Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนดินเค็มและมีคุณภาพการหุงต้มดี
Breeding rice for salt tolerance and good cooking quality
Autores:  Duangjai Suriyaarunroj
Apichart Vanavichit
Somvong Tragoonrung
Theerayut Toojinda
Data:  2013-03-11
Ano:  2007
Palavras-chave:  Salt tolerant rice
Molecular markers
Cooking quality
Yield
ข้าวทนเค็ม
โมเลกุลเครื่องหมาย
คุณภาพการหุงต้ม
ผลผลิต
การปรับปรุงพันธุ์
Resumo:  Breeding for salt tolerant rice has been done for a decade. However, most of salt tolerant lines which have been released carry inferior cooking qualities compared to KDML105, an aroma good cooking quality rice of Thailand. To develop salt tolerant and good cooking quality rice, molecular marker assisted selection in backcross breeding program was initiated in 2001. Two RILs, FL496 and FL530 selected from mapping population of IR29 x Pokkali were used as salt tolerant donors. KDML105 as recipient was cross pollinated with these 2 donors to develop F1 and cross back to KDML105 to develop BC1F1. Three markers ; RM140, B1.1-1 and B1.1-11 flanking salt tolerant QTLs spanning 33 cM and two markers; RM00 and 10L03FW for amylose content and aroma scent were used for selection to produce BC2. Then BC2F1 and BC2F3 progenies were randomly selected and subjected to genome scan. Percentage of recipient genome recovery for BC2F1 ranged from 67.2-92.3% and for BC2F3 from 72.45-95.92%. The cooking quality of progenies were considerably similar to KDML105. Agronomic characters of progenies were observed and showed that 81 of 90 lines tested had higher seeds/panicle while 47 lines had higher 1000 grain weight and 74 lines had higher grain yield compared to KDML105. These results indicated that marker assisted backcross breeding technique is useful for selection of lines with acceptable traits while maintaining superior cooking quality.

การปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาพดินเค็มในประเทศไทยได้มีการดำเนินการมานับสิบ ๆ ปี พันธุ์ที่ได้ถึงแม้จะมีความทนเค็มในระดับสูง แต่มักมีคุณภาพเมล็ดและการหุงต้มไม่ดี ในปี พ.ศ. 2544 จึงมีการริเริ่มปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดดี มีความหอม ให้ทนเค็ม โดยวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพ หรือโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการติดตาม เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการคัดเลือกมากยิ่งขึ้น ดำเนินการผสมพันธุ์แบบการผสมกลับ (backcross) มีสายพันธุ์แท้ที่มีลักษณะความทนเค็มจากพันธุกรรมของพันธุ์พอคคาลี่ (Pokkali) ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่าง IR29 และ Pokkali จำนวน 2 สายพันธุ์ คือ FL496 และ FL530 เป็นพันธุ์ถ่ายทอดลักษณะความทนเค็ม และใช้พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เป็นพันธุ์รับลักษณะความทนเค็ม เมื่อได้ลูกผสมชั่วที่ 1 ของคู่ผสมระหว่าง ขาวดอกมะลิ 105 x FL496 และ ขาวดอกมะลิ 105 x FL530 จึงผสมกลับไปยังขาวดอกมะลิ 105 ได้ลูกผสมกลับครั้งที่ 1 ชั่วที่ 1 (BC1F1) ใช้โมเลกุลเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก BC1F1 ในการผสมกลับครั้งที่ 2 โมเลกุลเครื่องหมายที่ใช้ในการติดตามลักษณะความทนเค็ม ได้แก่ RM140, B1.1-1 และ B1.1-11 ซึ่งครอบคลุมตำแหน่งที่ควบคุมลักษณะทนเค็มบนโครโมโซม 1 เป็นระยะ 33 เซนติมอแกน (cM) และใช้โมเลกุลเครื่องหมาย RM00 และ 10L03FW สำหรับติดตามลักษณะความนุ่มและความหอม เมื่อได้ลูกผสมกลับครั้งที่ 2 ชั่วที่ 2 (BC2F2) และลูกผสมกลับครั้งที่ 2 ชั่วที่ 3 (BC2F3) นำไปตรวจสอบการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พบว่า ลูกผสม BC2F1 มีพันธุกรรมของขาวดอกมะลิ 105 67.2-92.3% และ BC2F3 มีพันธุกรรมของขาวดอกมะลิ 105 72.45- 95.92% มีคุณภาพการหุงต้มเหมือนขาวดอกมะลิ 105 ส่วนลักษณะทางการเกษตรพบว่า 81 จาก 90 สายพันธุ์มีจำนวนเมล็ดต่อรวงมากกว่า 47 สายพันธุ์มีน้ำหนัก 1000 เมล็ดมากกว่า และ 74 สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าขาวดอกมะลิ 105 แสดงว่าวิธีการทางเทคโนโลยีชีวภาพสามารถช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวทนเค็มให้มีลักษณะการหุงต้มที่ดีขึ้นได้
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 1906-0246

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5301

Thai Rice Research Journal, (Thailand), ISSN 1906-0246, Sepr-Dec 2007, V. 1, No. 1, p. 29-43

วารสารวิชาการข้าว, ISSN 1906-0246, ก.ย.-ธ.ค. 2550, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1, หน้า 29-43
Formato:  88 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional