน (+PK หรือ -N) ฟอสฟอรัส (+NK หรือ -P) และโพแทสเซียม (+NP หรือ –K) ทำให้ผลผลิตข้าวมากกว่าการไม่ใส่ธาตุอาหารหลัก (-NPK) อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่การทดลองสภาพกระถางในฤดูนาปี 2554 2555 และ 2556 พบว่า ธาตุฟอสฟอรัสมีผลต่อผลผลิตข้าวในกระถาง กล่าวคือ ถ้าไม่มีการใส่ธาตุฟอสฟอรัส (+NK หรือ -P) ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงใกล้เคียงกับการไม่ใส่ธาตุ (-NPK) แต่อย่างไรก็ดีควรมีการทดสอบเรื่องการจัดการธาตุอาหาร โดยวิธี Omission Plot Techniqueในแปลงเกษตรกร เพื่อยืนยันผลการทดลองและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2014: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chainat (Thailand), p. 416-422

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5663

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2557, ชัยนาท, หน้า 416-422
Formato:  434 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional