Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  อิทธิพลของการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคไหม้คอรวงในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
Effect of fungicide usage on neck blast infection levels in Khow Dok Mali 105 seed production field
Autores:  Teerawat Suwannual
Jumrat Sunyo
Data:  2015-05-01
Ano:  2014
Palavras-chave:  Rice
Rice seeds
Khow Dok Mali 105
KDML 105
Seed production
Neck blast
Plant disease
Fungicide
Mae Hong Son province
เมล็ดพันธุ์ข้าว
พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
การผลิตเมล็ดพันธุ์
เชื้อรา
โรคไหม้คอรวง
การป้องกันโรคพืช
สารป้องกันกำจัดโรคไหม้
สารเคมีกำจัดเชื้อรา
ประสิทธิภาพการป้องกันโรค
จ.แม่ฮ่องสอน
Resumo:  Studies was conducted to determine the effects of fungicide usage on rice blast disease, caused by Pyricularia grisea (Cooke) Sacc. [= Magnaporthe grisea (Hebert) Barr] on rice cultivar KDML105 in Mae Hong Son Province. The four fungicides usage were isoprothiolane (Fuji one) tricyclazol (Beam 75%wp) Azoxystrobin + Difenoconazole (Ortiva 32 SC and Carbendazim (Cardazin-F). The results showed the four fungicides were use in rice KDML105 to be more effective in suppressing blast and protecting yield, compared to control (non-treat). The fungicides that Azoxystrobin + Difenoconazole was moderately resistant to leaf and neck blast, with the lowest percentage unfilled grains per panicle and have highest yield (669 kg/rai) with compare to the other.

โรคไหม้เกิดจากเชื้อราสาเหตุ Pyricularia grisea (Cooke) Sacc. ซึ่งในระยะการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ Magnaporthe grisea (Hebert) Barr. เชื้อสาเหตุสามารถเข้าทาลายได้ตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะข้าวออกรวง เข้าทาลายได้ที่ใบ ข้อ ข้อต่อใบ ข้อต่อลำต้น คอรวง และบางส่วนของรวง แต่ส่วนใหญ่ จะเข้าทำลายที่ใบ และหากเข้าทำลายในระยะออกรวงทำให้ผลผลิตลดลงมากที่สุดถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จากการที่เชื้อสาเหตุโรคไหม้มีความแปรปรวนมากทำให้การป้องกันกำจัดโรคทำได้ค่อนข้างยาก พื้นที่ปลูกข้าวในจังหวัดแม่ฮ่องสอนการป้องกันกำจัดโรคไหม้ในการปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 นั้นทำได้ยาก ซึ่งโรคไหม้คอรวงเป็นโรคที่สำคัญของการปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 รวมถึงการผลิตเมล็ดพันธุ์ด้วย การหาวิธีและสารป้องกันกำจัด ที่เหมาะสมในการป้องกันโรคไหม้คอรวงนั้นเป็นสิ่งสำคัญของการผลิตเมล็ดพันธุ์ ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน การทดลองนี้พบว่าเมื่อพ่นสารป้องกันกำจัดโรคไหม้ isoprothiolane (Fuji one) tricyclazol (Beam 75%wp) Azoxystrobin + Difenoconazole (Ortiva 32 SC) และ Carbendazim (Cardazin-F) ทำให้เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคไหม้ลดลง และผลผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับแปลงที่ไม่พ่นสารและพ่นสาร Azoxystrobin + Difenoconazole มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไหม้สูงสุด ทำให้เมล็ดลีบน้อยที่สุด และได้ผลผลิตมากที่สุดคือ 669.11 กิโลกรัมต่อไร่ และมีค่าการเกิดโรคต่ำสุด และยังพบว่าแปลงที่ไม่พ่นสารป้องกันกำจัดโรคไหม้ทำให้ผลผลิตลดลง 50.90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับแปลงที่ให้ผลผลิตสูงสุด
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2014: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chainat (Thailand), p. 397-401

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5665

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2557, ชัยนาท, หน้า 397-401
Formato:  434 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional