Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงแม่สุกรพื้นเมืองภายใต้รูปแบบการให้อาหารที่แตกต่างกันในเขตจังหวัดสกลนคร
Comparative study on the economic cost and profit of the native sow raised under different feeding patterns in Sakon Nakhon province
Autores:  Siriporn Sarnklong
Chaweng Sarnklong
Patcharin Saitong
Data:  2013-04-01
Ano:  2012
Palavras-chave:  Native pigs
Economic cost
Feeding patterns
Profit
สุกร
พันธุ์พื้นเมือง
รูปแบบการให้อาหาร
วัตถุดิบ
ต้นทุน
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
จ.สกลนคร
Resumo:  Comparative study on the economic cost and profit in rearing native pigs was carried out under different feeding patterns for weaned piglet production. Feeding patterns were composed of 1) the use of feed based on rice bran mixed with other raw materials, 2) the use of feed based on rice bran together with food scraps from restaurants, and 3) the use of feed based on rice bran together with food scraps from the farmers’ kitchen. Thestudied data were collected individually by means of 59 farmer interviews, pig feed sampling and measuring the body weight of weaned piglets at the selling time. The result revealed that farmers had a high confidence in the native pig marketing. The number of weaned piglets was not sufficient for the market demand. Sows in the treatment 1 had higher protein intake and body condition score than those in the treatment 2 and 3 (P<0.05). The sow feed cost was the main cost and was different among treatments ranking from the treatment 1, 3 and 2, respectively (P<0.05). The total costs of the treatment 1 were higher than those of the treatment 2 and 3 as 3,139.2, 2,231.2 and 2,541.2 baht/litter, respectively (P<0.05). For the benefit, it was displayed that all of treatments had no difference in the total income. For calculated economic cost and profit per a weaned piglet at the selling time, the total cost of the treatment 1 was higher than that of the treatment 2 and 3 as 397.3, 280.6 and 328.6 baht/piglet, respectively, (P<0.05). The profit of treatment 1 was less than that of the treatment 2 and 3 as 192.0, 286.1 and 259.4 baht/piglet, respectively, (P<0.05). In conclusion, in the event of farmers are able to seek for another feed for native sows that is a low price (such as food scraps etc.), as substituted for the feed purchased from some other places, they will be able to get more the profit. Keywords: native pigs, economic cost and profit, feeding patterns

การศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการเลี้ยงสุกรพื้นเมืองเพื่อจำหน่ายลูกสุกรหย่านม ภายใต้กลุ่มรูปแบบการให้อาหารแม่สุกรพื้นเมืองที่แตกต่างกันดังนี้ 1) ให้รำข้าวผสมกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดอื่น 2) ให้รำข้าวและเศษอาหารที่ได้จากร้านอาหาร และ 3) ให้รำข้าวและเศษอาหารที่ได้จากครัวเรือนของเกษตรกรเอง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรเป็นรายฟาร์ม 59 ราย พร้อมกับสุ่มเก็บตัวอย่างอาหารและน้ำหนักตัวลูกสุกร เมื่อจำหน่ายพบว่า เกษตรกรมีความเชื่อมั่นด้านการตลาดอยู่ในระดับสูง ผลผลิตลูกสุกรหย่านมมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แม่สุกรกลุ่มที่ 1 ได้รับโปรตีนจากอาหารต่อวันและมีค่าคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกายสูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 (P<0.05) ต้นทุนค่าอาหารแม่สุกรเป็นต้นทุนหลักที่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (P<0.05) เรียงจากมากไปน้อยดังนี้ กลุ่มที่ 1, 3 และ 2 ตามลำดับ และเมื่อคำนวณต้นทุนรวมพบว่า กลุ่มที่ 1 มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 (P<0.05) มีค่าเท่ากับ 3,139.2, 2,231.2 และ 2,541.2 บาท/ครอก ตามลำดับ ส่วนของรายได้รวมพบว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (P>0.05) และเมื่อคำนวณต้นทุนต่อการผลิตลูกสุกรระยะจำหน่ายหนึ่งตัวพบว่า ต้นทุนรวมในกลุ่มที่ 1 มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 (P<0.05) มีค่าเท่ากับ 397.3, 280.6 และ 328.6 บาท/ตัว ตามลำดับ ในขณะที่กำไรในกลุ่มที่ 1 มีค่าน้อยกว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 (P<0.05) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 192.0, 286.1 และ 259.4 บาท/ตัว ตามลำดับ ดังนั้นหากสามารถหาแหล่งอาหารสัตว์ราคาถูก (เศษอาหาร) ที่มีอยู่ในท้องถิ่นทดแทนวัตถุดิบที่ต้องพึ่งพาจากภายนอก จะทำให้เกษตรกรได้รับผลกำไรจากการเลี้ยงสุกรพื้นเมืองเพิ่มขึ้น
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5320

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, Oct-Dec 2012, V. 40, No. 4, p. 321-330

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, ต.ค.-ธ.ค. 2555, ปีที่ 40, ฉบับที่ 4, หน้า 321-330
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional