Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ผลของไนโตรเจนและซัลเฟอร์ต่อปริมาณอัลลิซิน ในกระเทียม (Allium sativum L.)
Effact of nitrogen and sulfur on allicin content in garlic (Allium sativum L.)
Autores:  Pitsanu Sukkaew
Arak Tira-umphon
Data:  2015-06-08
Ano:  2013
Palavras-chave:  Garlic
Allium sativum
Allicin content
Sulfur
Nitrogen
Plant nutrition
Plant physiology
Chemical composition
กระเทียม
อัลลิซิน
การให้ธาตุอาหาร
ธาตุอาหารพืช
ซัลเฟอร์
ไนโตรเจน
ความเข้มข้นของธาตุอาหาร
การตอบสนองของพืช
การสังเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี
Resumo:  Allicin is the most important secondary metabolite in garlic. It can inhibit the growth of various microorganisms, reduce plasma cholesterol, blood pressure, antiflamatory and reduce platelet aggregation. Plant nutrient is an important factor which affects the allicin content in garlic. In this, the research aimed to increase allicin content in garlic. Garlics were grown in growing bag containing substrate mixtures. They were fertilized with different nitrogen (N) and sulfur (S) concentrations and other nutrients. Three levels of N (180, 360 and 540 mg/l) and five levels of sulfur (25, 100, 175, 250 and 325 mg/l) were applied and treatments were arranged in Factorial combination in CRD, with four replications and two subsamples per replication. N and S contents were analyzed in the whole garlic tissue at 75 days after planted. Garlics were harvested at 90 days and allicin contents were measured after harvested for 30 days. The results showed applying 360 mg/l N fertilizer at resulted in the highest N content, S content and allicin content. Application of S fertilizer at 100, 175 and 250 mg/l yielded higher N content, S content and allicin content than fertilized with S 25 and 325 mg/l. The allicin contents in garlic were significantly correlated with S contents in whole garlic tissues.

อัลลิซินเป็นสารทุติยภูมิที่สำคัญในกระเทียมมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความดัน ช่วยต้านทานอาการอักเสบและลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด โดยที่ไนโตรเจน (N) และซัลเฟอร์ (S) ก็เป็นธาตุอาหารที่สำคัญที่จำเป็นในกระบวนการสังเคราะห์อัลลิซิน งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางเพิ่มปริมาณอัลลิซินในกระเทียม โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 เป็นระดับของ N ในสารละลายธาตุอาหารมี 3 ระดับคือ 180, 360 และ 540 mg/l ปัจจัยที่ 2 เป็นระดับของ S ในสารละลายธาตุอาหารมี 5 ระดับคือ 25, 100, 175, 250 และ 325 mg/l แต่ละทรีตเมนต์มี 4 ซ้ำ ซ้ำละ 2 ตัวอย่าง ทำการทดลองโดยปลูกกระเทียมในถุงดำโดยใช้วัสดุผสมเป็นวัสดุปลูก ให้สารละลายธาตุอาหารที่มี N และ S ในระดับที่ต่างกันแต่มีธาตุอาหารชนิดอื่นในระดับที่เท่ากัน เก็บผลการทดลองโดยวิเคราะห์ N และ S ในเนื้อเยื่อกระเทียมหลังปลูก 75 วัน เก็บเกี่ยวเมื่อกระเทียมมีอายุ 90 วัน และวิเคราะห์หาปริมาณอัลลิซินในกระเทียมหลังเก็บเกี่ยว 30 วัน พบว่าการให้ N ที่ระดับ 360 mg/l ให้ความเข้มข้นของ N, S และอัลลิซินในกระเทียมสูงสุด และการให้ S ที่ระดับ 100 175 และ 250 mg/l ให้ความเข้มข้นของ N S และอัลลิซินสูงกว่าการให้ S ที่ระดับ 25 และ 325 mg/l โดยที่ความเข้มข้นของอัลลิซินในกระเทียมมีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของ S ในเนื้อเยื่อกระเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5791

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2013, V. 41, Suppl. 1, p. 273-277

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2556, ปีที่ 41, ฉบับพิเศษ 1, หน้า 273-277
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional