Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมข้าวด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา
Classification of rice genetic diversity by morphological traits
Autores:  Kittima Ruksopa
Prachack Lengbumrung
Perapol Muangngam
Data:  2014-12-25
Ano:  2014
Palavras-chave:  Rice
Genetic diversity
Cluster analysis
Morphological traits
Coefficient similarity
ข้าว
เชื้อพันธุกรรม
การวิเคราะห์กลุ่ม
ลักษณะสัณฐานวิทยา
สัมประสิทธิ์ความเหมือน
ลักษณะทางการเกษตร
Resumo:  Classification of rice genetic diversity aims to study the genetic relationship and reduce the duplication of collected rice varieties in the National Rice Seed Storage Laboratory for Genetic Resources. Cluster analysis of the morphological and agronomic traits of 211 rice varieties was calculated by Simple Matching and Square Euclidean as well as clustered by UPGMA and Ward method, respectively. Cluster based on morphology having 6 main groups indicated that the highest number of members within the group was Group 1 consisting of 137 rice varieties, followed by Group 2, 3, 15, 6 and 9 consisting of 16, 12, 6, 5 and 3 rice varieties, respectively. Cluster by agronomic traits having 9 main groups showed that the highest number of members was Group3 consisting of 126 varieties, followed by group 4 (17 varieties), 2 (16 varieties), 8 (11 varieties), 10 (5 varieties), 9 (4 varieties), 15 (4 varieties), 6 (3 varieties) and 17 (3 varieties). The morphological characters on each groups were mostly green in blade color, green in basal leaf sheath color, white in ligule color, pale green in auricle color with 2-cleft shape, pale green in collar color, white in apiculus color, white in sterile lemmas color, absent in awning, light in secondary branching, short hairs in lemma palea pubesence and non-waxy in endosperm type. Some agronomic traits, the highest of average value on culm length, culm diameter, number of panicle per hill, 100 grains weight, grain length, and grain width were found in group 8, 3, 17, 8, 8 and 15, respectively.

การศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อพันธุ์ข้าว สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการคัดเลือกพันธุ์พ่อแม่ เพื่อผสมพันธุ์ให้ได้พันธุ์ข้าวรุ่นลูกที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมเพิ่มขึ้น และมีลักษณะที่ดีตรงความต้องการ การจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมข้าวโดยวิธีการจัดกลุ่ม เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการศึกษาหาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม เพื่อลดการซ้ำซ้อนของพันธุ์ข้าว และสามารถแยกความหลากหลายของพันธุ์ข้าวให้เป็นกลุ่ม การศึกษาครั้งนี้ใช้พันธุ์ข้าวจำนวน 211 พันธุ์ วิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทางสัณฐานวิทยาโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน Simple Matching และจัดกลุ่มด้วยวิธี UPGMA สำหรับลักษณะทางการเกษตรวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน Square Euclidean และจัดกลุ่มด้วยวิธีของ Ward ผลการวิเคราะห์สามารถจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวทางสัณฐานวิทยาออกเป็น 6 กลุ่มหลัก โดยกลุ่มที่ 1 มีสมาชิกภายในกลุ่มพันธุ์ข้าวสูงสุดจำนวน 137 พันธุ์ ตามมาด้วย กลุ่มที่ 2, 3, 15, 6 และ 9 มีสมาชิกภายในกลุ่มพันธุ์ข้าวจำนวน 16, 12, 6, 5 และ 3 พันธุ์ ตามลำดับ สำหรับการจัดกลุ่มพันธุ์ข้าวด้วยลักษณะทางการเกษตรสามารถจัดกลุ่มได้ 9 กลุ่มหลัก โดย กลุ่มที่ 3 มีจำนวนสมาชิกภายในกลุ่มสูงสุดจำนวน 126 พันธุ์ ตามมาด้วย กลุ่มที่ 4, 2, 8, 10, 9, 15, 6 และ 17 มีจำนวน 17, 16, 11, 5, 4, 4, 3 และ 3 พันธุ์ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาภายในแต่ละกลุ่มของลักษณะสัณฐานวิทยา พบว่า ส่วนใหญ่สีแผ่นใบจะเป็นสีเขียว สีกาบใบสีเขียว สีลิ้นใบสีขาว รูปร่างของลิ้นใบมีสองยอด สีหูใบสีเขียวอ่อน สีข้อต่อใบสีเขียวอ่อน สียอดดอกสีขาว สีกลีบรองดอกสีขาว ข้าวไม่มีหาง ระแง้ถี่ ขนบนเปลือกเมล็ดสั้น และส่วนมากจะเป็นข้าวเจ้า สำหรับลักษณะทางการเกษตร กลุ่มพันธุ์ข้าวที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของลักษณะ เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ความยาวลำต้น จำนวนรวงต่อกอ น้ำหนัก 100 เมล็ดข้าวเปลือก ความยาวเมล็ดข้าวเปลือก และความกว้างเมล็ดข้าวเปลือก ได้แก่ กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ 8, 3, 17, 8, 8 และ 15 ตามลำดับ
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2013: Rice research center groups in central, eastern and western region], Kanchanaburi (Thailand), p. 52-61

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5638

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าว กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลาง ตะวันออก และ ตะวันตก ประจำปี 2556, กาญจนบุรี หน้า 52-61
Formato:  268 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional