Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  สถานการณ์การผลิต และการตลาดมะละกอ ในจังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์และร้อยเอ็ด
Production and marketing of papaya in Maha Sarakham, Kalasin and Roi-Et provinces
Autores:  Rapatsa Jantasri
Panida Atiweti
Data:  2013-10-09
Ano:  2010
Palavras-chave:  Papaya
Production
Marketing
Thickness
Firmness
มะละกอ
การผลิต
การปลูก
การตลาด
การแปรรูป
คุณภาพ
ผลผลิต
จ.มหาสารคาม
จ.กาฬสินธุ์
จ.ร้อยเอ็ด
Resumo:  The study focuses on the papaya production, including its cultivation, marketing, and process in three provinces in Thailand, namely Mahasarakham, Kalasin, and Roi-et. A survey with questionnaires was used in data-gathering. Key informants are 250 farmers who have papaya farms. SPSS program was employed in data analysis.It is found that during June to December 2008, farmers in Roi-et and Mahasarakham grow papaya as a supplement occupation, mainly for household consumption. On the other hand, farmers in Kalasin grow papaya for extra income. The average yield of Roi et, Kalasin and Mahasarakham were 92, 116 and 85 kg/tree/year, respectively. The papaya farm area has low fertile land with coarse textured soils or Loamy Sand which has its pH of 4.9 or higher. It is also found that popular varieties of the papaya grown are Khaekdum (65.20%), Khaeknual (32.80%). 100 % the farmer prefer to collect the seeds and planting by themselves. Rain-fed system is used about 54.20% while 46.00% uses sprinkle system. When the papaya bear fruits, organic fertilizer mixed with chemical fertilizer will be used (64.80%). Mostly, they used mechanical and chemical for pest control (75.20 %). Ring Spot Virus is the widely found disease in papapa plots (58%). Farmers in these 3 provinces do not like to take any disease prevention in the papaya orchards. In terms of quality, most green papaya that they obtain are oval long-shaped. The average size is about 500-999 grams/fruit (50%). While Khaek Dam has dark green skin color, Khaek Nuan has light green skin color. However, both have strong white color of flesh. Khaek Dam grown in Roi-Et and Mahasarakham has less crispyflesh (31.03% and 12.93% respectively) However, Khaek Nuan in Kalasin is more crispy (16.37%). The overall average flesh thickness is 1.0-1.5 cm (48.28%). Khaek Dam’s firmness is 1.6-2.0%, while Khaek Nuan has 2.0 kg of its firmness more. The investment cost of papaya production in the single-crop plot is higher than the inter-cropping plot. The costs of the following needy expenses are varied: fertilizer, chemicals, labor, and fuel. Farmers in this area, (94.80%), except Roi-et and Kalasin, prefer to sell green papaya, but 5.20 % will sell both green and ripe papaya. However, it is not found that they sell papaya to the papaya-process plants. The price of green and ripe papaya is high during November to January, but will be low during September to October. The green papaya in Roi-et is transported mainly from Leng Noktha District, Yasothorn Province. Papaya in Mahasarakham is mainly from Kalasin and Yasothorn provinces, while papaya in Kalasin is mainly from the farms in Huay-Pheung and Khaw-Wong Districts which are the main papaya distributors to various provinces, i.e. Khon Kaen, U-dornthani, Mahasarakham.

สถานการณ์การผลิต และการตลาด ของมะละกอในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด สำรวจและเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในช่วงเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2551 จากเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอ จำนวน 250 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS พบว่าเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคามมีการปลูกมะละกอเป็นอาชีพเสริมเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก ในขณะที่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นอาชีพเสริมเพื่อการค้า จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ปลูกรวม 115 398 และ 55 ไร่ ตามลำดับ ผลผลิตรวม 963 3,200 ตัน/ปี และ 340 ตัน/ปี ตามลำดับ ผลผลิตเฉลี่ย 92 116 และ 85 กิโลกรัม/ต้น/ปี ตามลำดับ สภาพพื้นที่ปลูกมีความอุดมสมบรูณ์ต่ำ ดินร่วนปนทราย ความเป็นกรดสูง pH มากกว่าหรือเท่ากับ 4.9 พันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ แขกดำ (ร้อยละ 65.20) แขกนวล (ร้อยละ 32.80) เกษตรกรนิยมเก็บเมล็ดพันธุ์และเพาะต้นกล้าเอง (ร้อยละ100) เกษตรกรในทั้ง 3 จังหวัดมีระบบการใช้น้ำฝนเป็นหลัก (ร้อยละ 54.20) และให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงประมาณร้อยละ 46.00 การให้ปุ๋ยช่วงระหว่างติดผลนิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผสมปุ๋ยเคมี (ร้อยละ 64.80) ช่วงหลังปลูกนิยมให้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก (ร้อยละ 50.80) การป้องกันโรค แมลงศัตรูและกำจัดวัชพืชใช้วิธีกลผสมกับการใช้สารเคมีเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75.20) โดยใช้สารเคมีไกลโฟเสท มากที่สุด (ร้อยละ 52.00) โรคที่พบมากที่สุดคือ ใบจุดวงแหวน (ร้อยละ 58.00) โดยพบที่ระดับรุนแรง 76–100 % สูงถึงร้อยละ 34.40 เกษตรกรทั้ง 3 จังหวัด ไม่นิยมป้องกันกำจัดโรคที่เกิดขึ้นในสวนมะละกอ คุณภาพผลผลิตมะละกอดิบ ส่วนใหญ่มีรูปร่างผลเรียวยาว (ร้อยละ 48.28) ขนาดผลเฉลี่ยอยู่ในช่วง 500–999 กรัม (ร้อยละ 50) สีผิวผลพันธุ์แขกดำมีสีเขียวเข้มมากที่สุด ในขณะที่พันธุ์แขกนวลมีสีเขียวอ่อนมากที่สุด สีเนื้อขาวขุ่นทั้งในพันธุ์แขกดำและแขกนวลมากที่สุด (ร้อยละ 38.80) พันธุ์แขกดำที่ พบในจังหวัดร้อยเอ็ดและมหาสารคาม มีความกรอบน้อย คิดเป็นร้อยละ 31.03 และร้อยละ 12.93 ตามลำดับ ในขณะที่พันธุ์แขกนวลที่จังหวัด กาฬสินธุ์ พบว่ามีความกรอบมาก (ร้อยละ 16.37) ความหนาเนื้อเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.0–1.5 ซม. (ร้อยละ 48.28) ความแน่นเนื้อของพันธุ์ แขกดำอยู่ในช่วง1.6–2.0 กก. (ร้อยละ 64.75) และพันธุ์แขกนวล มากกว่า 2.0 กก. (ร้อยละ 22.41) ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อเดือนสวนเดี่ยวจะสูงกว่าสวนผสม ต้นทุนที่มีความจำเป็นและความผันแปรมาก คือ ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมี ค่าแรงงานและค่าเชื้อเพลิง มะละกอในเขตนี้ส่วนใหญ่ขายในรูป ผลดิบร้อยละ 94.80 ยกเว้น จังหวัดร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ ขายผลสุกด้วย ร้อยละ 5.20 และไม่พบการขายเพื่อเข้าโรงงานแปรรูป ราคาผลดิบและผลสุก เฉลี่ยต่ำสุด 1.50 และ 3 บาท/กก. ราคามะละกอดิบและสุกจะสูงในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง มกราคมและมีราคาต่ำในช่วงเดือนกันยายน ถึง ตุลาคม เส้นทางการตลาดมะละกอดิบจังหวัดร้อยเอ็ดนำเข้ามาจาก อำเภอ เลิงนกทา จ.ยโสธร เป็นหลัก จังหวัดกาฬสินธุ์นำเข้ามาจากเกษตรกรในพื้นที่ อ.ห้วยผึ้ง และอ.เขาวง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตหลักส่งจำหน่ายไปหลายจังหวัด เช่น ขอนแก่น อุดรธานี มหาสารคาม
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0857-0108

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5383

King Mongkut's Agricultural Journal (Thailand), ISSN 0857-0108, Jan-Apr 2010, V. 28, No. 1, p. 11-19

วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, ISSN 0857-0108, ม.ค.-เม.ย. 2553, ปีที่ 28, ฉบับที่ 1, หน้า 11-19
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional