Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การใช้ลักษณะการดูดซับฟอสฟอรัสเพื่อประเมินอัตราและชนิดของปุ๋ยฟอสฟอรัสสำหรับข้าวที่ปลูกในดินองครักษ์ที่มีปูนตกค้าง
Use of phosphorus sorption characteristics for determining rate and type of phosphorus fertilizers for growing rice on ongkharak soil with residual lime
Autores:  Phahon Ruksumruad
Suphicha Thanachit
Somchai Anusontpornperm
Wanpen Wiriyakitnateekul
Data:  2012-09-07
Ano:  2012
Palavras-chave:  Tripple super phosphate
Rock phosphate
Acid sulfate soil
Phosphorus sorption
ข้าว
พันธุ์ กข 43
หินฟอสเฟต
การดูดซับฟอสฟอรัส
ทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต
ดินเปรี้ยวจัด
การเจริญเติบโต
ผลผลิต
Resumo:  Study on the response of rice, RD. 43 variety, grown on Ongkharak soil with residual lime to rates of phosphate calculated from P adsorption characteristics such as P adsorption capacity with the value of 802 mgP kg-1 (Pmax), half of Pmax (401 mg P kg-1), 0.2 mg P L-1 (398 mg P kg-1) and the rate of 157 mg P kg-1 recommended by DOA and to different types of phosphate fertilizer, including tripple super phosphate and rock phosphate was conducted. Fifteen days old rice seedling was transplanted in pot under greenhouse cover. Urea and KCl at the rates of 504 and 260 mg kg-1 were used as top dressing for all treatments and the former at the rate of 98 mg kg-1 was applied at flowering stage. Results revealed that using of TSP as well as applying P at the rate of Pmax (802 mgP kg-1) gave significantly better vetgetative growth and higher seed yield than did the applications of rock phosphate and other rates of P. In addition, the TSP and Pmax rate tended to lower soil P adsorption. Application of TSP at 3.96 mg kg-1 gave the highest seed yield of 264.9 g pot-1 whereas addition of RP at the equivalent amount of P contrastingly gave a lower seed weight (20.1 g pot-1). No P application gave the slowest vegetative growth and the lowest seed yield (7.5 g pot-1).

ทำการศึกษาการตอบสนองของข้าวพันธุ์ กข. 43 ที่ปลูกในดินองค์รักษ์ที่มีปูนตกค้างต่ออัตราของฟอสฟอรัสที่ได้มาจากลักษณะการดูดซับฟอสฟอรัสของดิน ได้แก่ ที่การดูดซับฟอสฟอรัสสูงสุดของดิน (802 มก.ฟอสฟอรัส/กก.)ที่ครึ่งหนึ่งของการดูดซับฟอสฟอรัสสูงสุดของดิน (401 มก.ฟอสฟอรัส/กก.) ที่ความเข้มข้นของฟอสฟอรัสในสารละลายดิน0.2 มก./ลิตร (398 มก.ฟอสฟอรัส/กก.) และอัตราที่แนะนำโดยกรมวิชาการเกษตร (157 มก.ฟอสฟอรัส/กก.) และเปรียบเทียบชนิดของปุ๋ยฟอสฟอรัส 2 ชนิด ได้แก่ ทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟตและหินฟอสเฟต ทำการปักดำกล้าข้าวที่อายุ 15 วันในเรือนทดลอง ในทุกตำรับการทดลอง รองพื้นด้วยยูเรียและโพแทสเซียมคลอไรด์ในอัตรา 504 และ 260 มก./กก.ตามลำดับ และแต่งหน้าด้วยยูเรียที่ระยะกำเนิดช่อดอกในอัตรา 98 มก./กก. ผลการศึกษาพบว่า การใช้ปุ๋ยทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต เช่นเดียวกันกับการใส่ฟอสฟอรัสในอัตรา 802 มก./กก. ส่งผลให้ข้าวเจริญเติบโตและให้ผลผลิตน้ำหนักเมล็ดสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้หินฟอสเฟต หรือการใส่ฟอสฟอรัสในอัตราอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมทั้งมีแนวโน้มลดการดูดซับฟอสฟอรัสของดิน โดยการใส่ปุ๋ยทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟตอัตรา 3.96 มก./กก. จะให้น้ำหนักเมล็ดดีสูงที่สุดเท่ากับ 264.9 มก./กระถาง แต่เมื่อใส่หินฟอสเฟตในอัตราที่ให้ฟอสฟอรัสเท่ากันกลับส่งให้น้ำหนักเมล็ดลดลงอย่างชัดเจน (20.1 ก./กระถาง) และการไม่ให้ฟอสฟอรัสจะส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวต่ำที่สุด (7.5 ก./กระถาง)
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5149

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2012, V. 40, No. 1, p. 27-36

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2555, ปีที่ 40, ฉบับที่ 1, หน้า 27-36
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional