Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การประเมินพันธุกรรมความคงทนของการให้นํ้านมในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชียนที่ให้ลูกครั้งแรกโดยใช้โมเดลรีเกรซชันสุ่ม
Genetic evaluation for persistency of lactation in primiparous crossbred Holstein-Friesian dairy cattle using random regression model
Autores:  Phakphume Saowaphak
Monchai Duangjinda
Pongchan Na-Lampang
Pakanit Kuppitayanant
Choak Bulakul
Data:  2013-01-17
Ano:  2011
Palavras-chave:  Persistency of lactation
Genetic evaluation
Random regression model
Primiparous crossbred Holstein-Friesian dairy cattle
โคนม
พันธุ์ลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชียน
การประเมินพันธุกรรม
โมเดลรีเกรซชันสุ่ม
ความคงทนของการให้นํ้านม
ค่าการผสมพันธุ์
Resumo:  Objectives of this study were to 1) determine the appropriate Covariance Function Coefficient (CFC) number of Modified Normalized Legendre Polynomial (MNLP) using in Random Regression Models (RRLP) and 2) mathematical equation for calculate Persistency of Lactation (PL) value. All 9 RRLPs with different 3 to 5 CFC number nested within additive genetics and permanent environmental random effects were used to analyze total 25,845 test-day milk yield records of primiparous crossbred Holstein-Friesian dairy cattle from Chokchai farm. Variance components were estimated by average information-restricted maximum likelihood algorithm and predicted random effects with best linear unbiased prediction method. The results found that RRLP using 3 and 4 CFC numbers nested within additive genetics and permanent environmental random effects (RRLP(3,4)), respectively, was the most appropriate for genetic evaluation of PL. RRLP(3,4) had less number of CFC number, no over-estimation of heritability at the beginning and peak of lactation, and no negative genetic correlation along days in milk. In addition, the estimated breeding value from RRLP(3,4) were used to calculate the appropriate mathematical equation for PL (PL1, PL2, PL3, PL4). The result showed that PL3 was the most appropriate equation to calculate PL in primiparous crossbred Holstein-Friesian dairy cattle of Chokchai farm because it used all days in milk information and thespearman’s rank correlation between 305 days estimated breeding value and PL3 equal to 0.04, which implied the selection on 305 days estimated breeding value was independent from PL.

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจำนวนสัมประสิทธิ์ฟังก์ชันความแปรปรวนร่วมรูปแบบ Modified Normalized Legendre Polynomial (MNLP) ที่เหมาะสมสำหรับประกอบในโมเดลรีเกรซชันสุ่ม (Random RegressionModel, RRLP) และ 2) ศึกษาสมการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม สำหรับคำนวณค่าความคงทนของการให้นํ้านม (Persistency of Lactation, PL) โดยใช้โมเดลรีเกรซชันสุ่ม 9 โมเดล ที่มีจำนวนสัมประสิทธิ์ฟังก์ชันความแปรปรวนร่วมรูปแบบ MNLP จำนวน 3 ถึง 5 สัมประสิทธิ์ ซ้อนอยู่ในอิทธิพลทางพันธุกรรมแบบบวกสะสม และทางสิ่งแวดล้อมแบบถาวร สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลบันทึกปริมาณนํ้านมวันทดสอบ จำนวน 25,845 บันทึก จากโคนมลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชียนที่ให้ลูกครั้งแรกของฟาร์มโคนมโชคชัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึง 2547 จำนวน 2,893 ตัว ประมาณค่าองค์ประกอบความแปรปรวนด้วยวิธี Average Information-Restricted Maximum Likelihood (AI-REML) และประมาณค่าการผสมพันธุ์ด้วยเทคนิค Best Linear Unbiased Prediction (BLUP) จากการศึกษาเปรียบเทียบโมเดลทั้ง 9 โมเดล พบว่า โมเดล RRLP(3,4) มีความเหมาะสมที่สุดในการใช้ประเมินพันธุกรรมความคงทนของการให้นํ้านม โดยพิจารณาจากจำนวนพารามิเตอร์ที่ต้องทำการประมาณค่ามีจำนวนไม่มาก ค่าประมาณอัตราพันธุกรรมในช่วงเริ่มต้น และ ณ วันให้นํ้านมสูงสุดมีค่าไม่สูงเกินไป และค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างวันให้นํ้านมมีค่าไม่ติดลบ นอกจากนี้เมื่อนำค่าการผสมพันธุ์ที่ได้จาก RRLP(3,4) ไปใช้ในการศึกษาสมการคำนวณค่าความคงทนของการให้นํ้านม 4 รูปแบบ (PL1-PL4) พบว่าสมการ PL3 เป็นสมการที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้ประเมินพันธุกรรมลักษณะความคงทนของการให้นํ้านมในโคนมลูกผสมโฮลสไตน์-ฟรีเชียนที่ให้ลูกครั้งแรกของประชากรโคนมฟาร์มโชคชัย เนื่องจาก PL3 ใช้สารสนเทศจากวันให้นํ้านมตลอดการให้นํ้านม และมีค่าสหสัมพันธ์เชิงลำดับสเปียร์แมนเทียบกับค่าการผสมพันธุ์ 305 วัน เท่ากับ 0.04 นั้นหมายถึงการคัดเลือกโคนมจากค่าประมาณการผสมพันธุ์การให้นํ้านม 305 วัน เป็นอิสระจากการคัดเลือกโคนมด้วยค่าความคงทนของการให้นํ้านม
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5268

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, Jan-Mar 2011, V. 39, No. 1, p. 63-74

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, ม.ค.-มี.ค. 2554, ปีที่ 39, ฉบับที่ 1, หน้า 63-74
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional