Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อชนิดของเชื้อสาเหตุ และการระบาดของโรคข้าวในนาชลประทานที่ปลูกต่อเนื่อง
Effect of climate change on rice pathogen and disease epidemics in continuous irrigated rice cropping
Autores:  Acharaporn Na Lampang Noenplab
Rasamee Dhitikiattipong
Witchuda Rattanakarn
Wanporn Khemmook
Sith Jaisong
Pannipa Yajai
Piyawan Yaidee
Nootjarin jungkhun
Kornsiri Srinin
Taraporn Yuenyong
Duangkamon Boonchuay
Anakkapol Boonchuay
Duangporn Witoonjit
Nittaya Ruensuk
Chalermkwan Chimwai
Chalermchart Ruechaikarm
Kanok-orn Dawkmaitate
Wannapan janlapa
Tasdow Kate-nate
Chalermpol Chalermpolyothin
Sommai Sriwisut
Noppadol prayoonsook
Chanasirin Klinmanee
Saowanee Sribua
Data:  2016-02-26
Ano:  2014
Palavras-chave:  Climate change Rice pathogen
Rice epidemics Continuous cropping Irrigated rice การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เชื้อสาเหตุโรคข้าว การระบาดของโรคข้าว การทำนาต่อเนื่อง ข้าวนาชลประทาน
Resumo:  This study was carried out in the continuous irrigated rice cropping system during 2011-2013 by 8 rice research centers and Bureau of Rice Research and Development. Disease assessments were also conducted in the farmers’ fields in 16 provinces responsible by participating offices in the Upper and Lower North, Central, East and South of Thailand. The main objective was to investigate the relationship between meteorological data and disease epidemics through field survey and carried out experiment on continuous rice cultivation by sowing popular rice variety every month. Three significant rice pathogens i.e. Blast, Bacterial leaf blight and Ragged stunt were collected for diversification study. Results revealed that there were disease epidemics in 19 provinces, more than the scope initially proposed. Five most recorded diseases were Bacterial leaf blight, Blast, Brown spot, Bakanae disease and Bacterial leaf streak. Others were Dirty panicle, Ragged stunt and Grassy stunt. For continuous cropping system, popular rice varieties were sown every month in rice research centers. The statistic design of the experiment was Split plot in RCB with 3 replicates having month as the main plot and variety as sub-plot. It was found that during 2012/2013, Bacterial leaf blight and Brown spot were the two diseases reached critical level of severity at 4 rice research centers ; Chiang Rai, Chainat, Chachoengsao and Phatthalung. Considering climatic factors recorded by related centers, long-term data and disease severity, it was shown that these two diseases caused epidemics under warmer temperatures, lower humidity and greatly variable amount of precipitation compared to those of the long-term ones indicating well-adapted causal agents. Results showed the same trend as was recorded from the field survey. Eighty-one, 116 and 11 isolates of the causal agents of Blast, Bacterial leaf blight and Ragged stunt, respectively, were collected for diversification. At present, seed of differential sets of Blast and Bacterial leaf blight were under multiplication process awaited for further test. Similarly, RRSV double-stranded RNA was under preparation for characterization.

งานวิจัยนี้ ดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2554 - 2556 ในศูนย์วิจัยข้าว 8 แห่ง สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว และแปลงเกษตรกรในเขตพื้นที่ทำนาชลประทานอย่างต่อเนื่องในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในความรับผิดชอบของหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการ รวมทั้งหมด 16 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลอุตุนิยมวิทยากับการระบาดของโรคข้าวทั้งในแปลงนาเกษตรกรโดยการสำรวจ ในศูนย์วิจัยข้าวที่เกี่ยวข้องโดยปลูกข้าวพันธุ์ที่นิยมในพื้นที่ในแปลงนา ทุกเดือนตลอดทั้งปี และนำเชื้อสาเหตุโรคข้าวที่สำคัญที่พบการระบาด 3 ชนิด มาจำแนกความหลากหลาย คือ Pyricularia oryzae สาเหตุของโรคไหม้ Xanthomonas oryzae pv.oryzae สาเหตุของโรคขอบใบแห้ง และ Rice ragged stunt virus สาเหตุของโรคใบหงิก ผลการทดลอง พบว่า มีโรคข้าวระบาดในแปลงเกษตรกรเขตนาชลประทานที่ปลูกต่อเนื่องรวมทั้งหมด 19 จังหวัด มากกว่าจำนวนที่ตั้งขอบเขตไว้ โรคที่พบเรียงตามลำดับจำนวนแปลงและพื้นที่การระบาดที่พบ 5 อันดับแรก คือ โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคถอดฝักดาบ และโรคใบขีดโปร่งแสง โรคอื่นๆ ที่พบบ้าง คือ โรคเมล็ดด่าง โรคใบหงิก และโรคเขียวเตี้ย สำหรับการปลูกข้าวที่นิยมในพื้นที่ทุกเดือนอย่างต่อเนื่องในศูนย์วิจัยข้าว วางแผนการทดลองแบบ Split Plot in RCB จำนวน 3 ซ้ำ ใน พ.ศ. 2555/2556 พบโรคที่มีความรุนแรงถึงระดับวิกฤติ 2 โรค ด้วยกัน คือ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบจุดสีน้ำตาล ในศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ชัยนาท ฉะเชิงเทรา และพัทลุง เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลอุตุนิยมวิทยา พ.ศ. 2555/2556 ของจังหวัดที่พบโรคกับข้อมูลระยะยาวถึง 30 ปี ในภาพรวมพบว่า โรคขอบใบแห้งและใบจุดสีน้ำตาลสามารถระบาดได้ถึงระดับวิกฤติในสภาพที่ร้อนกว่า ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า และปริมาณน้ำฝนแปรปรวนสูงมากกว่าข้อมูลระยะยาว บ่งบอกถึงการปรับตัวได้ดีในสภาพฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป และสอดคล้องกับการสำรวจในแปลงเกษตรกร สำ าหรับเชื้อสาเหตุโรคข้าวนั้น เก็บเชื้อสาเหตุโรคไหม้ได้ 81 ไอโซเลท โรคขอบใบแห้ง 116 ไอโซเลท และโรคใบหงิก 11 ไอโซเลท ขณะนี้อยู่ระหว่างขยายเมล็ดพันธุ์ข้าวชุดทดสอบทั้งเชื้อสาเหตุโรคไหม้และขอบใบแห้งเพิ่มเติม เนื่องจากมีเมล็ดพันธุ์เริ่มต้นน้อย สำาหรับเชื้อสาเหตุโรคใบหงิกนั้น อยู่ระหว่างเตรียม RRSV double-stranded RNA Genome
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  Proceeding of The 31st Rice and Temperate Cereal Crop Annual Conference, Rayong (Thailand). p. 241-262

ISBN: 978-616-358-015-3

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5902

เอกสารการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 31 พ.ศ. 2557 ระยอง, หน้า 241-262
Formato:  526 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional