Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิด STSs สำรวจแหล่งพันธุกรรมยีนต้านทาน
Sequence Tagged Sites (STSs) marker for bacterial blight resistance gene survey in Thai local rice cultivars from the National Rice Seed Storage Laboratory for Genetic Resources
Autores:  Payorm Cobelli
Jittima Wongnongwa
Varapong Chamarerk
Somsong Chotechuen
Rasamee Dhitikiattipong
Witchuda Rattanakarn
Nuchakarn Sinprasit
Teerada Wangsomboondee
Data:  2015-03-19
Ano:  2014
Palavras-chave:  Bacterial blight
Molecular marker
BB resistance genes
BB greenhouse screening
โรคขอบใบแห้ง
เครื่องหมายโมเลกุล
ยีนต้านทานโรคขอบใบแห้ง
การคัดเลือก
สภาพเรือนทดลอง
ความต้านทานต่อโรค
Resumo:  Bacterial blight (BB) disease of rice, caused by Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo), is one of the most serious diseases in all major rice-growing areas of Thailand. The most effective approach to control BB is the use of resistant varieties. However, the selection pressure from the usage of resistant cultivars may result in mutation of the pathogen population to overcome the resistance genes. Therefore, using genetic resources conferring different resistance genes are more advantage in rice improvement. The aim of this research was to survey and screen BB resistance genes in Thai local rice varieties from the National Rice Seed Storage Laboratory for Genetic Resources to gain more genetic diversity for resistance. In this study, the Thai Local rice cultivars were screened for bacterial blight reaction against Xoo. One hundred fourteen cultivars were tested in greenhouse at Ubonratchathani Rice Research Center on wet season 2009. There were 3, 93 and 18 of the total tested cultivars showing highly resistant (HR), resistant (R) and moderately resistant(MR) to BB respectively. Then, all Thai local cultivars showed resistance to BB were analyzed with molecular markers including PASAxA5F1/R1 and PASAxA5F2/R2, STSBB7_6F/R, STSBB13_8F/R and STSBB21_11F/R which are linked to xa5, Xa7, xa13 and Xa21 gene respectively. Forty-eight cultivars such as Khao Pong Kai and Puang Ngern having Xa7 gene were identified. Nine cultivars like Pra Than Bahn Tung and Khao Luang were found Xa21 gene. Interestingly, five cultivars consist of Leuang 11, Loi Khao, Rootj ampia, Look Daeng Pattani and Leuang Yai, were found both Xa7 and Xa21 gene.

โรคขอบใบแห้งของข้าว (Bacterial blight) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo) พบระบาดรุนแรงและทำความเสียหายในแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญทุกภาคของประเทศไทย การใช้พันธุ์ต้านทานโรคขอบใบแห้งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เชื้อสาเหตุโรคสามารถเข้าทำลายพันธุ์ต้านทานได้ เนื่องจากการกลายพันธุ์ของเชื้อทำให้ได้สายพันธุ์เชื้อใหม่ๆ ที่เข้าทำลายยีนต้านทานได้ ดังนั้นการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งจึงจำเป็นต้องหาแหล่งพันธุกรรมยีนต้านทานโรคที่หลากหลายมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ การใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่วางตำแหน่งอยู่ใกล้กับยีนต้านทานโรคขอบใบแห้งมาคัดเลือกหาแหล่งพันธุกรรมยีนต้านทานที่หลากหลายต่อโรคขอบใบแห้ง จะช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความต้านทานต่อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและคัดเลือกข้าวพันธุ์พื้นเมืองไทยในศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติที่มียีนต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ที่หลากหลายสำหรับใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์ข้าว ดำเนินการคัดเลือกพันธุ์ข้าวต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งในสภาพเรือนทดลอง ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ฤดูปลูกปี 2552 จำนวน 114 พันธุ์ ผลการทดลองพบว่าข้าวพันธุ์พื้นเมืองไทยแสดงปฏิกิริยาต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง ระดับ HR จำนวน 3 พันธุ์ ระดับ R จำนวน 93 พันธุ์ และ ระดับ MR จำนวน 18 พันธุ์ หลังจากนั้นนำข้าวพันธุ์พื้นเมืองไทยที่แสดงปฏิกิริยาความต้านทานทุกพันธุ์ (HR, R และ MR) มาวิเคราะห์หายีนต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุล PASAxA5F1/R1 and PASAxA5F2/R2, STSXa7_6F/R, STSBB13_8F/R และ STSBB21_11F/R ซึ่งวางตำแหน่งใกล้กับยีน xa5, Xa7, xa13 และ Xa21 ผลการวิเคราะห์ พบข้าวพื้นเมืองไทย จำนวน 48 พันธุ์ที่ตรวจพบยีนต้านทาน Xa7 เช่น พันธุ์ขาวโป่งไคร้ และพวงเงิน พบข้าว จำนวน 9 พันธุ์ที่ตรวจพบยีนต้านทาน Xa21 เช่น ประทานบ้านทุ่ง และ ขาวหลวง นอกจากนี้ยังตรวจพบยีนต้านทานทั้ง 2 ยีน คือ Xa7 และ Xa21 ในข้าวจำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์เหลือง 11 ลอยขาว รูจจำเปี๊ยะ ลูกแดงปัตตานี และ เหลืองใหญ่
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research conference 2013: Rice research center groups in central, eastern and western region], Kanchanaburi (Thailand), p. 24-38

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5652

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าว กลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคกลาง ตะวันออก และ ตะวันตก ประจำปี 2556, กาญจนบุรี หน้า 24-38
Formato:  268 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional