Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การทดสอบผลผลิตประชากรลูกผสมชั่วที่ 2 ที่ได้จากการผสมระหว่างพันธุ์ข้าวโพดหวานกับข้าวโพดเทียน
Yield trial of F2 population obtained from varietal crosses between sweet corn and thein corn varieties
Autores:  Kitti Boonlertnirun
Raweewun Suvannasara
Suchada Boonlertnirun
Data:  2012-09-18
Ano:  2012
Palavras-chave:  Germplasm
GCA
SCA
Thein Corn
Genetics
ข้าวโพดเทียน
สมรรถนะการผสมทั่วไป
สมรรถนะการผสมเฉพาะ
เชื้อพันธุ์
การคัดเลือกพันธุ์
ลักษณะทางการเกษตร
การปรับปรุงพันธุ์
Resumo:  Germplasm is an important factor to contribute to plant breeding successes. Thein corn varieties in Thailand are specific in each location. The seed collected from small size population, that a cause of narrow genetic base. The objective of this research was to find the potential of sweet corn varieties to improve agronomic traits of thein corn having adaptability on diverse environments. Forty-eight of F1 were obtained by varietal crosses between 12 sweet corn and 4 thein corn varieties as Line x Tester analysis. The F1 varietal crosses were selfed to produce F2 varietal cross populations about 30 ears/cross. Characteristic of F2 seeds in each ear segregated to normal and wrinkle. The normal seeds in each F2 varietal cross were tested by potassium iodide. Only seeds showed red brown endosperm were selected and bulked in each cross. The 48 F2 varietal cross populations were grown with 4 check varieties using randomized complete block design with 3 replications. The result showed that F2 varietal cross populations were significantly different for all studied traits. Yield based on ear number, ear size, plant height, ear height, and flowering date of segregating population were higher than check varieties. For yield based on ear per area, F2 varietal cross populations had ear number less than TLK1, a prolific check variety. HYB49 and WSS are sweet corn parents which produce high yield of F2 varietal cross populations, better than other sweet corn parents. However, interaction between sweet corn and thein corn parents exhibited significant difference (P<0.05) for marketable yield. There were 4 interesting F2 varietal cross populations namely AGR/TLK1, ATS2/TLK1, WSS/TLK1 and ATS5/TBK. Their SCA were 0.35, 0.35, 0.25 and 0.25 ear/plant, respectively and produced yield based on marketable ear number above 11000 ears/rai and gave marketable unhusked ear weight above 1.1 ton/rai. Their agronomic traits were good but ear size, especially ear diameter and number of seed rows exceeded thein corn standard. For population improvement or inbred extraction, breeder should focused on prolific ear, ear size and shape during make a selection.

เชื้อพันธุกรรมมีความสำคัญและเป็นปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จของการปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์ข้าวโพดเทียนในประเทศไทยมีลักษณะจำเพาะในแต่ละท้องถิ่น มีฐานพันธุกรรมแคบเนื่องจากการผสมกันในประชากรขนาดเล็กและเก็บเมล็ดพันธุ์สืบเนื่องกัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาพันธุ์ข้าวโพดหวานที่มีศักยภาพสำหรับเพิ่มความแปรปรวนทางพันธุกรรมของลักษณะทางการเกษตร เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้ข้าวโพดเทียนปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ดำเนินการโดยการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวโพดหวาน 12 พันธุ์กับข้าวโพดเทียน 4 พันธุ์ตามแบบการผสมพันธุ์ Line xTester analysis ได้ลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) จำนวน 48 คู่ผสม ปลูกลูกผสมชั่วที่ 1 ผสมตัวเองได้ลูกผสมชั่วที่ 2 (F2) จำนวนคู่ผสมละ30 ฝัก เมล็ดภายในแต่ละฝักมีการกระจายตัวของลักษณะเมล็ดเป็นเมล็ดปกติและเมล็ดเหี่ยวย่น คัดแยกเฉพาะเมล็ดปกติที่เอ็นโดสเปิร์มย้อมติดสีน้ำตาลแดงเมื่อทดสอบด้วยสารละลายโปแตสเซียมไอโอไดด์ เก็บเมล็ดรวมในแต่ละคู่ผสม ได้ประชากรชั่วที่ 2 จำนวน 48 ประชากร ปลูกทดสอบผลผลิตร่วมกับข้าวโพดเทียนพันธุ์เปรียบเทียบ 4 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล๊อคสมบูรณ์ ทำ 3 ซ้ำ พบว่า ประชากรชั่วที่ 2 มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) ในทุกลักษณะที่ศึกษา ประชากรลูกผสมชั่วที่ 2 มีค่าเฉลี่ย ผลผลิต ขนาดฝัก ความสูงต้น ความสูงฝัก และอายุออกดอกมากกว่าข้าวโพดเทียนพันธุ์เปรียบเทียบ ลักษณะผลผลิต พบว่าประชากรชั่วที่ 2 มีจำนวนฝักน้อยกว่าพันธุ์ TLK1 ซึ่งเป็นพันธุ์เปรียบเทียบที่มีฝักดก พันธุ์ HYB49 และ WSS เป็นข้าวโพดหวานที่ให้ลูกผสมชั่วที่ 2 ที่ดีกว่าข้าวโพดหวานพันธุ์อื่นๆ อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดเทียนที่ใช้เป็นพ่อแม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) ประชากรลูกผสมชั่วที่ 2 มีจำนวนฝักต่อต้นเฉลี่ย 1.3 ฝัก ประชากรที่น่าสนใจ คือ AGR/TLK1, ATS2/TLK1, WSS/TLK1 และ ATS5/TBK มีค่า SCA 0.35, 0.35, 0.25 และ 0.25 ฝัก/ต้น ตามลำดับ ทั้งสี่ประชากรมีจำนวนฝักมากกว่า 11000 ฝักต่อไร่ และน้ำหนักฝักดีสูงกว่า 1.1 ตัน/ไร่ ลักษณะทางการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีขนาดฝักใหญ่กว่าเกณฑ์มาตรฐานของข้าวโพดเทียน โดยเฉพาะความกว้างฝัก และจำนวนแถว ดังนั้นการปรับปรุงประชากร หรือการสกัดอินเบรดจากคู่ผสมดังกล่าว นักปรับปรุงพันธุ์ควรเน้นการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีฝักดก และพิจารณาขนาดและรูปทรงฝักให้เป็นไปตามมาตรฐานในช่วงของการคัดเลือกสายพันธุ์
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5151

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2012, V. 40, No. 1, p. 37-46

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2555, ปีที่ 40, ฉบับที่ 1, หน้า 37-46
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional