Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การใช้เชื้อไรโซเบียมร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตและโปรตีนในถั่วเหลือง
Rhizobium application accompanied with chemical and organic fertilizers to improve seed yield and protein in soybean
Autores:  Pornparn Suddhiyam
Achara Nantakit
Siriluk Jit-aksorn
Jitima Yathaputanon
Somchai Paoblek
Data:  2012-09-24
Ano:  2011
Palavras-chave:  Soybean
Nitrate tolerant rhizobium
Compost fertilizer
Chemical fertilizer
Protein content
ถั่วเหลือง
เชื้อไรโซเบียมทนไนเตรท
ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยเคมี
เปอร์เซ็นต์โปรตีน
การตรึงไนโตรเจน
ผลผลิตเมล็ด
Resumo:  Experiments were conducted to find out the way to improve soybean yield and protein content via nitrate tolerant rhizobium inoculant compared to intolerant inoculant in liquid media (Both inoculants are mixed strains.) accompanied with chemical and organic fertilizers. A randomized complete block design with three replications of 10 treatments was applied. The treatments were 1) no rhizo.+no fert. 2) liquid form of rhizo. only 3) liquid form of rhizo +chemical fert. 12-24-12 (25 kg/Rai) 4) liquid form of rhizo + 12-24-12 (25 kg/Rai) +compost (3,000 kg/Rai) 5) liquid form of rhizo +compost 6) nitrate tolerant rhizo only 7) nitrate tolerant rhizo +12-24-12 (25 kg/Rai) 8) nitrate tolerant rhizo +12-24-12 (25 kg/Rai)+compost 9) nitrate tolerant rhizo +compost 10) no rhizo+12-24-12 (25 kg/Rai). The study was carried out in four seasons in the dry season and the late rainy seasons, at Chiangmai Field Crops Research Centre in 2008 and 2009. Data were collected for the rate of N2 fixation (determined by acetylene reduction assay-ARA), number of root nodules, nodule dry weight, stem dry weight, seed yield, seed protein content and germination. Inoculants and forms of inoculants were not statistically different for rate of nitrogen fixation. The average ARA values for the application without fertilizer treatments were 9.90 µmol C2H4/plant/hr and 10.00 µ mol C2H4/plant/hr for nitrate tolerant and liquid rhizobium, respectively. Chemical fertilizer lowered the rate of N2 fixation, 1.87 µmol C2H4/plant/hr for nitrate tolerant rhizobium and 2.54 µmol C2H4/plant/hr for liquid rhizobium. Number of root nodules, nodule dry weight, weight of dry stems and seed yield were not significantly different between inoculants, with or without chemical fertilizer and compost or with both fertilizer treatments. Therefore seed treated with rhizobium before planting could replace and also provide higher net income over variable costs. Moreover, rhizobium only and rhizobium with chemical fertilizer were not significantly different in seed protein content (41.7-42.1%).

ศึกษาการใช้เชื้อไรโซเบียมที่คัดเลือกได้ในสภาพไนโตรเจนสูง และเชื้อไรโซเบียมในอาหารเหลวร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ในการผลิตถั่วเหลืองโปรตีนสูง ทำการทดลองโดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 10 กรรมวิธี ได้แก่ 1) ไม่ใช้ไรโซเบียม + ไม่ใช้ปุ๋ย 2) ใช้ไรโซเบียมเหลวอย่างเดียว 3) ไรโซเบียมเหลว + ปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 25 กก./ไร่ 4) ไรโซเบียมเหลว + ปุ๋ย 12-24-12 25 กก./ไร่ + ปุ๋ยหมัก 3,000 กก./ไร่ 5) ไรโซเบียมเหลว + ปุ๋ยหมัก 3,000 กก./ไร่ 6) ไรโซเบียมรวมทนไนเตรทสูงอย่างเดียว 7) ไรโซเบียมรวมทนไนเตรทสูง + ปุ๋ย 12-24-12 25 กก./ไร่ 8) ไรโซเบียมรวมทน ไนเตรทสูง + ปุ๋ย 12-24-12 25 กก./ไร่ + ปุ๋ยหมัก 3,000 กก./ไร่ 9) ไรโซเบียมทนไนเตรทสูง + ปุ๋ยหมัก 3,000 กก./ไร่ และ 10) ไม่ใช้ไรโซเบียม + ปุ๋ย 12-24-12 25 กก./ไร่ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ใน 4 ฤดู คือ ฤดูแล้ง ปี 2551 (มี 8 กรรมวิธี โดยไม่มีกรรมวิธีที่ 5 และ 9) ปลายฝน ปี 2551 ฤดูแล้ง ปี 2552 และปลายฝน ปี 2552 ใช้ถั่วเหลืองพันธุ์ ชม.60 บันทึกข้อมูล ประสิทธิภาพการตรึง N ของปมราก จำนวนปราก นน.แห้งปมราก นน.ต้นแห้ง ผลผลิต % โปรตีน และความงอก ผลการทดลองพบว่า การใช้เชื้อไรโซเบียมคลุกเมล็ดก่อนปลูกอย่างเดียว ทั้งชนิดเหลวและเชื้อทนไนเตรทสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนไม่แตกต่างกัน (10.00 µmol C2H4/ต้น/ชม. และ 9.90 µmol C2H4/ต้น/ชม. ตามลำดับ) แต่เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี (12-24-12 อัตรา 25 กก./ไร่) เชื้อทนไนเตรทสูงยังทำงานได้ดีกว่าเชื้อเหลว โดยการตรึง N ลดลงน้อยกว่า (ลดลง 1.87 µmol C2H4/ต้น/ชม. ขณะที่ใช้เชื้อเหลวลดลง 2.54 µmol C2H4/ต้น/ชม.) จึงสามารถใช้เชื้อไรโซเบียมได้ทั้ง 2 ชนิด และให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติในจำนวนปมราก (เฉลี่ย 95 ปม/ต้น เมื่อใช้เชื้อเหลวและ 102 ปม/ต้น เมื่อใช้เชื้อทนไนเตรท) นน.แห้งปมราก (เฉลี่ย 0.431 ก./ต้น เมื่อใช้เชื้อเหลวและ 0.443 ก./ต้น เมื่อใช้เชื้อทนไนเตรท) นน.ต้นแห้ง (เฉลี่ย 28.72 ก./ต้น เมื่อใช้เชื้อเหลวและ 31.29 ก./ต้น เมื่อใช้เชื้อทนไนเตรทในช่วงปลายฝน 2552) และผลผลิตเมล็ด (เฉลี่ย 441 กก./ไร่ เมื่อใช้เชื้อเหลวและ 501 กก./ไร่ เมื่อใช้เชื้อทนไนเตรทในช่วงปลายฝน ปี 2551) รวมทั้งสามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยหมัก และร่วมกับทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยหมักได้ โดยให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติเช่นกัน แต่เชื้อไรโซเบียมทนไนเตรทสูงมีประสิทธิภาพดีกว่าเชื้อไรโซเบียมปกติในสภาพที่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การใช้เชื้อไรโซเบียมอย่างเดียวสามารถทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี N ได้ และยังให้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนแปรผัน (variable cost) สูงกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ ส่วนเปอร์เซ็นต์โปรตีนในเมล็ด พบว่าการใช้เชื้อไรโซเบียมหรือไม่ใช้เชื้อไรโซเบียมแต่ใช้เชื้อในธรรมชาติ และใช้อย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีให้ผลไม่แตกต่างกัน (41.7-42.1%) ความงอกของเมล็ดสูงทุกกรรมวิธี อยู่ในช่วง 72.8-92.1%
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5157

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2011, V. 39, Suppl. 3, p. 113-122

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2554, ปีที่ 39, ฉบับพิเศษ 3, หน้า 113-122
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional