Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ข้าวลืมผัวจากการวิจัยสู่การใช้ประโยชน์: เทคโนโลยีการผลิตข้าวลืมผัว
Rice variety "Luempua" from research to utilization: Production technology
Autores:  Acharaporn Na Lampang Noenplab
Kawaporn Phumchoei
Apichart Noenplab
Pongsa Sukserm
Rattapong Meekun
Silawan Chandharabutra
Titima Khantiyawit
Supattana Bureerat
Data:  2015-05-07
Ano:  2014
Palavras-chave:  Luempua rice
Nutrition
Anthocyanin
Antioxidant
Organic production
Brown planthopper
Production technology
Rice variety
Coloured rice
Glutinous rice
Rice production
Cost
ข้าวลืมผัว
คุณค่าโภชนาการ
แอนโทไซยานิน
สารต้านอนุมูลอิสระ
การผลิตแบบอินทรีย์
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
เทคโนโลยีการผลิต
ข้าวเหนียวดำ
การผลิตข้าว
วิธีการเพาะปลูก
การใส่ปุ๋ย
การลดต้นทุน
Resumo:  Luempua is a dark-purple glutinous upland rice belongs to the Mong hilltribe. The origin prior to the time of seed purification was the mountainous area 450 m above sea level. The variety is normally grown in the wet season under upland condition. To obtain the information for appropriate time of sowing and growing with water as for the lowland sowing, Luempua was sown by transplanting in the cement container every 15 days from 2010-2013 at Phitsanulok Rice Research center (PSL). Results revealed that the most appropriate time of sowing is from mid to the end of May and the lowland areas especially those prone to Brown planthopper infestation are not recommended. Seed conservation was carried out at 3 sites i.e. upland farmer’s field, amphoe Khao Kor, Phetchabun province (KK), Mae Hong Son Rice Research Center (MHS), Samoeng Rice Research Center (SMG) in 2012 of which the sites were limited to only KK in 2013 due to delayed and sparse rainfall in the other sites. Seed production was carried out at KK, SMG and Chum Phae Rice Research Center (CPA) in 2012 and only KK in 2013 due to the limited rainfall. Since anthocyanin production prefers low temperature, 3 packages of production technology for Luempua were carried out at KK and MHS during 2012-2013 i.e. chemical, chemical+organic and organic. 2012 results showed that at KK the tendency for the best package was the organic one giving the highest yield of 432 kg/rai and 6,563 Bht. as a profit while the best one at MHS was chemical+organic package giving 394 kg/rai. Results from 2013 followed the same trend, the chemical + organic and the organic packages at KK provided the similar best yield of 389 and 385 kg/rai giving 3,043 and 3,885 Bht. as the profit, respectively. The similar yield but different profit reflected the lower cost of production for the organic package than the chemical+organic one. At MHS, the best package remained the same being chemical+organic giving 217 kg/rai and 1,306 Bht. as a profit. Seeds from all treatments at both KK and MHS were analyzed for chemical residue and results completely showed no evidence. All the information obtained would be the base knowledge for Luempua production aiming for the health market.

ข้าวลืมผัว เดิมเป็นข้าวเหนียวดำหอมที่เป็นข้าวไร่พื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ระยะเวลาปลูกและสภาพที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต คือ การปลูกในฤดูนาปีในสภาพไร่ดินร่วนซุยและมีความอุดมสมบูรณ์สูง พื้นที่ที่ปลูกเดิมก่อนนำมาทำพันธุ์ให้บริสุทธิ์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 450 เมตร ในการทดสอบช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูก โดยการปลูกทุก 15 วัน แบบปักดำ ระหว่างปี 2553-2556 ในบ่อซีเมนต์ ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก พบว่า ควรปลูกในฤดูนาปีตั้งแต่กลางจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม ผลผลิตจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อปลูกล่าช้าลง และการปลูกในพื้นราบที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำให้ผลผลิตเสียหายได้อย่างรุนแรง จึงไม่แนะนำในพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาด ในปี 2555 มีการปลูกเพื่อรักษาพันธุ์บริสุทธิ์ที่แปลงเกษตรกร อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน และศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง ซึ่งต่อมาในปี 2556 คงปลูกเพื่อรักษาพันธุ์ไว้ เฉพาะที่แปลงเกษตรกร อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ สำหรับการปลูกเพื่อขยายพันธุ์บริสุทธิ์ดำเนินการในปี 2555 ที่แปลงเกษตรกร อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง และศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ และปี 2556 เหลือเพียงแห่งเดียว คือ แปลงเกษตรกร อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ และเนื่องจากปริมาณสารแอนโทไซยานินมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับอุณหภูมิต่ำ ปี 2555-56 จึงได้ศึกษาแนวโน้มการให้ผลผลิตในสภาพไร่พื้นที่สูงเพื่อให้มีแนวทางสำหรับคำแนะนำแก่ผู้ผลิตเชิงสุขภาพ โดย เปรียบเทียบการผลิตในสภาพไร่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 2 ระดับ คือ ที่ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน (650 เมตร)และแปลงเกษตรกรอ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ (714 เมตร) ใช้ชุดเทคโนโลยี 3 ชุด คือ เคมี เคมี+อินทรีย์ และอินทรีย์ พบว่าในปีแรก แนวโน้มผลผลิตที่ดีที่สุดของทั้งแปลงเกษตรกรอำเภอเขาค้อ (432 กิโลกรัมต่อไร่) และศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน (394 กิโลกรัมต่อไร่) มาจากชุดเทคโนโลยีเคมี+อินทรีย์ โดยที่แปลงเกษตรกรอำเภอเขาค้อ ให้กำไร 6,563 บาทต่อไร่ ต่อมาในปี 2556 พบว่า ที่แปลงเกษตรกรอำเภอเขาค้อนั้น แนวโน้มของผลผลิตสูงสุดมาจากเทคโนโลยีเคมี+อินทรีย์ (389 กิโลกรัมต่อไร่)ใกล้เคียงกับ เทคโนโลยีอินทรีย์ (385กิโลกรัมต่อไร่) ซึ่งสูงกว่าเทคโนโลยีเคมี (310 กิโลกรัมต่อไร่) โดยผลกำไรได้ 3,043 3,885 และ 2,039 บาทต่อไร่ ตามลำดับ การที่ผลผลิตของเทคโนโลยีอินทรีย์น้อยกว่าเคมี+อินทรีย์ แต่กำไรมากกว่า เป็นผลสะท้อนเนื่องจากการลดต้นทุนการผลิตในด้านสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ส่วนที่ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอนนั้นแนวโน้มของชุดเทคโนโลยีที่ให้ผลผลิตสูงสุดยังคงเป็นเทคโนโลยีเข้าสู่วิถีอินทรีย์ ซึ่งให้ผลผลิต 217 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ผลกำไร 1,306 บาทต่อไร่ เมล็ดจากทุกกรรมวิธีของทั้งสองแห่งไม่พบสารพิษตกค้างใดๆ ข้อมูลทั้งหมดที่ได้ เป็นข้อมูลพื้นฐานซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในการผลิตข้าวลืมผัวเพื่อสุขภาพ
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2014: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chainat (Thailand), p. 286-307

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5676

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2557, ชัยนาท, หน้า 286-307
Formato:  434 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional