Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การใช้เศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบของแพะ
Utilization of pineapple waste as roughage source in goats
Autores:  Peerawat Namanee
Saowanit Kuprasert
Wanwisa Ngampongsai
Data:  2012-09-07
Ano:  2011
Palavras-chave:  Goats
Rumen fermentation
Performance
Pineapple waste
Feed
Nutrient digestibility coefficient
แพะ
กระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน
สมรรถภาพการผลิต
เศษเหลือของสับปะรด
อาหารหยาบ
อาหารสัตว์
สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะ
โรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋อง
Resumo:  การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เศษเหลือของสับปะรดจากโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋องเป็นแหล่งอาหารหยาบของแพะโดยแบ่งเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะสมดุลไนโตรเจนและกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนของแพะที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบ โดยใช้แพะลูกผสมพื้นเมืองไทย-แองโกลนูเบียน 50 เปอร์เซ็นต์เพศผู้ จำนวน 8 ตัว น้ำหนักตัวเฉลี่ย 37±2.33 กิโลกรัมแบ่งเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 2 ตัว ใช้แผนการทดลอง 4×4 Replicate Latin Square โดยแต่ละกลุ่มให้ได้รับอาหารหยาบดังนี้คือ (1) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง (2) เศษเหลือของสับปะรด (3) และ (4) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ โดยให้แพะทุกกลุ่มได้รับอาหารข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว (คิดเป็นวัตถุแห้ง) พบว่า สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุผนังเซลล์ และโภชนะที่ย่อยได้รวมของแพะที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรด และกลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก มีค่าไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่มีค่าสูงกว่า (P<0.01) กลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง ในขณะที่สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโปรตีนรวม ไนโตรเจนฟรีเอกซ์แทรก และลิกโนเซลลูโลส ของแพะทั้ง 4 กลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) สมดุลไนโตรเจนของแพะกลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 โดยน้ำหนัก สูงกว่ากลุ่มอื่น (P<0.01) ค่าความเป็นกรด-ด่างเฉลี่ยของของเหลวในกระเพาะรูเมนของแพะที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรด เศษเหลือของสับปะรดร่วมกับหญ้าแห้ง 1:10 และ1:20 (6.69, 6.69 และ 6.66) ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง (6.87)(P<0.05) ในขณะที่ระดับของแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในของเหลวในกระเพาะรูเมนของแพะทั้ง 4 กลุ่ม มีค่าอยู่ในช่วง 6.07 – 9.91 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (P>0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาปริมาณการกินได้ สมรรถภาพการผลิต ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในกระเพาะรูเมนโดยใช้เศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบ ใช้แพะลูกผสมพื้นเมืองไทย-แองโกลนูเบียน 50 เปอร์เซ็นต์เพศผู้ จำนวน 16 ตัวน้ำหนักเฉลี่ย 18±2.84 กิโลกรัม วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RandomizedCompleteBlock Design, RCBD) โดยแบ่งแพะออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับอาหารหยาบดังนี้คือ (1) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง (2) เศษเหลือของสับปะรด (3) และ (4) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ให้แพะทดลองได้รับอาหารหยาบอย่างเต็มที่ (ad libitum) และเสริมอาหารข้น2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว (คิดเป็นวัตถุแห้ง) ใช้เวลาในการทดลอง 90 วันพบว่า แพะทุกกลุ่มมีปริมาณอาหารที่กินได้ และน้ำหนักเพิ่มไม่แตกต่างกัน (P>0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวของกลุ่มที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรดกลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) สำหรับค่าความเป็นกรด-ด่างและค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในกระเพาะรูเมนของแพะทั้ง 4 กลุ่มอยู่ในช่วงปกติ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เศษเหลือของสับปะรดจากโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋องเป็นแหล่งอาหารหยาบของแพะโดยแบ่งเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะสมดุลไนโตรเจนและกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนของแพะที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบ โดยใช้แพะลูกผสมพื้นเมืองไทย-แองโกลนูเบียน 50 เปอร์เซ็นต์เพศผู้ จำนวน 8 ตัว น้ำหนักตัวเฉลี่ย 37±2.33 กิโลกรัมแบ่งเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 2 ตัว ใช้แผนการทดลอง 4×4 Replicate Latin Square โดยแต่ละกลุ่มให้ได้รับอาหารหยาบดังนี้คือ (1) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง (2) เศษเหลือของสับปะรด (3) และ (4) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ โดยให้แพะทุกกลุ่มได้รับอาหารข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว (คิดเป็นวัตถุแห้ง) พบว่า สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุผนังเซลล์ และโภชนะที่ย่อยได้รวมของแพะที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรด และกลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก มีค่าไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่มีค่าสูงกว่า (P<0.01) กลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง ในขณะที่สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโปรตีนรวม ไนโตรเจนฟรีเอกซ์แทรก และลิกโนเซลลูโลส ของแพะทั้ง 4 กลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) สมดุลไนโตรเจนของแพะกลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 โดยน้ำหนัก สูงกว่ากลุ่มอื่น (P<0.01) ค่าความเป็นกรด-ด่างเฉลี่ยของของเหลวในกระเพาะรูเมนของแพะที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรด เศษเหลือของสับปะรดร่วมกับหญ้าแห้ง 1:10 และ1:20 (6.69, 6.69 และ 6.66) ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง (6.87)(P<0.05) ในขณะที่ระดับของแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในของเหลวในกระเพาะรูเมนของแพะทั้ง 4 กลุ่ม มีค่าอยู่ในช่วง 6.07 – 9.91 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (P>0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาปริมาณการกินได้ สมรรถภาพการผลิต ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในกระเพาะรูเมนโดยใช้เศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบ ใช้แพะลูกผสมพื้นเมืองไทย-แองโกลนูเบียน 50 เปอร์เซ็นต์เพศผู้ จำนวน 16 ตัวน้ำหนักเฉลี่ย 18±2.84 กิโลกรัม วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RandomizedCompleteBlock Design, RCBD) โดยแบ่งแพะออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับอาหารหยาบดังนี้คือ (1) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง (2) เศษเหลือของสับปะรด (3) และ (4) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ให้แพะทดลองได้รับอาหารหยาบอย่างเต็มที่ (ad libitum) และเสริมอาหารข้น2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว (คิดเป็นวัตถุแห้ง) ใช้เวลาในการทดลอง 90 วันพบว่า แพะทุกกลุ่มมีปริมาณอาหารที่กินได้ และน้ำหนักเพิ่มไม่แตกต่างกัน (P>0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวของกลุ่มที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรดกลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) สำหรับค่าความเป็นกรด-ด่างและค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในกระเพาะรูเมนของแพะทั้ง 4 กลุ่มอยู่ในช่วงปกติ
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5148

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2012, V. 40, No. 1, p. 399-412

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2555, ปีที่ 40, ฉบับที่ 1, หน้า 399-412
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional