Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การติดเชื้อรา Aspergillus flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง 6 พันธุ์เมื่อกระทบแล้งในช่วงปลายของการเจริญเติบโต
Aspergillus flavus infection and aflatoxin contamination of six peanut genotypes grown under terminal drought
Autores:  Ratanaporn Koolachart
Teerayoot Girdthai
Sanun Jogloy
Nimitr Vorasoot
Sopone Wongkaew
Aran Patanothai
Data:  2012-08-15
Ano:  2011
Palavras-chave:  Arachis hypogaea L.
Aflatoxin
Drought tolerance
Peanut
Aspergillus flavus
ถั่วลิสง
อะฟลาทอกซิน
การปนเปื้อนเชื้อรา
ผลกระทบแล้ง
การทนแล้ง
ระยะสร้างฝัก
ผลผลิต
พันธุ์
Resumo:  ช่วงปลายของการเจริญเติบโตของถั่วลิสง เป็นช่วงของการเติมเต็มเมล็ดและการสุกแก่ การกระทบแล้งในช่วงนี้ นอกจากทำให้ผลผลิตลดลงแล้วยังเพิ่มโอกาสการติดเชื้อราที่สร้างสารอะฟลาทอกซินในเมล็ด ซึ่งถั่วลิสงพันธุ์ที่ทนแล้งสามารถลดการติดเชื้อรา Aspergillus flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินได้ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบแล้งในระยะสร้างฝักถึงเก็บเกี่ยวต่อการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในเมล็ดถั่วลิสง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินของถั่วลิสง และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสรีรวิทยาการทนแล้งกับลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง 6 พันธุ์ ทำการทดลองในสภาพไร่ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize complete block design (RCBD) มี 4 ซ้ำ ปลูกทดสอบ 2 ปี ระหว่างปี 2547/2548 และ ปี 2548/2549 ทำการปลูกเชื้อรา A. flavus ทั่วทั้งแปลงทดลอง เมื่อถั่วลิสงอายุ 30 วันหลังปลูก และควบคุมความชื้นดินที่ 1/3 ของความจุสนาม เมื่อ 80 วันหลังปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว บันทึกข้อมูลลักษณะการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ข้อมูลผลผลิตและข้อมูลทางด้านสรีรวิทยา (SPAD chlorophyll meter reading (SCMR) และ Specific leaf area (SLA)) ผลการศึกษาพบว่าถั่วลิสงพันธุ์ที่ต่างกันเมื่อกระทบแล้งในช่วงปลายของการเจริญเติบโตในแต่ละปีมีการติดเชื้อรา A. flavus และ การปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยพบว่าพันธุ์ KKU 60 มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อรา A. flavus และปริมาณการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินต่ำสุด (14% และ 553 ppb ตามลำดับ) ขณะที่พันธุ์ KKU 72-1 มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อรา A. flavus มากที่สุด (30%) และพันธุ์ KKU 1 มีปริมาณการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมากที่สุด (898 ppb) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติในทางลบ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อรา A. flavus กับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบระหว่าง SCMR กับการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง SLA กับการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือก พันธุ์ถั่วลิสงให้ทนแล้งและลดการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน คำสำคัญ: Arachis hypogaea L., ทนแล้ง, อะฟลาทอกซิน

ช่วงปลายของการเจริญเติบโตของถั่วลิสง เป็นช่วงของการเติมเต็มเมล็ดและการสุกแก่ การกระทบแล้งในช่วงนี้ นอกจากทำให้ผลผลิตลดลงแล้วยังเพิ่มโอกาสการติดเชื้อราที่สร้างสารอะฟลาทอกซินในเมล็ด ซึ่งถั่วลิสงพันธุ์ที่ทนแล้งสามารถลดการติดเชื้อรา Aspergillus flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินได้ การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบแล้งในระยะสร้างฝักถึงเก็บเกี่ยวต่อการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในเมล็ดถั่วลิสง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินของถั่วลิสง และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสรีรวิทยาการทนแล้งกับลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง 6 พันธุ์ ทำการทดลองในสภาพไร่ หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize complete block design (RCBD) มี 4 ซ้ำ ปลูกทดสอบ 2 ปี ระหว่างปี 2547/2548 และ ปี 2548/2549 ทำการปลูกเชื้อรา A. flavus ทั่วทั้งแปลงทดลอง เมื่อถั่วลิสงอายุ 30 วันหลังปลูก และควบคุมความชื้นดินที่ 1/3 ของความจุสนาม เมื่อ 80 วันหลังปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว บันทึกข้อมูลลักษณะการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ข้อมูลผลผลิตและข้อมูลทางด้านสรีรวิทยา (SPAD chlorophyll meter reading (SCMR) และ Specific leaf area (SLA)) ผลการศึกษาพบว่าถั่วลิสงพันธุ์ที่ต่างกันเมื่อกระทบแล้งในช่วงปลายของการเจริญเติบโตในแต่ละปีมีการติดเชื้อรา A. flavus และ การปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยพบว่าพันธุ์ KKU 60 มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อรา A. flavus และปริมาณการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินต่ำสุด (14% และ 553 ppb ตามลำดับ) ขณะที่พันธุ์ KKU 72-1 มีเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อรา A. flavus มากที่สุด (30%) และพันธุ์ KKU 1 มีปริมาณการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมากที่สุด (898 ppb) พบความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติในทางลบ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อรา A. flavus กับการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบระหว่าง SCMR กับการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง SLA กับการติดเชื้อรา A. flavus และการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซินมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการคัดเลือก พันธุ์ถั่วลิสงให้ทนแล้งและลดการปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน คำสำคัญ: Arachis hypogaea L., ทนแล้ง, อะฟลาทอกซิน
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5109

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2011, V. 39, Suppl. 3, p. 12-22

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2554, ปีที่ 39, ฉบับพิเศษ 3, หน้า 12-22
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional