Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การประเมินลักษณะเชื้อพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
Evaluation of local rice genetic resources in the lower northern
Autores:  Preamkamon Moonnilta
Jaturong Pipatpiriyanon
Nattanich Thawornkae
Kanyanai Kaewsanga
Data:  2015-05-11
Ano:  2014
Palavras-chave:  Genetic resources
Cluster analysis method
Simple matching
Morphology traits
Agronomic traits
Rice
Local varieties
Biodiversity
Lower northern
เชื้อพันธุกรรมข้าว
การวิเคราะห์กลุ่ม
สัมประสิทธิ์ความเหมือน
สัณฐานวิทยา
ลักษณะทางการเกษตร
ข้าว
พันธุ์พื้นเมือง
การจำแนกพันธุ์
ความหลากหลายทางพันธุกรรม
ภาคเหนือตอนล่าง
Resumo:  Evaluations in genetic relationship amomg local rice genetic resources in the lower northern region were perform edusing cluster analysis method. In this study, a total number of 81 rice varieties were selected and clustered in both morphology traits by using the UPGMA of simple matching and agronomic traits by using the Square Euclidean by Ward method. From the morphology traits grouping results, there were 14 clusters (G1-G14) with4 main clusters i.e.Group 12 Group13 Group 2 and Group 6 which could be grouped.The results also showed that Group 12 has the highest number of members of rice varieties that was 56 varieties. The characteristics of Group 12’s members were green leaf, green leaf sheet, white pollen, yellow grain, non-glutinous rice and the other parts of the rice were colorless. ForGroup13, there were 11 varieties classified into this group. The members of Group 13were classified as glutinous riceand was purple color in some parts of their rice plants that made them differ from Group 12. In Group 2 and Group 6, the purple color were found on some parts of leaves leaf sheaths ligules auricles pericarpsand there were also classified as glutinousricebut their grains color was white and purple in Group 2 and Group 6 respectively. The use of9 agronomic characteristics of rice for clustering agronomic traits could group of 9 clusters (G1-G9) which were consisted of 3 main clusters. The 71 varieties of Group 2 were found to have themeans value of leaf blade lengthandpanicle length at the maximum length comparing to the other group. While, the 6 members of Group 1 showed the maximum length in the ligule and the 3 members of Group 4 had the highest means value of stem diameter, stem length, leaf blade width, grain length and grain width. The results from this study show that the cluster analysis is one of the powerful method to identify the genetic diversity of the local rice and can be a helpful technique for rice breeding.

การประเมินลักษณะข้าวพันธุ์พื้นเมืองในเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้มีการจำแนกความหลากหลายของเชื้อพันธุกรรมของข้าวโดยวิธีจัดกลุ่มเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม การศึกษาครั้งนี้ใช้พันธุ์ข้าวจำนวน 87 พันธุ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการจัดกลุ่มทางสัณฐานวิทยา (สัมประสิทธิ์ความเหมือน simple matching จัดกลุ่มวิธี UPGMA) และลักษณะทางการเกษตร (สัมประสิทธิ์ความเหมือน Square Euclidean จัดกลุ่มวิธีของ Ward) ซึ่งสามารถจัดกลุ่มทางสัณฐานวิทยาออกเป็น14 กลุ่ม (G1-G14)มีกลุ่มหลักจำนวน 4 กลุ่มหลัก โดยกลุ่มที่ 12(G12) เป็นกลุ่มที่มีจำนวนพันธุ์ข้าวสูงสุดจำนวน 56 พันธุ์ มีลักษณะใบสีเขียว กาบใบสีเขียว ยอดเกสรสีขาว เมล็ดสีฟาง เป็นข้าวเจ้า ไม่มีลักษณะสีอื่นปรากฏตามส่วนต่างๆ ของต้นข้าว กลุ่มที่13(G13) มีจำนวนพันธุ์ข้าวทั้งหมด 11 พันธุ์ มีลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มที่ 12 ที่มีสีม่วงปรากฏ ในบางส่วนของต้นข้าว และเป็นข้าวเหนียว กลุ่มที่ 2(G2) และกลุ่มที่ 6(G6) จะพบลักษณะสีม่วงบนส่วนต่างๆ ของต้นข้าว เช่น สีของใบ กาบใบ หูใบ ลิ้นใบ สีเปลือกและเป็นข้าวเหนียว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน แตกต่างที่กลุ่มที่ 2 (G2)มีสีเมล็ดสีขาว แต่กลุ่มที่ 6(G6)เป็นสีม่วง สำหรับการจัดกลุ่มทางลักษณะทางการเกษตรสามารถจัดกลุ่มได้ 9 กลุ่ม (G1-G9) สามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก โดยกลุ่มที่ 2(G2) เป็นกลุ่มที่มีจำนวนพันธุ์ข้าวสูงสุด 71 พันธุ์ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดของลักษณะ ความยาวแผ่นใบ และความยาวรวงกลุ่มที่ 1(G1) มีพันธุ์ข้าวทั้งหมด 6 พันธุ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุดของลักษณะ ความยาวลิ้นใบสำหรับกลุ่มที่ 4(G4) มีพันธุ์ข้าวทั้งหมด 3 พันธุ์ โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดของลักษณะ เส้นผ่าศูนย์กลาง ความยาวลำต้น ความกว้างแผ่นใบ ความยาวเมล็ด และความกว้างเมล็ด แสดงให้เห็นว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองมีความหลากหลายทางพันธุกรรม ในลักษณะทางสัณฐานวิทยา และลักษณะทางการเกษตร ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคตได้
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2014: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chainat (Thailand), p. 344-355

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5689

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2557, ชัยนาท, หน้า 344-355
Formato:  434 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสาร นี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional