Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การศึกษาวิธีทางเขตกรรมที่ช่วยให้อ้อยทนแล้ง
Study on the method of cultivation practice for cane production under drought condition
Autores:  Nuchjarin Puengpa
Artasit Boontham
Data:  2013-04-04
Ano:  2012
Palavras-chave:  Rotary
Soil mulching
Ripper
อ้อย
การพรวนดิน
จอบหมุน
ริปเปอร์
การเขตกรรม
อ้อยทนแล้ง
การไถพรวน
ผลผลิต
Resumo:  Experiment was conducted to compare 4 method of Cultivation practice for cane production under drought condition at Banrai Sugar Industry Farm, Noen Kham district, Chainat province in 2009. The experimental design was RCBD with 5 replications, there were 4 treatments, i.e.:1)soil mulching by rotary plow after using ripper in interrow, 2) soil mulching by only rotary plow, 3) planted jack bean and 4)no cultivation (control). The results showed that soil moisture underground moved upward into root zone of cane when ripper was used in interrow and followed by using rotary plow for soil mulching. Using ripper with rotary plow gave the highest cane yield (17.94 ton/rai). Whereas using only rotary plow, planted jack bean and no cultivation gave cane yield of 16.61, 15.46 and 11.07 ton/rai, respectively. There were not significant between sugar content, sugar content were between 12-13 CCS. Cane was plowed in interrow by ripper with rotary gave the highest sugar yield (2.49 ton CCS/rai). The results indicated that ripper was used to break up soil at depths below for inducing water to move in root zone of cane and soil moisture conservation by using rotary plow under drought condition

การศึกษาวิธีทางเขตกรรมที่ช่วยให้อ้อยทนแล้ง ได้ทำการศึกษาในอ้อยปลูกปี 2552 ที่บ้านหนองแกตาเรือง อ.เนินขาม จ.ชัยนาท โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 ซ้ำ ประกอบด้วย 4 กรรมวิธี คือ 1)ไถริปเปอร์และมีการพรวนดินปิดความชื้นด้วยจอบหมุน 2) พรวนดินปิดความชื้นด้วยจอบหมุน 3)ปลูกถั่วพร้า 4) ไม่มีการไถริปเปอร์และไม่มีการพรวนดินปิดความชื้นเป็นวิธีการตรวจสอบ จากผลการทดลองพบว่า การไถริปเปอร์ระหว่างร่องอ้อยเป็นการนำความชื้นจากดินชั้นล่างให้ขึ้นมาเป็นประโยชน์กับบริเวณรากอ้อย ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้กรรมวิธีที่ 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่ากรรมวิธีอื่น คือ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 17.94 ตัน/ไร่ รองลงมาคือ กรรมวิธีที่ 2 (16.61 ตัน/ไร่) และกรรมวิธีที่ 3 (15.46 ตัน/ไร่) ส่วนอ้อยที่ไม่มีการไถริปเปอร์และไม่มีการพรวนดินปิดความชื้นให้ผลผลิตเพียง 11.07 ตัน/ไร่ ด้านคุณภาพความหวานของอ้อย (CCS) พบว่าอ้อยในทุกกรรมวิธีมีความหวานไม่แตกต่างกันทางสถิติโดยมีค่าความหวานอยู่ระหว่าง 12-13 CCS เมื่อพิจารณาทางด้านผลผลิตน้ำตาลพบว่า การไถริปเปอร์และมีการพรวนดินปิดความชื้นด้วยจอบหมุนให้น้ำตาลสูงกว่ากรรมวิธีอื่น คือ 2.49 ตัน CCS/ไร่ อันเป็นผลมาจากการไถริปเปอร์ช่วยให้ความชื้นในดินชั้นล่างเป็นประโยชน์กับอ้อยในช่วงแล้ง และช่วงที่ฝนตกน้ำซึมลงไปสะสมที่ดินชั้นล่างได้ง่าย ส่วนการพรวนดินปิดความชื้นช่วยรักษาความชื้นของดินชั้นล่างให้คงอยู่
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5322

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2012, V. 40, Suppl. 3, p. 92-95

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2555, ปีที่ 40, ฉบับพิเศษ 3, หน้า 92-95
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional