Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การประเมินความต้องการธาตุอาหารหลักของข้าวนาขั้นบันได โดยวิธี Omission Plot Technique
Evaluation of major nutrient requirement on terrace rice: Omission plot technique
Autores:  Apiwat Hantanapong
Satid Pinmanee
Data:  2014-03-04
Ano:  2013
Palavras-chave:  Rice terraces
Nutrition managements
Highland rice
ข้าว
การจัดการธาตุอาหาร
การใส่ปุ๋ย
ไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส
โพแทสเซียม
นาขั้นบันได
Resumo:  การปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่เป็นนาขั้นบันไดในพื้นที่ลาดชัน เป็นหนึ่งในระบบการปลูกข้าวที่ใช้เป็นทางเลือกเพื่อสร้างความยั่งยืนบนพื้นที่ภูเขาสูงของภาคเหนือตอนบน เพราะสามารถสร้างผลผลิตข้าวมากกว่าการปลูกข้าวไร่ระบบเดิม ไม่น้อยกว่า 1 เท่า แต่การปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่เป็นนาขั้นบันไดมักพบปัญหาเรื่องการความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากการขุดปรับเป็นนาใหม่ จึงดำเนินการทดลองเรื่อง การจัดการธาตุอาหาร โดยวิธี Omission Plot Technique พบว่า ในฤดูนาปี 2554 การใส่ปุ๋ยธาตุอาหารฟอสฟอรัสร่วมกับโพแทสเซียม (+PK หรือ -N) ทำให้ผลผลิตข้าวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (+NPK) สอดคล้องกับการไม่ใส่ปุ๋ยธาตุอาหารฟอสฟอรัส (+NK หรือ -P) หรือโพแทสเซียม (+NP หรือ -K) ในแปลงนาขั้นบันได มีผลให้ผลผลิตข้าวน้อยกว่าการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (+NPK)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มากกว่าการไม่ใส่ธาตุอาหาร และในฤดูนาปี 2555 นั้น ธาตุอาหารไนโตรเจนและโพแทสเซียมมีผลต่อผลผลิตข้าวนาขั้นบันได เนื่องจากการใส่ธาตุอาหารไนโตรเจน และโพแทสเซียม (+NK หรือ -P) ทำให้ผลผลิตข้าวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (+NPK) ในขณะที่การทดลองสภาพกระถางในฤดูนาปี 2554 และ 2555 พบว่า ธาตุฟอสฟอรัสมีผลต่อผลผลิตข้าวในกระถาง กล่าวคือ ถ้าไม่มีการใส่ธาตุฟอสฟอรัส (+NK หรือ -P) ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงใกล้เคียงกับการไม่ใส่ธาตุ (-NPK) แต่อย่างไรก็ดีควรมีการทดสอบเรื่องการจัดการธาตุอาหาร โดยวิธี Omission Plot Technique อีกหนึ่งปี เพื่อยืนยันผลการทดลอง ก่อนนำองค์ความรู้ที่ได้ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร

การปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่เป็นนาขั้นบันไดในพื้นที่ลาดชัน เป็นหนึ่งในระบบการปลูกข้าวที่ใช้เป็นทางเลือกเพื่อสร้างความยั่งยืนบนพื้นที่ภูเขาสูงของภาคเหนือตอนบน เพราะสามารถสร้างผลผลิตข้าวมากกว่าการปลูกข้าวไร่ระบบเดิม ไม่น้อยกว่า 1 เท่า แต่การปรับพื้นที่ปลูกข้าวไร่เป็นนาขั้นบันไดมักพบปัญหาเรื่องการความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากการขุดปรับเป็นนาใหม่ จึงดำเนินการทดลองเรื่อง การจัดการธาตุอาหาร โดยวิธี Omission Plot Technique พบว่า ในฤดูนาปี 2554 การใส่ปุ๋ยธาตุอาหารฟอสฟอรัสร่วมกับโพแทสเซียม (+PK หรือ -N) ทำให้ผลผลิตข้าวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (+NPK) สอดคล้องกับการไม่ใส่ปุ๋ยธาตุอาหารฟอสฟอรัส (+NK หรือ -P) หรือโพแทสเซียม (+NP หรือ -K) ในแปลงนาขั้นบันได มีผลให้ผลผลิตข้าวน้อยกว่าการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (+NPK)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มากกว่าการไม่ใส่ธาตุอาหาร และในฤดูนาปี 2555 นั้น ธาตุอาหารไนโตรเจนและโพแทสเซียมมีผลต่อผลผลิตข้าวนาขั้นบันได เนื่องจากการใส่ธาตุอาหารไนโตรเจน และโพแทสเซียม (+NK หรือ -P) ทำให้ผลผลิตข้าวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม (+NPK) ในขณะที่การทดลองสภาพกระถางในฤดูนาปี 2554 และ 2555 พบว่า ธาตุฟอสฟอรัสมีผลต่อผลผลิตข้าวในกระถาง กล่าวคือ ถ้าไม่มีการใส่ธาตุฟอสฟอรัส (+NK หรือ -P) ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงใกล้เคียงกับการไม่ใส่ธาตุ (-NPK) แต่อย่างไรก็ดีควรมีการทดสอบเรื่องการจัดการธาตุอาหาร โดยวิธี Omission Plot Technique อีกหนึ่งปี เพื่อยืนยันผลการทดลอง ก่อนนำองค์ความรู้ที่ได้ถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  Proceedings of the 30th Rice and Temperate Cereal Crops Annual Conference 2013, Bangkok (Thailand), p. 306-307

ISBN 978-974-403-928-6

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5541

เอกสารการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 30 พ.ศ. 2556, กรุงเทพฯ, หน้า 306-307
Formato:  326 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional