Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  อิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อความแปรปรวนของลักษณะประจำพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
Environmental effects on varietal characteristic variation in photoperiod insensitive rice
Autores:  Charun Khawhnuna
Anchalee Prasertsak
Data:  2015-05-01
Ano:  2014
Palavras-chave:  Genetic
Variation
Morphology
Environment
Characteristic variation
Rice seeds
Seed production
Photoperiod insensitive rice
Rice grown
พันธุกรรม
ความแปรปรวน
สัญฐานวิทยา
สภาพแวดล้อม
ลักษณะประจำพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ข้าว
ข้าวไม่ไวแสง
การผลิตเมล็ดพันธุ์
พันธุ์รับรอง
ปริมาณน้ำฝน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การเจริญเติบโตของพืช
Resumo:  Research was conducted in order to study the environmental effects on characteristic variation in the photoperiod sensitive rice varieties at Nakhon Si Thammarat Rice Research Center during 2011-2013. Rice varieties in the study were included Pathum Thani 1, Phitsanulok 2, RD31 and RD41. Results showed that rice grown in April having plant height, number of tillers per hill, number of panicles per hill and panicle length more than rice grown in January and July. The number of filled grains and yields were highest when grew in January. Rice grown in April had high percentage of unfilled grains. The influence of other climatic conditions did not show obviously effect on the growth of rice varieties in the study.

ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ถูกควบคุมด้วยพันธุกรรมแต่สภาพแวดล้อมก็มีส่วนทำให้เกิดความแปรปรวนของลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางการเกษตรได้ เนื่องจากปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นปัญหาสำคัญของสิ่งแวดล้อมโลก เช่น อุณหภูมิ ฤดูกาล ปริมาณน้ำฝน จากการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์รับรองมักพบว่าข้าวบางพันธุ์มีความแปรปรวนค่อนข้างสูง เช่นคอรวงยาวผิดปกติ เมล็ดอ้วนป้อมและสั้นกว่าปกติ จากการศึกษาอิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อความแปรปรวนของลักษณะประจำพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง จำนวน 4 พันธุ์ คือ พันธุ์ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 กข 31 และ กข 41 ที่ศูนย์วิจัยข้าวนครศรีธรรมราชระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2556 พบว่าปริมาณน้ำฝนมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว โดยข้าวที่ปลูกในเดือนเมษายนการเจริญเติบโตด้านความสูง จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ และความยาวรวงจะสูงกว่าข้าวที่ปลูกในเดือนมกราคม และกรกฎาคม เนื่องจากปริมาณน้ำฝนในช่วงการเจริญเติบโตไม่มีความแตกต่างกันมากนัก จำนวนเมล็ดดีต่อรวงและน้ำหนักผลผลิตที่ความชื้น 14 เปอร์เซ็นต์ มีความสัมพันธ์กันพบว่าข้าวที่ปลูกในเดือนมกราคมจำนวนเมล็ดดีต่อรวงและน้ำหนักผลผลิตจะสูงที่สุด รองลงมาคือข้าวที่ปลูกในเดือนกรกฎาคมและเดือนเมษายน ตามลำดับ เนื่องจากข้าวที่ปลูกเดือนมกราคมระยะข้าวออกดอกปริมาณน้ำฝนมีน้อยไม่กระทบต่อการบานของดอกและการผสมเกสรของข้าว ส่วนเปอร์เซนต์เมล็ดลีบพบว่าข้าวส่วนใหญ่ที่ปลูกในเดือนเมษายนจะมีเปอร์เซนต์เมล็ดลีบมากที่สุดรองลงมาคือเดือนกรกฎาคมและมกราคม ตามลำดับ ส่วนอิทธิพลของสภาพแวดล้อมอื่นๆ ไม่ส่งผลที่แน่ชัดต่อการเจริญเติบโตของข้าวทั้ง 4 พันธุ์และทุกช่วงระยะเวลาปลูกตลอดจนลักษณะทางพฤกษศาสตร์และคุณสมบัติทางเคมีก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แน่ชัดเช่นกัน
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2014: Rice research southern region groups], Phattalung (Thailand), p. 134-150

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5668

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคใต้ ประจำปี 2557, พัทลุง, หน้า 134-150
Formato:  162 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional