Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การใช้วิธีทางนิเวศวิศวกรรมในนาข้าวเพื่อลดความสูญเสียจากการระบาด ของแมลงศัตรูข้าวอย่างยั่งยืน
Ecological engineering on rice to develop sustainable means to reducing crop losses due to rice pest outbreaks
Autores:  Nootjarin Jungkhun
Thongma Manakul
Konsiri Srinil
Nawarat Wongkum
Kuntera Kanta
Antika Tonmit
Data:  2014-06-09
Ano:  2012
Palavras-chave:  Ecological engineering
Crop losses
Rice pest
Outbreaks
Pesticides
Sustainable rice production
Natural enemies
นิเวศน์วิศวกรรม
การสูญเสีย
แมลงศัตรูข้าว
การระบาดของแมลงศัตรู
สารเคมีกำจัดแมลง
การผลิตข้าวอย่างยั่งยืน
พืชมีดอกบนคันนา
Resumo:  A study on ecological engineering on rice to develop sustainable means to reducing crop losses due to rice pest outbreaks were taken in wet season, 2011 at Chiangrai Rice Research Center and in farmer’s field at Phan District, Chiangrai Province. The main objective was to compare between of Ecological Engineering (EE) means (EE site) and farmer’s practices (control site) as well as the effects on numbers of pest and natural enemies. The numbers of species and amount of each insect pest and natural enemies were collected by visual counting, sweep net, yellow pan trap, egg bait trap and D-vac machine. It was found that : the major pest in EE site was Nephotettix spp. Whereas major natural enemies was spider such as Lycosa psedoannulata, Oxyopes sp., Argiope sp., and Araneus sp. And major parasitoids was Oligosita sp.. In control site ; the major pest was Sogatella furcifera (Horvath) whereas major natural enemies was Tetragnatha spp. And major parasitoids was Anagus sp.. The result showed that the diversity of Arthropod in EE site was relatively higher than control. In addition, the numbers of natural enemies tends to be increasing at a higher rate from seedling to flowering stage in EE site as compared to control site. Therefore, planting flora plants on the rice bund can induce the beneficial insects into the rice field. However, ecological engineering on rice should be done continuously to create a balance of the ecosystem in rice field and also reduce chemical pesticides for sustainable rice production.

การศึกษาการใช้วิธีทางนิเวศวิศวกรรม (Ecological Engineering, EE) ในนาข้าว เพื่อลดความสูญเสียจากการระบาดของแมลงศัตรูข้าวอย่างยั่งยืน ดำเนินการในฤดูนาปี 2554 ในพื้นที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย และแปลงนาเกษตรกร อ.พาน จ.เชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีทางนิเวศวิศวกรรม โดยปลูกพืชมีดอกบนคันนา และไม่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าว (แปลงนิเวศ) กับวิธีปฏิบัติของเกษตรกรไม่ปลูกพืชมีดอกบนคันนาและใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าว (แปลงเปรียบเทียบ) ที่มีผลต่อจำนวนของแมลงศัตรูข้าวและแมลงศัตรูธรรมชาติ จากการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสุ่มนับด้วยสายตา การใช้สวิงโฉบ การใช้กับดักถังเหลือง การวางกับดักไข่ และการใช้เครื่องดูดแมลง พบว่า แปลงนิเวศ แมลงศัตรูข้าวที่พบมากที่สุด คือเพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบมากที่สุด คือ แมงมุมขาสั้น แตนเบียนทำลายไข่เพลี้ยกระโดดที่พบมากที่สุด คือ แตนเบียน Oligosita sp. สาหรับแปลงเปรียบเทียบ แมลงศัตรูข้าวที่พบมากที่สุด คือ เพลี้ยกระโดดหลังขาว แมลงศัตรูธรรมชาติที่พบมากที่สุด คือ แมงมุมขายาว แตนเบียนทำลายไข่เพลี้ยกระโดดที่พบมากที่สุด คือ แตนเบียน Anagus sp. เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง 2 กรรมวิธี พบว่า แปลงนิเวศมีความหลากหลายของ อาร์โทรปอตสูงขึ้นกว่าแปลงเปรียบเทียบ และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนแมลงศัตรูธรรมชาติตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงระยะออกรวง พบว่า ในแปลงนิเวศมีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรแมลงศัตรูธรรมชาติมากกว่าแปลงเปรียบเทียบ ดังนั้น การปลูกพืชมีดอกบนคันนามีแนวโน้มให้แมลงศัตรูธรรมชาติอพยพมาอยู่อาศัยในแปลงนาเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีทางนิเวศวิศวกรรมในนาข้าวนี้ควรดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศในนาข้าวและลดการใช้สารเคมีเพื่อการผลิตข้าวที่ยั่งยืนต่อไป
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research symposium 2012: Rice research center groups in upper and lower northern region], Phitsanulok (Thailand), p. 114-127

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5582

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2555, พิษณุโลก, หน้า 114-127
Formato:  298 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional