Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การจัดการฟางข้าวในพื้นที่ทำนาอย่างต่อเนื่อง
Rice straw management in the area of continuous rice planting
Autores:  Nittaya Ruensuk
Pranom Mongkonbunjong
Chalermchat Leuchikam
Wassana Inthalaeng
Data:  2012-07-27
Ano:  2008
Palavras-chave:  Rice
Straw management
Straw incorporation period
Growth
Yield
ข้าว
การจัดการฟางข้าว
การไถกลบ
ระยะเวลาการหมัก
การเจริญเติบโต
ผลผลิต
Resumo:  Straw management by incorporation into the soils is an alternative method to avoid straw burning before land preparation.The experiment was conducted at Pathum Thani Rice Research Center and Suphan Buri Rice Research Center during 2006-2007. It was comprised of 3 trials, i.e., effect of amount of straw incorporated into soils to rice growth and yield, effect of straw management methods to rice growth and yield, and effect of straw incorporation period to rice growth and yield. The results showed that straw incorporation rate of 0-800 kg/rai did not affect early growth stage (number of plants/m2 at 15 days after planting) and yield. Number of plants/m2 at 15 days after planting was decreased by straw incorporation at the rate of 1,200-1,600 kg/rai whereas both the number of plants/m2 at 15 days after planting and yield were decreased by straw incorporation at the rate of 2,000-2,400 kg/rai. The 3 methods of straw management, i.e., straw burning before land preparation, straw removing before land preparation, straw incorporation before land preparation, and minimum tillage did not affect rice growth and yield. Straw incorporation period of 0, 7, 14 and 21 days before planting in case of 800 kg/rai of straw did not affect yield of Suphanburi 1 but afffected the rice root growth. At the period of 0 and 7 days the roots appeared clumsy with brown and black color. Little young root was emerged. However, at the period of 14 and 21 days, the rice root was longer, bigger than those of 7 and 14 days. Root color was white. In the case of 1,200-1,800 kg/rai of straw incorporation, rice yield at the straw incorporation period of 0-14 days was lower than at the straw incorporation period of 21-28 days.

การจัดการฟางในนาข้าวโดยการไถกลบลงดินเพื่อการปรับปรุงดิน เป็นทางเลือกเพื่อหลีกเลี่ยงการเผาฟางก่อนการเตรียมดินปลูกข้าวครั้งต่อไป ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี และศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี ปี พ.ศ. 2549-2550 โดยแบ่งงานทดลองออกเป็น 3 การทดลอง คือ ผลของปริมาณฟางที่ไถกลบลงบนดินต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าว ผลของการจัดการฟางวิธีต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว และผลของระยะเวลาการหมักฟางหลังจากไถกลบลงดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ผลการทดลอง พบว่า การไถกลบฟางข้าวอัตรา 0-800 กก./ไร่ ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตในช่วงแรกและผลผลิตของข้าว ส่วนการไถกลบฟางข้าวที่อัตรา 1,200-1,600 กก./ไร่ ทำให้จำนวนต้นข้าวต่อตารางเมตร ที่อายุข้าว 15 วัน หลังหว่านข้าวลดลง แต่ไม่มีผลต่อผลผลิตข้าว ในขณะที่การไถกลบฟางข้าวอัตรา 2,000 และ 2,400 กก./ไร่ มีผลต่อการเจริญเติบโตในช่วงแรก โดยจำนวนต้นข้าวต่อตารางเมตร ที่อายุข้าว 15 วัน หลังหว่านข้าวลดลง และทำให้ผลผลิตข้าวลดลงด้วย ส่วนการเผาฟางก่อนการเตรียมดิน การเอาฟางออกจากแปลงก่อนการเตรียมดิน การไถกลบฟางก่อนการเตรียมดิน (การเตรียมดินแบบปกติ) และการเตรียมดินแบบลดการไถพรวน ในช่วงเวลา 2 ปี ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ระยะเวลาการหมักฟางหลังจากไถกลบลงดินที่ 0 7 14 และ 21 วัน ก่อนหว่านข้าว และมีฟางอัตรา 800 กก./ไร่ ไม่มีผลต่อการให้ผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 แต่มีผลต่อการเจริญเติบโตของรากข้าวในระยะแรกของการเจริญเติบโต โดยการหมักฟางหลังจากไถกลบลงดินที่ 0 และ 7 วัน รากข้าวมีลักษณะเป็นกระจุก มีสีดำ สีดำปนน้ำตาล และมีรากแตกออกใหม่น้อย แต่เมื่อการหมักฟางนานขึ้นเป็น 14 และ 21 วัน รากข้าวมีสีขาว ยาว และอวบ เมื่อเพิ่มปริมาณฟางในการไถกลบเป็น 1,200-1,800 กก./ไร่ การหมักฟางระยะ 0-14 วัน ผลผลิตของข้าวจะน้อยกว่าการหมักฟางที่ระยะ 21-28 วัน ก่อนการหว่านข้าว
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 1906-0246

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5100

Thai Rice Research Journal (Thailand), ISSN 1906-0246, Jan-Apr 2008, V. 2, No. 1 , p. 36-46

วารสารวิชาการข้าว, ISSN 1906-0246, ม.ค.-เม.ย. 2551, ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, หน้า 36-46
Formato:  96 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional