Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การเพิ่มระดับความต้านทานต่อโรคไหม้ในพันธุ์ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย
Increasing blast resistance in HPSL 1 using marker assisted selection
Autores:  อภิชาต เนินพลับ
อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ
สุรเดช ปาละวิสุทธิ์
Data:  2016-02-26
Ano:  2015
Palavras-chave:  Khao’ Jao Hawm Phitsanulok 1
Rice blast
Lower Northern of Thailand
Marker assisted
Selection
ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1
โรคไหม้
ภาคเหนือตอนล่าง
โมเลกุลเครื่องหมาย
การคัดเลือกพันธุ์
Resumo:  Rice blast is a one of the most important rice disease. It could cause severe yield damage. Therefore, it is vital for rice improvement aiming for blast resistance especially for those containing as good cooking quality as Khao Dawk Mali 105 (KDML105); Khao’ Jao Hawm Phitsanulok 1 (HPSL1) belongs to this group except a slightly longer maturity than that of KDML105. Nowadays, molecular technology has been used for a greater efficiency in selection through a marker assisted selection. DNA primers specific to gene(s) or QTLs related to rice blast defense mechanism were developed. In this study, a cross between HPSL1 and two donors; P280-2 and P280-5 was carried out. These donors contain blast resistance genes on chromosome 1, 2, 11 and 12 identified by 6 specific primers i.e. RM212, RM319, RM208, RM144 RM224 and RM179, functioning as the simple sequence repeated (SSR) type marker. Population selected was back-crossed to HPSL1 3-4 time using Rapid Generation Advance (RGA) method to enhance faster flowering, afterwhich marker assisted selection was used to look for pure line(s) harboring targeted gene. This resulted in 11 pure lines being evaluate in the intra-station yield trials. All test lines showed the increase in blast resistance while retaining the same chemical quality and aroma as HPSL1. Only some line had similar physical properties as HPSL1.

โรคไหม้เป็นโรคที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งของข้าวที่สามารถทำความเสียหายต่อผลผลิตได้อย่างรุนแรง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ต้านทานต่อโรคไหม้ โดยเฉพาะในกลุ่มข้าวมีคุณภาพการหุงต้มเหมือนข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 เป็นหนึ่งในกลุ่มนี้ที่คุณภาพใกล้เคียงกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 เว้นแต่อายุการเก็บเกี่ยวหนักกว่าเล็กน้อย ในปัจจุบันได้มีการนำโมเลกุลเครื่องหมายเข้ามาใช้คัดเลือกข้าวพันธุ์ผสม โดยการพัฒนา primer ที่ link กับ gene หรือ QTLs ที่ต้านทานต่อโรคไหม้มาช่วยคัดเลือก ทำให้ประสิทธิภาพที่จะได้ข้าวพันธุ์ผสมสูงขึ้น การทดลองนี้ได้เริ่มผสมพันธุ์ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 กับ donor คือ P280-2 และ P280-5 ที่มียีนความต้านทานโรคไหม้ตั้งอยู่บนโครโมโซมคู่ที่ 1 2 11 และ 12 link กับ primer RM212 RM319 RM208 RM144 RM224 RM179 ซึ่งเป็น simple sequence repeat (SSR) เมื่อคัดเลือกลูกผสมแล้วนำไปผสมกลับ (back cross) ไปหาข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 แล้วใช้การเร่งอายุข้าว (Rapid Generation Advance, RGA) มาช่วยเร่งให้ข้าวออกดอกเร็วขึ้น จนถึงการผสมกลับชั่วที่ 3-4 และคัดเลือกต่อโดยใช้โมเลกุลเครื่องหมายจนได้ลักษณะการเป็นพันธุ์แท้ในตำแหน่งที่คัดเลือกได้จำนวน 11 สายพันธุ์ นำสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้เข้าเปรียบเทียบผลผลิตข้าวภายในสถานี พบว่าทุกสายพันธุ์ที่พัฒนาได้มีความต้านทานต่อโรคไหม้เพิ่มมากขึ้น ส่วนคุณภาพทางเคมี ความหอม เหมือนกับพันธุ์ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 และคุณภาพทางกายภาพของบางสายพันธุ์เหมือนกับข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of The 8th rice research conference 2015: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chiang Rai (Thailand), p. 3-16

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5906

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2558, เชียงราย หน้า 3-16
Formato:  298 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional